กี้ร์ จ๋อย! ศาลกลัวหนีอีก ไม่ให้ประกันตัว

กี้ร์ จ๋อย! ศาลกลัวหนีอีก ไม่ให้ประกันตัว

กี้ร์ จ๋อย! ศาลกลัวหนีอีก ไม่ให้ประกันตัว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

(19 ธ.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 14.00 น. ที่ผ่านมา ศาลอาญารัชดาฯ ได้นัดฟังคำสั่งการยื่นประกันตัวและขอปล่อยตัวชั่วคราว นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หลังทนายยื่นคำร้องและใช้หลักทรัพย์ จำนวน 4 ล้านบาท ขณะที่ นางระพิพรรณ พงษ์เรืองรอง ภรรยานายอริสมันต์ ใช้ตำแหน่ง ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทยยื่นขอประกันตัวเอาไว้

โดยศาลได้พิจารณาคำไต่สวนของคดีของจำเลย ซึ่งระบุสาเหตุของการหลบหนีเพราะถูกข่มขู่คุกคาม ขณะที่ด้านภรรยาของจำเลยได้เบิกความต่อศาล โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่ชัดเจน ทำให้การดำเนินการขอปล่อยตัวของจำเลยไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่า หากศาลปล่อยตัวจำเลยแล้วจะไม่ทำการหลบหนีอีก ศาลจึงได้สั่งยกฟ้องคำร้องและไม่มีการปล่อยตัวจำเลยใดๆ

ซึ่งภายหลังจากการมีคำสั่งยกคำร้องของศาล เจ้าหน้าที่ได้นำตัว นายอริสมันต์ มาพักรอนำตัวส่งกลับเรือนจำพิเศษกรุงเทพในช่วงบ่าย โดยกลุ่มคนเสื้อแดงมาให้เป็นกำลังใจอยู่ประมาณหนึ่ง

นอกจากนี้ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลอาญารัชดาฯ ยังได้อ่านคำพิพากษาคดีที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และแกนนำกลุ่ม นปช. หมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณา สืบเนื่องจากวันที่ 4 ธันวาคม 2552 นายจตุพร แถลงข่าวพาดพิงนายสุเทพว่า สั่งการให้ตำรวจเกณฑ์คนต่างด้าวมาสวมเสื้อสีแดง แฝงตัวร่วมกับผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 10 ธันวาคมปีเดียวกัน และให้ความปั่นป่วนเพื่อป้ายความผิดให้ กลุ่ม นปช. ข้อความดังกล่าวทำให้นายสุเทพได้รับความเสียหาย เนื่องจากขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ดูแลการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง

แต่พฤติการณ์ที่ได้จากคำเบิกความของนายสุเทพ และนายจตุพร ฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุ พรรคประชาธิปัตย์และเพื่อไทย เป็นปฏิปักษ์ต่อกันอย่างรุนแรง นายจตุพรมีสิทธิวิพากษ์วิจารณ์ ตรวจสอบการทำหน้าที่ของนายสุเทพ ประกอบกับคำเบิกความของ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 ในฐานะผู้เจรจาต่อรองกับแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงระหว่างการชุมนุม ระบุว่า การข่าวรายงานว่า กลุ่มคนต่างด้าวได้เข้าร่วมชุมนุมกับกลุ่มคนเสื้อแดง การสร้างสถานการณ์ของแต่ละฝ่ายสามารถเกิดขึ้นได้ คำเบิกความของ พล.ต.ต.วิชัย สอดคล้องกับคำเบิกความของนายจตุพร จึงเห็นได้ว่าพฤติการณ์ของนายจตุพรเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายและใส่ร้ายกลุ่มคนเสื้อแดง เนื่องจากนายจตุพรเป็นแกนนำมีหน้าที่ดูแลการชุมนุม และตรวจสอบการทำหน้าที่ของนายสุเทพ การกระทำของนายจตุพร ถือเป็นการติชมโดยสุจริต จึงสั่งยกฟ้อง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook