รัฐศาสตร์จุฬาจัดสัมมนาการค้ามนุษย์ฯ

รัฐศาสตร์จุฬาจัดสัมมนาการค้ามนุษย์ฯ

รัฐศาสตร์จุฬาจัดสัมมนาการค้ามนุษย์ฯ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดร.เอก คณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ประธานสัมมนา 'การค้ามนุษย์' กับธรรมาภิบาลเพื่ออนาคต

ที่ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนา "การค้ามนุษย์" กับธรรมาภิบาลเพื่ออนาคต : ช่องว่างความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา คณบดี คณะรัฐศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ทั้งนี้ นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ กรรมการบริหารสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา กล่าวว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีจุดเปลี่ยนที่เกิดจากการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมาก จึงทำให้มีการเชื่อมโยงกับเรื่องของแรงงานประมง พร้อมกล่าวว่า ความต้องการแรงงานของไทยมี ร้อยละ 7 ของจำนวนแรงงานทั้งหมด และในปี 2025 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า น่าจะมีความต้องการแรงงานถึง 5.36 ล้านคน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาแรงงานอพยพ ที่จะทวีความรุ่นแรงขึ้นหากไม่ได้รับการแก้ไข พร้อมกล่าวว่า ปัญหาที่มีในประเทศนั้น แก้ได้ยากกว่า เนื่องจากมีการละเมิดกฎหมาย ซึ่งจำเป็นต้องมีกฎหมายที่เข้มข้น และการบังคับใช้อย่างเด็ดขาด



เผดิมศักดิ์แนะเร่งปัญหาการค้ามนุษย์ไทย

รศ.ดร. เผดิมศักดิ์ จารยะพันธุ์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานสัมมนา "การค้ามนุษย์" กับธรรมาภิบาลเพื่ออนาคต: ช่องว่างความรู้เพื่อการพัฒนาอย่างยั้งยืน ที่ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า พื้นที่ทางทะเลของประเทศไทยถูกแบ่งด้วยแผ่นดินเป็น 2 ด้าน ซึ่งขณะนี้ การทำประมงของไทยลดลงจากเดิมมาก รวมทั้งข้อสัญญาต่างๆ ที่มีข้อจำกัดของการทำประมงบนน่านน้ำ ทั้งนี้ กล่าวว่า หากมีการบริหารจัดการที่ดี จะมีพื้นที่ทางทะเลที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้อีกจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม กล่าวว่า ผลประโยชน์ชาติทางทะเลยังไม่ได้ทำประโยชน์ได้อย่างที่ควรจะเป็น ซึ่งการประมงนั้นแบ่งเป็นการประมงพื้นบ้าน และการประมงพาณิชย์ ที่จะต้องเร่งแก่ปัญหาการค้ามนุษย์ของประเทศไทยก่อน

ดร. เผดิมศักดิ์ ยังกล่าวด้วยว่า  การแก้ปัญหาการค้ามนุษย์นั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศ ที่จำเป็นต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายอย่างแท้จริง ทั้งนี้ การบริหารจัดทางทะเล ก็จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือฝ่ายต่างๆ ไม่เพียงแค่ส่วนราชการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องอาศัยภาคเอกชน และประชาชนด้วย

อย่างไรก็ตาม การสร้างความตระหนักในความสำคัญของมุมมองทางวิชาการและนโยบายต่อประเด็นการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะมิติการค้าและพัฒนาระหว่างประเทศถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook