จบดราม่า! โรงพยาบาลยืนยัน เลือดชาวชนเผ่าใช้กับคนทั่วไปได้

จบดราม่า! โรงพยาบาลยืนยัน เลือดชาวชนเผ่าใช้กับคนทั่วไปได้

จบดราม่า! โรงพยาบาลยืนยัน เลือดชาวชนเผ่าใช้กับคนทั่วไปได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากกรณีที่ก่อนหน้านี้ได้มีกระแสข่าวนำเสนอข้อมูลของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ที่ต้องประสบวิกฤตขาดแคลนเลือด พร้อมประกาศเชิญชวนให้ประชาชนร่วมกันบริจาคโลหิต แต่เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน จนทำให้สังคมเข้าใจว่าทางโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ไม่รับบริจาคเลือดของกลุ่มชนเผ่า เพราะมีสารบางชนิดในกลุ่มชนเผ่าที่ไม่สามารถนำมาใช้กับบุคคลทั่วไปได้ ทำให้เกิดความวิตกกังวล รวมทั้งกลายเป็นเรื่องที่เกิดเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์และข้อสงสัยอย่างมากถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว 

ล่าสุด (27 มิ.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 10.00 น. ผศ.นพ.วิชัย ชื่นจงกลกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้เกี่ยวข้องได้ออกมาชี้แจงถึงกรณีที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า การนำเสนอข่าวเกี่ยวกับกลุ่มเลือดของชนเผ่า ไม่สามารถนำมาใช้กับผู้ป่วยทั่วไปได้นั้น อาจเป็นความเข้าใจที่ความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร ซึ่งทางโรงพยาบาลยินดีรับบริจาคโลหิตจากชนเผ่าทุกคน ที่ผ่านมาก็มีการออกหน่วยรับบริจาคโลหิตไปตามสถานที่ต่างๆ ยืนยันว่าโลหิตของชนเผ่า โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์กับประชาชนได้มาก ไม่มีปัญหาใด ๆ 

ขณะที่ทาง ผศ.นายแพทย์ เจษฏา สิงห์เวชสกุล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำเผยแพร่ข่าวสารที่ออกไป จุดประสงค์หลักคือต้องการให้จิตอาสาทุกคนเข้ามาร่วมกันบริจาคโลหิตเพื่อช่วยเหลือชีวิตคน ไม่ว่าจะเป็นโลหิตของชนเผ่าหรือประชาชนพื้นราบ แต่เกิดการเข้าใจผิด ซึ่งยืนยันว่าเลือดที่ได้ทุกหยด โรงพยาบาลมหาราชนำไปใช้ประโยชน์ต่อชีวิตผู้ป่วยได้ทั้งผู้ป่วยพื้นราบและชนเผ่า แต่จะมีบางกรณีเท่านั้นที่เลือดของคนพื้นราบจะให้ผู้ป่วยในชนเผ่าไม่ได้

ยืนยันว่าโลหิตของชนเผ่าที่มาบริจาคก็สามารถที่จะนำไปช่วยเหลือประชาชนพื้นราบได้เช่นกัน พร้อมขอรณรงค์ให้จิตอาสาทุกคนมาร่วมกันบริจาคโลหิต เพื่อช่วยเหลือชีวิตคนได้ตลอดเวลา

ด้าน น.ส.ประกาย สมพาน หัวหน้าหน่วยจัดหาและตรวจความปลอดภัยของโลหิต งานธนาคารเลือด กล่าวว่า กรณีผู้ป่วยกลุ่มชนเผ่าจะมีบางคนที่มีภูมิคุ้มกันหรือแอนตี้บอดี้บางตัวที่สร้างขึ้นมาเองและไม่ค่อยเจอกับคนพื้นราบ การให้เลือดก็จะต้องขอรับในส่วนของญาติผู้ป่วยเป็นหลัก กรณีนี้พบน้อยเพียงหนึ่งในแสนเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook