“นางเอก” สมัยใหม่ แปลว่าอิสระ ชั้นไม่ยอมให้คุณทำร้ายฝ่ายเดียวหรอกค่ะ โดย กะเทยนิวส์

“นางเอก” สมัยใหม่ แปลว่าอิสระ ชั้นไม่ยอมให้คุณทำร้ายฝ่ายเดียวหรอกค่ะ โดย กะเทยนิวส์

“นางเอก” สมัยใหม่ แปลว่าอิสระ ชั้นไม่ยอมให้คุณทำร้ายฝ่ายเดียวหรอกค่ะ โดย กะเทยนิวส์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เดินทางมาจนจะถึงกลางปี 2020 แล้วนะคะเนี่ย เราต่างก็เผชิญอุปสรรคใดใดกันมากมาย ทำเอาหัวหูลุกชันไปหมดแม่ แต่ความที่เราเดินไปข้างหน้าแบบนี้ มันก็ทำให้เราเห็นความเป็นไปใดใดอยู่มาก รวมถึงในโลกของละคร ที่เมื่อมาถึงยุคนี้แล้ว อะไรๆ มันก็เปลี่ยนไปเยอะทีเดียว และนั่นรวมไปถึงคำว่า “นางเอก” ในละครไทยเสียด้วย

มาค่ะ วันนี้ เราจะมาว่ากันด้วยเรื่องของนางเอก

ที่ผ่านมา เราคงคุ้นเคยกับภาพจำแบบนางเอกตามขนบ เรียบร้อยดั่งผ้าพับไว้ พูดจาอะไรก็เชื่องช้า กว่าจะจบแต่ละประโยคได้ก็คือผ่านไปห้าปี มีอะไรนิดหน่อยก็ยอมคน ทรุดตัวลงร้องไห้ เป็นสาวน้อยในอุดมคติ ก็ต้องยอมรับว่าในหน้าละครไทย เราก็วนเวียนอยู่กับนางเอกในลักษณะนี้มาหลายยุคหลายสมัยมากเหลือเกิน ซึ่งส่วนใหญ่นางเอกในรูปแบบนี้นะเธอ ต่างก็หลุดมาจากวรรณกรรม หรือนวนิยายขึ้นหิ้งทั้งหลายนั่นแล

 

แต่จะบอกว่าในสมัยนั้น มีแต่นางเอกรูปแบบเดียวมันก็อาจจะไม่จริงซักเท่าไหร่ เพราะในละครยุคเก่า เราก็ยังพบเจอนางเอกนอกขนบ ออกมาโลดแล่นให้เราเห็นกันอยู่ประปรายเลยนะเออ อย่างเช่น “อังศุมาลิน” จาก คู่กรรม นี่ก็ใช่ว่าจะอยู่ในขนบไปทุกกระเบียดขนาดนั้น เพราะนางก็มีความดื้อความรั้นหัวชนฝาอยู่ไม่น้อย แม้จะมีมุมตีขิม อนุรักษ์ไทย แต่บทจะร่วมกับขบวนการใต้ดินเสรีไทยนางก็อร่อยเหาะใช่ย่อย หรือแม้แต่ “ปริศนา” ที่เป็นผู้หญิงหัวสมัยใหม่ ที่ถูกลากเข้ามาในดงผู้ลากมากดี แต่เธอก็แสดงความสดใสร่าเริง นำยุคนำสมัยจนติดตาติดใจท่านชายพจน์ได้ในที่สุด

ซึ่งในสมัยนั้น นางเอกที่จะหลุดออกจากกรอบผ้าขาวเดิมๆ ไปบ้าง แต่อย่างไรก็ต้องมีมุมหนึ่งที่กลับมานั่งพับเพียบเรียบร้อย กลับมาอยู่ในขนบให้ได้นั่นเองแหละเธอ 

อังศุมาลิน ใน คู่กรรมอังศุมาลิน ใน คู่กรรม

แต่พอยุคสมัยหลุดมาในช่วงราวๆ 90’s มา 2000 นางเอกละครจะเริ่มมีมิติมากขึ้น และเดินเรื่องด้วยความเข้มข้น ผ่านอุปสรรคที่ทำให้เธอต้องกลายเป็นนักสู้มากขึ้น อย่างเช่นในละครประเภทฝาแฝดทั้งหลาย ที่มักจะปรากฎนางเอกที่มีสองบุคลิกชัดเจน คนหนึ่งเป็นผ้าขาวตามขนบเดิม แต่ตัวพี่สาว ก็มักจะมีความสู้คนขึ้นมาหนึ่งเบอร์ เป็นการนำเสนอว่านี่นะเออ จะมาอ่อนต่อโลกอย่างเดียวน่ะมันไม่ได้ เธอต้องมีอีกร่าง มีความเป็นนักสู้ในตัวมากขึ้น

และเช่นกัน หลังจากยุคนั้น นางเอกก็เริ่มจะต้องสู้มากขึ้น และเก่งมากขึ้น ซึ่งก็จะปรากฎให้เห็นในละครบู๊ทั้งหลาย หรือแม้แต่การสู้ในเส้นชีวิตง่ายๆ แต่ก็ต้องแสบ ไม่ยอมคน อย่างเช่น “อลิน” ใน สูตรสเน่หา ที่โอ้โห นางรับบทเป็นเครื่องด่า เครื่องฟาดอย่างออกรสออกชาติ และผลักให้นางร้าย ที่เป็นขั้วตรงข้าม ต้องรับบทนางอ่อนหวาน แสร้งว่า ทำมาเปง ให้คุณพระเอกของเราต้องมึนงงอยู่ร่ำไป หรือแม้แต่ “สามีตีตรา” กับ “กั้ง” ผู้หญิงที่รักแล้วก็แสดงออกเลย แต่ไม่ยอมโง่จดทะเบียนกับผู้ชายคนไหน และสู้สุดใจขาดดิ้นแบบนี้นั่นเอง

นั่นทำให้เห็นว่าพอมาถึงยุคนึง นางเอก เริ่มต้องเข้าถึงตัวตนของความเป็นมนุษย์มากขึ้น ส่วนความหวาน ความแอ๊บใส เป็นเรื่องของการหลอกลวง ไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะมานั่งหวานได้ตลอดเวลา 

กั้ง ใน สามีตีตรากั้ง ใน สามีตีตรา

และแน่นอนค่ะ พอล่วงเลยหลัง 2010 เป็นต้นมา อิทธิพลของการทำการบ้านในเรื่องของบทโทรทัศน์ ก็ได้รับอิทธิผลให้มีมิติที่ลึกขึ้น เส้นขอบของศีลธรรมเริ่มลดลง และไม่มีความดีความชั่ว ไม่มีนางเอกนางร้ายชัดเจน เส้นแบ่งนางเอก็เริ่มจางลงไปอีก และกลายเป็นเส้นเรื่องของใครก็ได้ ที่เอาความต้องการของตัวเองเป็นตัวตั้งก็พอ

อย่างเช่น “อีรอย” จากเรื่อง ปาก ที่ก็ต้องนับว่ารอยเป็น “นางเอก” แต่จุดเริ่มต้นลากยาวไปจนถึงจุดจบนั้น ไม่ใช่ว่าลอยจะทำตัวเหมาะแก่การยอมรับในมาตรฐานของนางเอกทั่วไป แต่ปากอีลอยนี่นะ โอ้โห ถึงเครื่อง ไม่ต้องปรุงเพิ่ม นางด่าทุกอย่างที่ขวางหน้าอย่างแท้จริง แต่ก็ต้องยอมรับว่าเส้นเรื่องชีวิตของนางก็มีความน่าสงสารอยู่มากทีเดียว

หรืออาจจะไปส่องซีรีส์คลับฟรายเดย์ ที่เขาเคลมว่า สร้างมาจากเรื่องจริงของผู้ฟังวิทยุที่โทรมาเล่าเรื่องราวสุดขมขื่นกับพี่อ้อยพี่ฉอด ก็จะพบว่าตัวนางเอกของเราในหลายๆ ตอน ก็โอ้โห มีเส้นทางชีวิตที่แบบว่า เธอคะ เส้นศีลธรรมไปไหนหมดแล้วซิ มีทั้งแบบยอมเป็นเมียน้อยของเค้าก็มี ยอมทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งของรักก็มี

อีรอยอีรอย

ตัวอย่างของละครแบบนี้คือการปรับให้นางเอก หลุดพ้นออกจาก “ความเป็นนางเอก” นั่นแหละแม่ แต่ก็คือให้กลายเป้นตัวเอก เป็นคนที่เล่าผ่านเส้นเรื่องนั้นๆ ไปตั้งแต่ต้นยันจบ และไม่มีการตีกรอบว่าความเป็นนางเอก จะต้องยึดอยู่บนขนบแบบเดิมซึ่งมันไม่ใช่อีกต่อไปแล้วนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม “นางเอก” ในความหมายที่เราเข้าใจกัน นอกจากจะเป็นเรื่องแนวรักใคร่ ที่ตอนแรก นางเอกอาจจะต้องโสดอยู่ แล้วจบลงท้ายด้วยการแต่งงานกับพระเอกในที่สุด แต่ในยุคปัจจุบัน นางเอก ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นที่การโสดเสมอไป

อย่างเช่น รักฉุดใจนายฉุกเฉิน ที่นางเอกของเราตอนแรกก็มีแฟนอยู่แล้ว แต่เส้นเรื่องก็พลิกผัน ให้ตอนจบไปได้กับผู้ชายคนใหม่ที่มีเวลาให้เธอมากกว่า และแคร์ความรู้สึกเธอมากกว่าก็ได้เหมือนกัน

หรือเราอาจจะไปส่องที่ 3 Will Be Free ที่ตอนจบ นางเอกของเราก็ควบสอง กลายเป็นรักกันแบบสามคนไปเลย นี่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ว้าวซ่า

รักฉุดใจนายฉุกเฉินรักฉุดใจนายฉุกเฉิน

นั่นหมายความว่าค่านิยมตัวละครผู้หญิงที่อยู่ในปัจจุบัน เราไม่ได้มองว่าเธอจะต้องมีคุณค่าตามขนบอะไรแล้ว แต่เธอก็มีสิทธิเลือกได้ และสามารถใช้ชีวิตตามที่เธออยากจะเป็น

ซึ่งพอเราย้อนดู Timeline ของความเป็นนางเอกมาทั้งหมด เราก็จะพอเห็นได้เลยว่า ความเป็นผู้หญิงในหน้าของสื่อไทย ก็ยังถูกครอบงำเอาไว้ด้วยภาพจำและมายาคติบางอย่างเหมือนกันนะแม่ แบบว่าเห้ย นี่นะ เป็นผู้หญิงประมาณนี้นะ เธอถึงจะได้เป็นตัวเอก ถึงจะได้รับความรัก ถึงจะได้ไปถึงปลายทาง ถึงตอนจบ

แต่พอมาถึงยุคสมัยนี้แล้ว การต่อสู้ในเรื่องสิทธิสตรีที่มีบทบาทมากขึ้นในโลกสากล ค่านิยมหลายอย่างที่ปรากฎในละคร ก็จำเป็นจะต้องมีการปรับลดลง เพื่อไม่ให้คุณค่าของผู้หญิงกลายเป็นโดนลดลอนลงไป เช่น วัฒนธรรมการข่มขืน พล็อตประเภทที่พระเอกข่มขืนนางเอกแล้วจะได้ใจนางไป อันนี้ก็ต้องถือว่าพักก่อน หรือแม้แต่คำด่าที่ผู้หญิงใช้ด่าผู้ชายอย่างเช่น ทำนิสัยแบบนี้ ไปเอากระโปรงมาใส่เถอะ ซึ่งก็ถือเป็นคำด่าที่ย้อนเข้าตัว แบบว่า เอ๊า งี้เธอก็กำลังจะหมายความว่า การใส่กระโปรง หมายถึงต้องอ่อนแองั้นเหรอ พักก่อนแม่

3 Will Be Free3 Will Be Free

การเดินทางไปสู่อิสรภาพของตัวละครนางเอก จึงนับเป็นอะไรที่เต็มไปด้วยขวากหนาม และอุปสรรค และสะท้อนความยากลำบากของผู้หญิงในชีวิตจริงนอกจอละครให้เห็นเหมือนกันนะเธอจ๋า นี่แหละน้า ในโลกที่ชายเป็นใหญ่ อะไรๆ มันก็ยากไปหมด

สำหรับเทย ก็หวังว่าค่านิยม “นางเอก” จะพัฒนาไปสู่การมีละครน้ำดี ที่ทัดเทียมเนื้อหาสากลกะเค้าบ้างเนอะ ละครไทย

 

สู้ๆ ค่ะเธอ เหยี่ยวเทย รายงาน

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ “นางเอก” สมัยใหม่ แปลว่าอิสระ ชั้นไม่ยอมให้คุณทำร้ายฝ่ายเดียวหรอกค่ะ โดย กะเทยนิวส์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook