ความท้าทายของ นโยบาย "ยาบ้า" ไม่ใช่ยาเสพติด..!!

ความท้าทายของ นโยบาย "ยาบ้า" ไม่ใช่ยาเสพติด..!!

ความท้าทายของ นโยบาย "ยาบ้า" ไม่ใช่ยาเสพติด..!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นความท้าทายอย่างแท้จริง ของสังคมไทย เกี่ยวกับนโยบาย ด้านการปราบปรามยาเสพติด..ที่ต้องจับตา และช่วยกันเสนอแนะแนวคิดทางออกที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ เพราะหากผลสรุปออกมาแล้วผิดพลาด...จะเป็นการทำลายสังคมไทยชนิดที่เราอาจคาดไม่ถึง..

เป็นความตั้งใจดีของรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา และนักวิชาการบางคนที่สนับสนุนแนวคิดการแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการปฏิวัติแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดของสังคมไทย

ที่ผ่านมา รัฐไทยมีแนวนโยบายการปราบปรามยาเสพติดแบบเข้มข้น เป็นวาระแห่งชาติที่ต้องขจัดยาเสพติดให้พ้นไปจากสังคมไทยมาโดยตลอด ซึ่งเป็นไปตามแนวทางที่ประเทศยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้วางแนวทางไว้คือ สหรัฐอเมริกา ที่ประกาศทำสงครามกับยาเสพติดมาโดยตลอดเช่นกัน

ผลของการดำเนินนโยบายอย่างเข้มข้น แม้กระทั้งบางยุคมีการใช้อำนาจปราบปรามจนนำไปสู่การฆ่าตัดตอน กว่า 2,500 ศพ แต่แล้ว ปัญหายาเสพติดก็ยังไม่หมดไป การจับกุมดำเนินคดี ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เสพและผู้ค้ารายย่อย น้อยครั้งที่จะมีการจับกุมผู้ค้ารายใหญ่ ไม่ต้องพูดถึงผู้ผลิต ซึ่งเรามักไม่ค่อยเห็นการจับกุม และที่สำคัญส่วนใหญ่การผลิตจะอยู่นอกประเทศทั้งสิ้น

การจับกุมผู้เสพ และผู้ค้ารายเล็กรายน้อย นอกจากไม่ทำให้ปัญหายาเสพติดหมดไป แต่กลับสร้างปัญหาขึ้นมาด้วย นั้นก็คือ ปัญหานักโทษล้นคุก..? จึงเป็นที่มาของแนวคิดของ รัฐมนตรียุติธรรมและนักวิชาการที่สนับสนุนให้ เปลี่ยนวิธีคิด และวิธีการแก้ไขปัญหาครั้งสำคัญนั้นก็คือ ...การยกเลิกยาเสพติดบางประเภทออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 1 หรือประเภทยาเสพติดร้ายแรง สำหรับ ยาบ้า กัญชา และ ใบกระท่อม..

โดยขณะนี้ยังอยู่ในระหว่างการระดมความคิดเห็นเพื่อวางแนวทางที่เหมาะสม แต่ก็มีแนวคิดของรัฐมนตรียุติธรรมเอง ที่เผยออกมาว่า ต้องการให้องค์การเภสัช ไปผลิต ยาบ้า ในราคาเม็ดละ 50 สตางค์ โดยแนวคิดของรัฐมนตรีมองว่า หากยาบ้า ราคาถูกลง จะทำให้ผู้ผลิตไม่มีแรงจูงใจจะทำให้เลิกผลิตไปเอง
ส่วนผู้เสพ ก็ให้ปรับแนวเสียใหม่ให้เป็นผู้ป่วยที่ต้องนำไปรักษาเยียวยา..ใช่จับกุมคุมขังจนล้นคุกเหมือนในปัจจุบัน

ก็น่าสนใจสำหรับแนวคิดทาง ทฤษฏีของรัฐมนตรีและนักวิชาการที่เสนอแนวคิด...แต่ ก่อนจะดำเนินการออกมาเป็นนโยบาย ขอเสนอให้ รัฐมนตรีและนักวิชาการไปศึกษา เสียก่อนว่า ...ยาบ้า ตามที่ท่านเข้าใจนั้น หมายถึง ยาที่ทางการแพทย์เรียกว่า "แอมเฟตามีน" ซึ่งเป็นยากระตุ้นประสาท ตามฤทธิ์ทางเคมีแบบเดิมหรือไม่ หรือ ยาบ้า ในปัจจุบัน มีส่วนผสมของยาเสพติดอื่นที่มีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าหรือไม่...?

ในยุคเมื่อ 30-40 ปีที่ผ่านมา คนที่คุ้นเคยกับ ยาบ้า ซึ่งเดิมเรียกว่า ยาม้า เพราะเมื่อกินแล้วจะรู้สึกคึกคักขยันทำงานได้นาน ก็คือ คนขับรถบรรทุก และกรรมกร กลุ่มคนเหล่านี้ใช้ยา แอมเฟตามีน มานาน โดยไม่เคยได้ข่าวว่า มีผลกระทบทำให้คลุ้มคลั่ง ก่อคดีอาชญากรรม เหมือนกับในยุคปัจจุบัน

มีข้อสังเกตว่าหลังจาก ยาเสพติดร้ายแรงประเภทเฮโรอิน หายไปจากระบบ ยาบ้า ก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย..ข้อมูลเหล่านี้ ตำรวจน่าจะมีข้อมูลลึกมากที่สุด จนมีข่าวลือกันว่า ยาบ้า ในปัจจุบัน ไม่ใช่ยากระตุ้นประสาท ที่มีฤทธิ์ทางการแพทย์ที่เรียกว่า แอมเฟตามีน เหมือนในอดีต และเท่าที่รู้มา การเสพยาพวกนี้ เขาใช้วิธีการสูบ ไม่ใช่การกินผสมกับเครื่องดื่มเหมือนสิงห์รถบรรทุกในอดีตที่ผ่านมา

สรุปง่ายๆก็คือ ยาบ้า อาจไม่ใช่ยาบ้า ตามที่รัฐมนตรี หรือ นักวิชาการเข้าใจ ก็ได้ พูดภาษาชาวบ้านง่ายๆก็คือ ยาบ้า มันมีฤทธิ์ที่แรงกว่าเดิมหลายเท่า หาก ท่านรัฐมนตรี ผลิตยา แอมเฟตามีน ออกมา เม็ดละ 50 สต. ท่านทำได้..ทางผอ.องค์การเภสัช ก็ออกมารับลูกเตรียมศึกษาแล้ว ..แต่ สินค้าของท่านจะเป็นที่นิยมในเหล่านักเสพหรือไม่ และแก้ปัญหาได้หรือไม่....ยังเป็นคำถาม..?

ส่วนตัวแล้ว เห็นด้วยกับแนวคิดของท่านรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ต้องปรับวิธีการและเปิดโอกาสให้ผู้หลงผิดมีโอกาสกลับตัว แต่ขอให้มีการศึกษาในหลายแง่หลายมุม อย่างวันศุกร์ 19 ส.ค.59 ที่ผ่านมานี้ มีข่าวว่า มีการจับกุมผู้กะทำผิดมั่วสุมกันเสพยาบ้า ได้ 5 คน ในพื้นที่ สัตหีบ ชลบุรี โดย 3 ใน 5 คน เป็นผู้ที่เพิ่งได้รับการอภัยโทษ มาเพียง 1 ชั่วโมง ....กับกรณีแบบนี้ จะดำเนินการอย่างไรต่อในอนาคตข้างหน้า ...? ยังมีอีกหลายแง่มุมที่ต้องช่วยกันสะท้อน ช่วยกันหาทางออกให้กับปัญหาระดับชาตินี้ต่อไปครับ....

โดย เปลวไฟน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook