บวรศักดิ์ชงสปช.ถามประชามติตั้งรบ.ปรองดองแห่งชาติ

บวรศักดิ์ชงสปช.ถามประชามติตั้งรบ.ปรองดองแห่งชาติ

บวรศักดิ์ชงสปช.ถามประชามติตั้งรบ.ปรองดองแห่งชาติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เตรียมชง สปช.ถามประชามติตั้งรัฐบาลปรองดองแห่งชาติใช้เสียง ส.ส. 4 ใน 5 ขณะคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ คงสัดส่วน ส.ว. 200 คน แบ่งเขต 77 คน สรรหา 4 กลุ่ม 123 คน

นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ตนเองเตรียมที่เสนอคำถามประชามติต่อสภาปฏิรูปแห่งชาติ ให้ถามประชาชนว่าต้องการให้มีรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ ขึ้นมาจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแบบเรื้อรังในประเทศหรือไม่ โดยรูปแบบของรัฐบาลปรองดองแห่งชาตินั้น กำหนดให้ภายหลังจากรัฐธรรมนูญนี้ประกาศใช้ใน 4 ปีแรก ให้สภาผู้แทนราษฎร เลือกรัฐบาลปรองดองแห่งชาติ ด้วยคะแนนเสียง ส.ส. 4 ใน 5 ซึ่งจะทำให้ได้รัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย และพรรคการเมืองต่างๆ ก็น่าจะยอมรับ

นอกจากนี้ นายบวรศักดิ์ ยังกล่าวถึง ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาชุดแรก ที่ต้องผ่านการสรรหาจากคณะกรรมการ ที่จัดตั้งโดยคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าเนื่องจากหากรอให้มีรัฐบาลใหม่ก็จะล่าช้าเกินไป

ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง จำนวน 23 คน ที่มา 3 ส่วน คือ 1.มาจากประธานรัฐสภา ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ผู้บัญชาการกองทัพไทย ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ  2.มาจากผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา และ 3.มาจากผู้ทรงคุณวุฒิการจำนวนไม่เกิน  11 คน เป็นผู้เชียวชาญการปฏิรูปด้านต่างๆ และการสร้างความปรองดอง ซึ่งแต่งตั้งจากมติรัฐสภา

ส่วนอำนาจหน้าที่นั้น ได้ให้อำนาจพิเศษ คือ ภายใน 5 ปี หลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ ระหว่างนั้น หากเกิดปัญหาความขัดแย้งในประเทศโดยไม่สามารถควบคุมได้ ให้คณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและสร้างความปรองดองแห่งชาติ มีอำนาจใช้มาตรการที่จำเป็นจัดการสถานการณ์นั้นๆ ได้ และสามารถสั่งการและยับยั้งการกระทำของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารได้ และให้ถือคำสั่งนั้นเป็นที่สุด

 

กมธ.รธน.เคาะที่มาสว.200ลต.77สรรหา123วาระแรก3ปี

พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาทบทวนเรื่องที่มาสมาชิกวุฒิสภา โดยกรรมาธิการยกร่างฯ เห็นตรงกันให้คงไว้ซึ่งสัดส่วนสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 200 คน ซึ่ง 77 คน มาจากการเลือกตั้ง จังหวัดละ 1 คน อีก 123 คน มาจากการสรรหา โดยคณะกรรมการสรรหา ส.ว. จำนวน 4 กลุ่ม แต่เห็นควรให้ตัดเนื้อหาในส่วนของคุณสมบัติของกรรมการสรรหาไปใส่ไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อให้การพิจารณาเกิดความรอบคอบมากยิ่งขึ้น 

ขณะที่คณะกรรมการสรรหาชุดแรกให้อำนาจคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้ง โดย ส.ว. ชุดแรกนั้นมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี จากนั้นให้ทำการเลือกตั้งและสรรหาใหม่ โดยสมาชิกในชุดแรกมีสิทธิ์ลงสมัครรับเลือกตั้งและเข้ารับการสรรหาในวาระถัดไปได้ ซึ่งจะมีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ตามปกติ


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล