กมธ.ถกแก้ รธน.ปฏิรูปปรองดองแล้วชงสปช.22สค.ถ้ายืดเวลา

กมธ.ถกแก้ รธน.ปฏิรูปปรองดองแล้วชงสปช.22สค.ถ้ายืดเวลา

กมธ.ถกแก้ รธน.ปฏิรูปปรองดองแล้วชงสปช.22สค.ถ้ายืดเวลา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรรมาธิการยกร่างฯ พิจารณาปรับแก้ร่างเป็นรายมาตรา จบภาค 4 ปฏิรูปและปรองดองแล้ว พร้อมส่งร่างสุดท้าย ให้ สปช. ภายใน 22 ส.ค. หากขยายเวลา - ไม่ได้บัญญัติอภัยโทษไว้ในรัฐธรรมนูญ

ความคืบหน้าการประชุมกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนอกสถานที่ ที่เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เพื่อพิจารณาปรับแก้ร่างเป็นรายมาตรา ล่าสุดพิจารณาจบในภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง และบทสุดท้ายการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ที่ยังยืนยันเป้าหมายและสาระสำคัญของการปฏิรูปว่า ยังอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนรายละเอียดกำหนดในร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูป

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการฯ ได้ปรับลดจาก 15 มาตรา เหลือ 4 มาตรา โดยกำหนดเพียงหัวข้อและแนวทางการปฏิรูปด้านต่าง ๆ ทั้ง 18 ด้าน แล้วให้อนุกรรมาธิการยกร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง โดยมีผู้แทนของคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 ด้านของ สปช. เป็นกรรมาธิการร่วม จัดทำให้แล้วเสร็จและส่งให้ สปช. พร้อมร่างรัฐธรรมนูญฉบับสุดท้าย ภายในวันที่ 22 ส.ค. หากมีการขยายการทำงานไป 30 วัน

 

กมธ.ยกร่างไม่บัญญัติอภัยโทษไว้ใน รธน.

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ที่ปรึกษาและโฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าคณะกรรมาธิการฯ จะพิจารณาแนวทางการจัดคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง การจัดตั้งสภาปฏิรูปและสร้างความปรองดอง และกรรมการด้านต่าง ๆ ว่า ควรจะมีโครงสร้างอย่างไร ทั้งนี้ ในภาค 4 การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ไม่ได้บัญญัติเรื่องการอภัยโทษไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่หากคณะกรรมการชุดดังกล่าวนำมาพิจารณาก็เป็นเรื่องอนาคต

นอกจากนี้ ในบทสุดท้ายการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ยังยึดแนวทางที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญร่างแรก มีการแก้ไขเพียงเล็กน้อย ในมาตรา 303 ที่จะกำหนดไว้ให้ชัดเจนว่า เมื่อครบรอบ 5 ปี ให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอิสระประเมินผลในการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยใช้เวลา 6 เดือน และให้ส่งรายงานพร้อมข้อเสนอการแก้ไขไปให้สภาและคณะรัฐมนตรี ส่วนอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขหรือไม่ ยังเป็นหน้าที่ของรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอโดยใช้เสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของที่ประชุมรัฐสภา

 


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
กำลังโหลดข้อมูล