ปธ.ศาลฎีกาคนใหม่ ประกาศนโยบาย 4 ด้าน

ปธ.ศาลฎีกาคนใหม่ ประกาศนโยบาย 4 ด้าน

ปธ.ศาลฎีกาคนใหม่ ประกาศนโยบาย 4 ด้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปธ.ศาลฎีกาคนใหม่ 'วีระพล ตั้งสุวรรณ' ประกาศนโยบาย 4 ด้าน มุ่งอำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ประชาชน

ภายหลัง นายวีระพล ตั้งสุวรรณ เข้าปฏิบัติหน้าที่ ประธานศาลฎีกา คนที่ 43 เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ที่ผ่านมาแล้ว นายวีระพล ได้ประกาศนโยบายแนวทางการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 - 2560 มุ่งการอำนวยความยุติธรรม คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ประชาชน บนหลักการ "อำนวยความยุติธรรม โดยยึดมั่นในหลักนิติธรรม" และการพัฒนาเสริมสร้างระบบงานศาลยุติธรรม เพื่อให้ประชาชน เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมโดยง่าย ทั่วถึง เสียค่าใช้จ่ายน้อย

โดย นโยบายประธานศาลฎีกา ที่ประกาศให้ ข้าราชการตุลาการ รวมทั้งบุคลากรในศาลยุติธรรม รับทราบเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติหน้าที่ มีทั้งสิ้น 4 ด้าน ประกอบด้วย

1.ด้านการอำนวยความยุติธรรม และการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน มุ่งเน้นการพิจารณาพิพากษาคดีภายใต้หลักนิติธรรม ให้เป็นไปอย่างเปิดเผย ถูกต้องตามกฎหมาย มีมาตรฐานที่ชัดเจน และเหมาะสมแก่ประเภทคดี เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งศาลชั้นต้นและศาลสูง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

2.ด้านการพัฒนาระบบงานศาลยุติธรรม จะพัฒนาระบบงานให้ประชาชนเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก ทั่วถึง เท่าเทียมกัน และเสียค่าใช้จ่ายน้อย ปรับปรุงโครงสร้างและระบบงานของสำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค โดยมุ่งเน้นการกระจายอำนาจ เพื่อสนับสนุนภารกิจของศาลยุติธรรม ตลอดจนวางแผนและจัดการบริหารงานบุคคลให้เหมาะสม

3.ด้านการพัฒนาบุคลากร เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และสร้างจิตสำนึกในการอำนวยความยุติธรรม รวมทั้งส่งเสริมการเป็นแบบอย่างที่ดี ในการดำรงตนของข้าราชการตุลาการ และบุคลากรในศาลยุติธรรม ปรับปรุงโครงสร้างระบบงานวิจัยการพัฒนาบุคลากร และหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ สร้างองค์ความรู้ เสริมสร้างประสิทธิภาพ ของข้าราชการตุลาการและบุคลากรในศาลยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

4.ด้านการต่างประเทศ เสริมสร้างความร่วมมือทางการศาล และกระบวนการยุติธรรมเพื่อยกระดับศาลยุติธรรมไทยให้มีบทบาทในระดับสากล พัฒนาความร่วมมือทางด้านวิชาการ การฝึกอบรม แลกเปลี่ยนบุคลากรกับต่างประเทศ และเสริมสร้างให้ประเทศต่าง ๆ และองค์กรระหว่างประเทศเชื่อมั่นในการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลยุติธรรมไทย



แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล