อกแม่จะแตกตาย เมื่อ “ปืน” ก็หาง่าย แม้แต่ในโลกละคร

อกแม่จะแตกตาย เมื่อ “ปืน” ก็หาง่าย แม้แต่ในโลกละคร

อกแม่จะแตกตาย เมื่อ “ปืน” ก็หาง่าย แม้แต่ในโลกละคร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เป็นเรื่องที่เลวร้ายไม่น้อยเลยนะคะคุณกิตติ กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายอาทิตย์ที่ผ่านมา ยังไม่ทันจะพ้นต้นปีดีเลย ก็เกิดโศกนาฎกรรม เรื่องเลวร้ายกับหลายเหตุการณ์ ซึ่งเทยก็ต้องขอแสดงความเสียใจกับทุกๆ เหตุการณ์ ผู้ได้รับผลกระทบทุกท่านด้วยนะคะ เห้อ แต่พอมาส่องในโลกของละคร เทยก็ว่า มีอะไรหลายๆ อย่าง ที่ชวนขมวดคิ้ว ชวนคุณกิตติมาขบคิดกันหน่อย กับเรื่องการยิงกันเปรี้ยงปร้างในหน้าละครไทยนะคะ

ไปค่ะ

เรื่องราวใดใดในละคร มักจะถูกร้อยเรียงมาจากบทประพันธ์ นวนิยายหรือวรรณกรรมที่ขายดี ซึ่งก็มักจะเป็นฝีมือจากนักเขียนชื่อดัง ที่เป็นยุคทองของวรรณกรรมในช่วงปี 80 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามเย็นไม่นาน สภาพสังคมแวดล้อม รวมไปถึงตัวเรื่องราวในวรรณกรรม ก็มักจะวนเวียนอยู่กับการปกป้องทรัพยากร ที่คนมั่งมีทั้งหลายถือครองอยู่ทั้งนั้นเลยนะเธอ

ไล่มาตั้งแต่ บ้านทรายทอง ที่เป็นต้นตำรับของการพูดเรื่องมรดก การกลับมาเพื่อทวงสิทธิ ทวงคืนทุกสิ่งทุกอย่างของ พจมาน กลับมา หรืออาจะไปส่องดู สุดแค้นแสนรัก-กรงกรรม-ทุ่งเสน่หา ที่เป็นเรื่องราวของผู้หญิงในต่างจังหวัด ที่พยายามจะพาปกป้องพื้นที่นา หรือทรัพย์สมบัติของสามีเอาไว้เป็นของตน เรื่องราวที่อยู่ใน พ.ศ. ช่วงนั้น ดูเหมือนว่ากำลังจะสะท้อนให้เห็นว่า เรื่องของการปกป้องตัวเอง ก็ต้องดูแลตัวเองกันไปก่อนเนอะ

สุดแค้นแสนรักสุดแค้นแสนรัก

และเมื่อเราต้องดูแลทรัพย์สิน มรดกของตัวเราเองนี่แหละ ไอ้ “ปืนผาหน้าไม้” มันก็เลยติดไม้ติดมือตัวละครในยุคนั้นกันเป็นว่าเล่น ดูอย่างใน สุดแค้นแสนรัก เป็นต้น โผล่มาตอนแรก ก็ฟันกันแล้วแม่ แบบเห้ย ฟันกันกลางท้องนาเล้ยยยย

ซึ่งถึงแม้ว่าทั้งตัววรรณกรรม และบทละคร จะไม่ได้ระบุว่าอาวุธนั้นจะต้องเป็นปืนมาตั้งแต่แรก แต่ก็เป็นอันรู้ดีกันเลยว่า ทุกบ้าน ดูเหมือนจะต้องมีอาวุธประจำกาย ติดไม้ติดมือความเป็นหัวหน้าครอบครัวไว้เสมอ ไม้ตะพดเอย ปืนลูกซองของพ่อกำนันเอย เป็นภาพจำที่เราคงจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี 

เป็นอันว่าเรารู้กันได้ทันทีว่า อาวุธนั้น เป็นของที่ทุกครอบครัว อาจจะมีเก็บซ่อนเอาไว้อยู่แน่นอน

แรงเงาแรงเงา

ในช่วงปี พ.ศ. นั้นๆ ดูเหมือนบ้านเมืองในโลกละคร ขื่อแปรจะยังไม่ค่อยเข้ารูปเข้ารอยเท่าไหร่ เพราะในละครช่วงยุคหลังๆ มา ก็เริ่มปรากฎว่ามีการใช้อาวุธปืน ยิงกันเพื่อชิงรักหักสวาทกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าละครเรื่องนั้นๆ จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับความบู๊แอ็กชันเลยก็ตามที อย่างในละครเรื่อง แรงเงา ตัวละคร นพนภา ที่เป็นภริยาของ ผอ. ซึ่งถือว่าเป็นคนเครื่องแบบ เป็นข้าราชการ ก็มีเนื้อเรื่องที่ปรากฎได้ว่าเธอสามารถเข้าถึงมือปืน จ้างวานฆ่า หรือมีการใช้ปืนเพื่อข่มขู่คนอื่นๆ ได้ด้วย ถึงขั้นกดดันให้ผู้น้อยอย่าง มุตตา ต้องฆ่าตัวตายกันเลยทีเดียว

ความน่าสังเกตอยู่ที่ตรงๆ นี้จริงๆ ค่ะคุณขา ละครที่ไม่ได้มีเรื่องของการบู๊แอ็กชันอะไรใดใดเลย แต่ดันมีปืน ปรากฎขึ้นมาได้ โดยเฉพาะกับละครแนวชิงรักหักสวาทนี่มันกำลังบอกอะไรเรา

ในเรื่อง เมียหลวง ตัวละคร อรอินทร์ เมื่อจับได้ว่า ดร.อนิรุจน์ กำลังจะนอกใจเธอ เมื่อเกิดอาการฟิวส์ขาดขึ้นมา เธอหยิบปืน แล้วบุกไปถึงบ้านของ ดร.วิกานดา และชี้ปืนใส่ทุกคน ก่อนจะบอกว่าเธอจะไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น ถ้าเธอไม่ได้ตัวคนรักของเธอคืน

เมียหลวงเมียหลวง

ซึ่งก่อนที่เหตุการณ์ความรุนแรงของ อรอินทร์ จะไต่ระดับไปถึงการใช้ปืน เธอเองก็มีการบุกทำร้ายคนอื่นๆ หลายครั้ง อรรถรสของเรื่อง ก็จำเป็นต้องไต่เต้ารุนแรงมากขึ้น เมื่อถึงตอนจบ และลงท้ายด้วยการเป็นอาวุธปืนในที่สุด ซึ่งก็ยังเป็นข้อกังขาอยู่เหมือนเดิมว่า อรอินทร์ ไปได้ปืนมาจากไหน ทำไมมันหาได้ง่ายเหลือเกิน ทั้งๆ ที่เธอก็ไม่น่าจะมีอาชีพอะไรที่จะไปเกี่ยวข้องกับผู้มิอิทธิพล หรือครอบครองปืนได้ด้วยซ้ำ

ซึ่งในยุคปี พ.ศ. 2540 ต้นๆ ปลายๆ ก็ยังจะปรากฎเรื่องราวชิงรักหักสวาท ที่จบลงด้วยการใช้ปืนอยู่หลายเรื่องมากๆ ที่เดินตาม เมียหลวง มา โดยที่ความรุนแรงยิ่งเพิ่มขึ้นแบบ เห้ย เดี๋ยวก่อนสิแม่

แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นที่น่าตั้งคำถามมากกว่า หากเราส่องมิติตัวเพศของตัวละคร ผู้หญิง มักจะเป็นตัวละครที่ถือปืนแล้วโวยวายเยอะมากกว่าผู้ชาย ที่มักจะหยิบปืนแล้วใช้มันในเชิงคุณธรรมมากกว่า เหมือนพยายามจะบอกว่า ผู้หญิง เป็นเพศแห่งอารมณ์ และผู้ชายเป็นเพศแห่งเหตุผล ซึ่งก็ต้องถือว่าเป็นมายาคติทางเพศเอามากเหมือนกันนะคะ เพราะในโลกจริงนี่ก็ หลายๆ รายก็เป็นผู้ชายเสียมาก ผู้หญิงจะเข้าถึงปืนนี่เป็นไปแทบไม่ได้เลย

แต่ก็ต้องไม่นับ สาก มีด และพวกความรุนแรงในเชิงหึงหวง ที่ก็ปรากฎให้เห็นอยู่เหมือนกันในหน้าละครเพื่อเป็นความตลก 

ส่วนกะเทยน่ะเหรอ ปืนก็คงมีแต่ ปล้นนะยะ ที่เป็นความตลกเช่นกัน ไม่ก็เอาไว้ลั่นไกใส่ตัวเอง เวลาผู้ชายไม่รัก เหมือนในเรื่อง เพลงสุดท้าย ก่อนจะกลายมาเป็นกินยาตายแบบใน ใบไม้ที่ปลิดปลิว

เอ๊า โลกจริง กับโลกละครเกี่ยวกับความรุนแรงและปืน เพศดันสลับสับเปลี่ยนกันมั่วไปหมดซะงั้นอ่ะเธอ

ใบไม้ที่ปลิดปลิวใบไม้ที่ปลิดปลิว

ซึ่งในช่วงปี 2000 เป็นต้นมา ก็ยังมีอาวุธปืนปรากฎอยู่ให้เห็นประปราย แม้จะไม่ได้ปรากฎให้เห็นดาษดื่นอีกแล้ว แต่ก็ยังวนเวียนอยู่กับเรื่องการปกป้องพื้นที่ในชนบท ที่ไร่นา มาเฟียท้องถิ่น ยิงกันแบบไม่แคร์กฎหมาย เน้นความไกลปืนเที่ยง จับพระเอกนางเอกเป็นตัวประกันนี่ก็ยังมีอยู่

แต่ก็ว่าบาป ละครสมัยใหม่หลังปี 2010 เป็นต้น ก็เริ่มมีการจริงจัง และใส่ใจกับเนื้อหาละครมากขึ้นแล้ว อย่างในเรื่อง เลือดข้นคนจาง ที่กว่าจะรู้ว่าใครฆ่าประเสริฐ นี่ก็ตามหาอาวุธปืนกันให้ควัก และ กู๋เมธ ก็เป็นตัวละครผู้ชายที่สติแตก ยิงพี่ชายตัวเองจนตาย และยังเกือบจะยิง คริส ตายที่ฮ่องกงอีกด้วย แม้ว่าจะยังปรากฎปืนให้เห็นอยู่และไม่รู้ว่าที่มาที่ไปของปืนกระบอกนั้น ประเสริฐครอบครองเอาไว้ได้หรือไม่ได้อย่างไรก็ตามที แต่ก็นับว่าเป็นเรื่องสมเหตุสมผลพอที่จะมีปืนอยู่ในฉากในตอน

เลือดข้นคนจางเลือดข้นคนจาง

แต่กระนั้น คุณกิตติขา ที่เทยเล่ามาเนี่ย มันต้องตั้งคำถามนะคะ เพราะเอาเข้าจริงๆ แล้ว ในไทย เราไม่ได้มีกฎหมายให้เสรีปืนนะคะคุณ แต่ทว่าในละครบ้านเรา ก็นำเสนอเรื่องเหล่านี้มากันแบบโอ้โห ยิงกันสนั่นจอนะเออ ซึ่งก่อนที่เราจะไปโทษที่เกมที่อะไร บางทีสื่อละคร ก็อาจจะกำลังบอกอะไรเราหลายอย่างอยู่เหมือนกันนะคะ

เพราะบางครั้งในชีวิตจริง คนที่ถือปืน อาจจะไม่ใช่พระเอกรูปหล่อ ที่ยิงคนร้ายปราบอธรรม มันอาจจะเป็นอะไรที่เราคาดไม่ถึง และเลวร้ายกว่านั้นก็เป็นได้นะ

อกเทยจะแตกตายรายวันแล้วค่ะ ฝากไว้ให้คิด

 

เหยี่ยวเทย รายงาน

อัลบั้มภาพ 89 ภาพ

อัลบั้มภาพ 89 ภาพ ของ อกแม่จะแตกตาย เมื่อ “ปืน” ก็หาง่าย แม้แต่ในโลกละคร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook