ปชช.ทั่วโลกเกาะติดดาวศุกร์ตัดผ่านดวงอาทิตย์อย่างจดจ่อ

ปชช.ทั่วโลกเกาะติดดาวศุกร์ตัดผ่านดวงอาทิตย์อย่างจดจ่อ

ปชช.ทั่วโลกเกาะติดดาวศุกร์ตัดผ่านดวงอาทิตย์อย่างจดจ่อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในวันพุธที่ 6 มิ.ย.นี้ ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงเที่ยงวัน จะเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญทั่วโลกรอคอย คือ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ โดยสามารถเห็นได้ทั่วประเทศ ซึ่งปรากฏการณ์ครั้งนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯให้โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า และสมาคมดาราศาสตร์ไทย ร่วมกันจัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ณ บริเวณสนามหน้าตึกบัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก จ.นครนายกสำหรับกิจกรรมจะมีการจัดนิทรรศการ และชมวิธีการดูดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์อย่างถูกต้อง และปลอดภัยด้วยกล้องโทรทรรศน์ ชนิดต่าง ๆ กล้องกาลิเลโอ หรือมองผ่านแว่นสุริยะ ที่มีความปลอดภัยต่อดวงตาจากรังสีอัลตร้าไวโอเลต และรังสีอินฟราเรด ผู้ที่สนใจปรากฏ การณ์ดาราศาสตร์ครั้งนี้ สามารถร่วมเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จและร่วมดูดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ได้ในโรงเรียนนายร้อยฯ นอกจากนี้ได้จัดถ่ายทอดสดทาง http://thaiastro.nectec.ot.th ด้วย ทั่วโลกเฝ้ารอปรากฎการณ์อย่างใจจดจ่อสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองฮอนโน ลูลู รัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกาว่า ผู้ดูดาวจากทั่วโลกต้องปรับตั้งกล้องดูดาวเป็นพิเศษ หรือไม่ก็อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการดูปรากฏการณ์สุริยุปราคามาใช้ ในการชมปรากฏการณ์ทางธรรมชาติครั้งหนึ่งในชีวิต ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งทำให้เราสามารถมองเห็นจุดเล็กๆบนพื้นผิวของดวงอาทิตย์ โดยในสหรัฐอเมริกา จะเริ่มมองเห็นตั้งแต่หลังเวลา 18.00 น.ของวันพุธไปแล้ว โดยปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นนาน 6 ชั่วโมง 40 นาที จุดที่สามารถมองเห็นได้ชัดคือ พื้นที่ในรัฐฮาวาย อลาสกา ภาคตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย และ เอเชียตะวันออก ขณะที่กรุงวอชิงตัน ว่า นายเจฟฟ์ เชสเตอร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของหอดูดาวกองทัพเรือสหรัฐ กล่าวว่า ในสหรัฐอเมริกาจะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้ได้ ที่รัฐฮาวาย อลาสกา และ ภาคตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก เราจะสามารถมองเห็นจุดบนดวงอาทิตย์ได้ด้วยตาเปล่า แต่ต้องมีอุปกรณ์ป้องกันที่ถูกต้องเพื่อป้องกันสายตา ปรากฏการณ์นี้ถ้าพลาดครั้งนี้แล้ว ต้องรอไปอีก 105 ปี หรือ วันที่ 11 ธ.ค. ปี ค.ศ. 2117 ท้องฟ้าจำลอง คึกคักบรรยากาศที่ท้องฟ้าจำลอง ล่าสุด เจ้าหน้าที่ประจำท้องฟ้าจำลอง ได้เตรียมนำกล้องจำนวน 5 ตัว มาติดตั้งบริเวณลานด้านในท้องฟ้าจำลอง เพื่อเตรียมให้บริการประชาชนก่อนชมปรากฏการณ์ ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ หรือที่เรียกว่า ทรานซิสออฟวีนัส โดยล่าสุดขณะนี้เริ่มมีประชาชนที่ส่วนใหญ่เดินทางมาพร้อมบุตรหลานเข้ามารอชมปรากฏการณ์จำนวนมาก เนื่องจากเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกได้ว่าจะสามารถเห็นได้ครั้งเดียวในช่วงชีวิตถ้าหากพลาดการรับชมครั้งนี้ ก็จะต้องรอไปอีกกว่า 100 ปีอย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ได้เริ่มต้นขึ้นในเวลา 05.09 น.ที่ผ่านมา โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างผ่านจากสัมผัสที่ 2 ก่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 3 ซึ่งเป็นช่วงที่ดาวนหน้าดวงอาทิศุกร์ผ่าตย์เต็มดวงพอดี ทางเจ้าหน้าที่ประจำท้องฟ้าจำลอง กล่าวว่า ต้องรอให้เมฆมีจำนวนน้อยลง จึงจะสามารถมองเห็นปรากฏการณ์นี้บริเวณจุดดูดาวที่ท้องฟ้าจำลองได้  เชียงใหม่ ท้องฟ้าปิดยังชมดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์ไม่ได้ท้องฟ้าเหนือเมืองเชียงใหม่ ยังถูกปกคลุมด้วยเมฆจำนวนมาก ทำให้ประชาชนยังไม่สามารถชมปรากฏการณ์ด้านดาราศาสตร์แห่งศตวรรษ ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ได้ ทั้งนี้ประเทศไทยสามารถรับชมได้นาน 6 ช.ม. ระหว่างเวลา 05.49.-11.49 น. โดยทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ชมปรากฏการณ์ที่ดาดฟ้าสำนักงาน และจัดกิจกรรมที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์พร้อมถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ของสถาบัน www.narit.or.th จาก 8 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับที่ เชียงใหม่ มีประชาชนจำนวนหนึ่ง ทยอยมาชมแต่ยังผิดหวัง ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รอง ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ กล่าวว่า ยังมีเวลาที่จะชมได้ถึงใกล้เที่ยงวันซึ่งท้องฟ้าอาจโปร่งขึ้น แต่ที่สำคัญอย่าชมด้วยตาเปล่าเพราะเสี่ยงตาบอดได้ หรือชมผ่านทางเว็บไซต์ของสถาบันได้ ทั้งนี้หากพลาดชมต้องรอไปอีก 105 ปี ถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายสำหรับคนยุคนี้ล่าสุด ชาวเชียงใหม่เฮ! ท้องฟ้าเปิดชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์ได้ชัดเจน ดูได้ถึงเวลา 11.49 น. ชาวเชียงรายต้องลุ้นชมดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์ทั้งที่ในวันนี้เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ซึ่งจะมองเห็นในภูมิภาคของประเทศไทย ส่วนของ จ.เชียงราย อาจจะต้องพลาดในการชมปรากฏการณ์ดังกล่าว เนื่องจากมีเมฆฝนบดบังดวงอาทิตย์ตั้งแต่ช่วยเช้ามืดที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ทั้งนี้ทางสถานีศูนย์นิยมวิทยา จ.เชียงราย พบว่าจากการตรวจจอเรดาร์พบว่า จ.เชียงราย ยังมีเมฆมากตลอดทั้งวัน และมีฝนตกบางพื้นที่ หากโชคดีอาจมองเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวได้ตั้งแต่ช่วงสายเป็นต้นไป โดยต้องรอลุ้นเอา เนื่องจากยังมีเมฆมากและมีผนตกด้วย ท้องฟ้าจำลอง คึกคัก น.ร. แห่ดูดาวศุกร์ผ่านหน้าอาทิตย์บรรยากาศที่ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพมหานคร ล่าสุด ท้องฟ้าเปิดและเมฆบางลง จึงทำให้ประชาชนและเด็กนักเรียนที่เดินทางมารอรับชม ปรากฏการณ์ดาวศุกร์ เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ต่างก็สมหวังและได้เข้าชมปรากฏการณ์ดังกล่าวด้วยความตื่นเต้น โดยในการนี้ ดาวศุกร์ ได้เคลื่อนเข้าสู่สัมผัสที่ 3 คือ ใกล้สัมผัสขอบด้านในดวงอาทิตย์อีกครั้ง ก่อนที่จะเคลื่อนต่อไป ในเวลา 11.49 น. ขณะที่ เด็กนักเรียน ส่วนใหญ่กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ไม่พลาดการรับชม เพราะถ้าหากพลาด ก็จะไม่มีโอกาสได้ชมไปอีกตลอดชีวิต ส่วนทางด้านของผู้ปกครอง ที่เดินทางมาส่วนใหญ่ กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในประสบการณ์การเรียนรู้ของบุตรหลาน และอยากให้ทุกโรงเรียนสนับสนุนและส่งเสริมให้เด็กนักเรียนได้เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ด้วยความสนุกและไม่น่าเบื่อ เนื่องจาก วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ เป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  เชียงใหม่ปิดฉากชมดาวศุกร์ผ่านดวงอาทิตย์แล้ว ที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จุดจัดนิทรรศการและชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ รอบศตวรรษ ช่วงสุดท้ายก่อนดาวศุกร์จะเคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์ สร้างความประทับใจแก่ประชาชนใน จ.เชียงใหม่ รวมทั้ง นักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า แม้จะเห็นเป็นพัก ๆ แต่ก็ได้ชมปรากฏการณ์ครั้งนี้เป็นเวลานาน ซึ่งหลายคนก็ประทับใจและถือเป็นโอกาสดีที่ได้เห็นความงามทางดาราศาตร์ เพราะพลาดครั้งนี้ก็จะเกิดขึ้นอีกใน 105 ปีข้างหน้า ซึ่งก็ไม่ทันเห็นแล้ว ส่วนปรากฏการณ์อื่น ๆ นั้น ทางสถาบันฯ จะได้แจ้งประชาชนให้ทราบต่อไปขณะที่ นายชูชาติ กีฬาแปง  รองผู้ว่าฯเชียงใหม่ ที่ไปเป็นประธานเปิดชมนิทรรศการได้ร่วมชมปรากฏการณ์ครั้งนี้ด้วย บอกว่า เป็นเรื่องประทับใจไม่น้อยสำหรับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ที่จะหาชมได้ยาก และเป็นความรู้ที่ดี ๆ แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ที่วันนี้ต่างพากันมาชมจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ไม่ได้มาชมในบรรยากาศภายนอก ก็เชื่อว่า สามารถชมผ่านทางเว็บไซต์ของ สดร. ที่ถ่ายทอดสดตลอด 6 ชั่วโมง ที่เกิดปรากฏการณ์นี้วิสุทธิพร หอมยา/เชียงใหม่ 
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook