บทสัมภาษณ์ “เปโดร อัลโมโดวาร์” กับวิบากกรรมการทำหนังใน “Pain and Glory”

บทสัมภาษณ์ “เปโดร อัลโมโดวาร์” กับวิบากกรรมการทำหนังใน “Pain and Glory”

บทสัมภาษณ์ “เปโดร อัลโมโดวาร์” กับวิบากกรรมการทำหนังใน “Pain and Glory”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Pain and Glory ถือเป็นผลงานล่าสุดของผู้กำกับมากฝีมือ เปโดร อัลโมโดวาร์ เจ้าของฉายาเจ้าป้าแห่งวงการภาพยนตร์ ที่กวาดรับคำชมอย่างล้นหลาม และเป็นการแสดงที่ดีที่สุดในชีวิตของ อันโตนิโอ แบนเดอรัส จนเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ทั้งคู่ร่วมงานกันหลายครั้ง ก่อนหน้านั้นคือ The Skin I Live In แต่กว่าจะเป็นภาพยนตร์น่าจดจำนั้นก็ต้องผ่านความยากลำบากหลายอย่าง และผู้กำกับก็ได้เปิดใจเกี่ยวกับการทำงานครั้งนี้

ส่วนใหญ่หนัง Pain and Glory จะเน้นไปที่การต่อสู้เรื่องสุขภาพของตัวละครเอก อะไรเป็นสิ่งกระตุ้นให้คุณทำหนังเกี่ยวกับประเด็นนี้?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ผมไม่เคยคิดว่าผมจะทำหนังเกี่ยวกับความเจ็บปวดเหล่านี้นะ ชีวิตผมค่อนข้างโชคดี ผมไม่เคยฝันว่าผมจะมีชีวิตในแบบที่ผมเคยประสบพบเจอมา และผมก็ไม่อยากบ่นอะไร หลายอย่างรอบตัวผมมันรายล้อมด้วยคนพันๆ คนที่อยู่ในสถานการณ์เลวร้ายกว่า แต่คุณก็พูดถึงเรื่องราวของตัวเอง และผมก็ถ่ายทอดลงในหนังของผมเสมอ ไม่ใช่แค่หนังเรื่องนี้ หนังเรื่องอื่นๆ ก็นำเสนอตัวผมเองในแบบอ้อมค้อม บางครั้งผมอยู่เบื้องหลังตัวละครที่ใม่ใช่คนทำหนัง บางครั้งผมอยู่เบื้องหลังตัวละครผู้หญิง แต่เป็นเรื่องจริงที่มันเป็นครั้งแรกที่ผมเอาตัวเองเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับตัวละคร หนังเหล่านี้ทั้งหมดมันมีต้นกำเนิดมาจากสถานการณ์ความเป็นจริง และความเป็นจริงก็อยู่ในตัวผม ผมจึงจำเป็นต้องถอยห่างจากสิ่งนั้น แต่บางครั้งเมื่อผมเขียนบท Pain and Glory ผมก็รู้สึกวิงเวียนเพราะผมจะโยงใยตัวเองมากกว่าที่ผมเคยทำมาก่อนครับ

มันเป็นการตัดสินใจของคุณหรือเปล่าที่ทำให้ตัวละครของ อันโตนิโอ แบนเดอรัส ดูเหมือนคุณ?

เปโดร อัลโมโดวาร์:  แน่นอน ในหนังของผมนั้นผมเป็นคนที่ตัดสินใจทุกอย่าง มันมีเหตุการณ์ตอนก่อนงานสร้างที่เมื่อคุณเริ่มออกแบบใบหน้าของตัวละครหลัก ผมคิดว่าบางทีเขาควรจะมีทรงผมในแบบของเขาเอง แม้กระทั่งเสื้อผ้า ผมให้เสื้อแจ็คเก็ตและรองเท้า แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมให้อพาร์ตเมนต์ที่ผมอาศัยอยู่แก่ตัวละครของผม ภาพวาดก็เป็นของผม เฟอร์นิเจอร์บางชิ้นก็เป็นของผม นี่ทำให้กระบวนงานสร้างทั้งหมดมันดูรวดเร็วกว่า ทุกคนเข้ามาที่บ้านของผมและทำสำเนามันในสตูดิโอ แต่ผมก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้จะคงเหมือนเดิมถ้า อันโตนิโอ มีผมสีแดงหรือทำทรงผมทรงอื่นๆ

อันโตนิโอ แบนเดอรัสอันโตนิโอ แบนเดอรัส

อันโตนิโอ แบนเดอรัส บอกว่า เขามีนิสัยแปลกๆ ในฮอลลีวูดที่คุณต้องกีดกันเขาออกจากช่วงที่คุณร่วมงานทำหนังเรื่อง The Skin I Live In นิสัยแปลกๆ เหล่านั้นคืออะไร?

เปโดร อัลโมโดวาร์:  เขาเป็นเด็กดีจริงๆ นะ เป็นคนใจกว้างที่จะพูดถึงปัญหาเหล่านี้ มันเป็นเรื่องจริงที่เรามีความคิดแตกต่างมากๆ เกี่ยวกับนิสัยแบบนี้ ซึ่งเรากำลังจะลงมือทำ และเขาก็จะตีความตัวละครของเขาออกมาอย่างไร เราถกเถียงกัน แต่สุดท้ายแล้วมุมมองของผมก็มีชัยเหนือกว่า เพราะ อันโตนิโอ เป็นนักแสดงที่มีวินัยมากๆ และเขาก็จะลงมือทำในสิ่งที่ผมขอร้องไว้ต่อให้เขาไม่รู้สึกผูกพันเชื่อถือนัก ผมไม่ได้สบายใจที่เห็นเขาทำแบบนั้น ก็แค่เปิดโอกาส แต่คุณต้องยึดหลักความเป็นจริงเมื่อคุณเริ่มถ่ายทำหนัง และ อันโตนิโ อก็เป็นคนจริงใจจนเมื่อ The Skin I Live In ฉายในโตรอนโต และเขาดูหนังเป็นครั้งแรก เขาก็เข้าใจทุกอย่างที่ผมเคยบอกเขาตอนถ่ายทำหนัง มันเป็นบทเรียนสำหรับเขาในแง่ความรู้สึก และบทเรียนนั้นก็สำคัญมากสำหรับหนัง Pain and Glory เพราะเมื่อเขาอ่านสคริปต์นี้ เขารู้ว่าเขาอยากทำแน่นอน และเขาก็พูดว่า “ไม่ต้องเป็นห่วง เปโดร ผมจะมีบทบาทแตกต่างกันมากกว่าใน The Skin I Live In ผมจะเปลือยความรู้สึกออกมาทั้งหมดในมือของคุณ และคุณจะทำอะไรก็ได้ตามที่คุณต้องการ”

นี่ไม่ได้หมายความว่าผมไม่ชอบนักแสดงที่นึกไอเดียส่วนตัว มันเป็นธรรมชาติที่นักแสดงอาจจะมีไอเดียส่วนตัวว่าจะตีความออกมาอย่างไร โดยเฉพาะกับนักแสดงมากประสบการณ์อย่าง อันโตนิโอ และนักแสดงที่เคยเป็นผู้กำกับ (ซึ่งเขาก็เป็น) อีกทั้งผมก็รู้จักนักแสดงที่ต้องทำการบ้านกับตัวละครด้วยตัวเองเพราะผู้กำกับไม่ได้ให้สัญญาณจริงๆ แก่นักแสดงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ แต่ในกรณีของผม ผมมักจะให้คำแนะนำเสมอ และเมื่อคุณมีผู้กำกับที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจนเรื่องสิ่งที่เขาต้องการ มันก็เป็นหน้าที่ของนักแสดงที่จะรับฟังและถ่ายทอดสิ่งที่ผู้กำกับต้องการ

เปโดร อัลโมโดวาร์เปโดร อัลโมโดวาร์

นี่มักเป็นสไตล์ของคุณในการกำกับนักแสดงหรือเปล่า?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ใช่แล้ว แม้กระทั่งตอนผมถ่ายด้วยกล้องซูเปอร์ 8 ผมก็ทำแบบเดียวกันแน่นอน นักแสดงคือหน้าตาของหนัง สายตาของตัวหนัง กระบอกเสียงของหนัง มันมีองค์ประกอบอย่างอื่นทั้งหมดที่ใส่เข้าไปในการทำหนังซักเรื่อง การถ่ายภาพ การวางฉาก ฯลฯ แต่สิ่งที่คนดูจะผูกพันเข้าถึงได้ก็คือนักแสดง ผมกลายเป็นผู้กำกับเพราะผมชอบทำงานร่วมกับนักแสดง ผมชื่นชมพวกเขาและเป็นบุญคุณแก่พวกเขาเสมอ นักแสดงได้มอบชีวิตให้จินตนาการที่ผมเคยเขียนที่บ้าน ดังนั้นหน้าที่ที่พวกเขาทำคือการแสดงออกถึงความใจกว้างครับ

อะไรคือความขัดแย้งครั้งใหญ่ที่สุดที่คุณเคยมีกับนักแสดง?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ผมจะไม่เอ่ยนามเพราะไม่ใช่เรื่องดีแน่ๆ และโดยทั่วไปผมโชคดีนะ ผมจำได้ว่ามีแค่สามครั้งที่ผมขัดแย้งครั้งใหญ่ และผมต้องทนอย่างมากๆ เพราะนักแสดงไม่อยากที่จะทำในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ หรือว่าพวกเขาไม่ได้อยู่ในที่ๆ เหมาะสม หรือว่าเรามีความสัมพันธ์เลวร้ายที่ถูกถ่ายทอดลงในหนัง มันแย่มากๆ ที่สิ่งนี้บังเกิด ผมจำเหตุการณ์ที่เจ็บปวดที่สุดได้ เป็นครั้งแรกเลยผมต้องไปหาจิตแพทย์เพราะความวิตกกังวล มันเป็นสถานการณ์รุนแรงที่ผมทำอะไรไม่ได้เลยกับทักษะของนักแสดง แต่เขามีปฏิกิริยาทางจิตรุนแรงต่อตัวละคร แล้วเขากับผมก็ต้องไปหาจิตแพทย์ ผมต้องรับมือกับความวิตกกังวลและเขาต้องรับมือกับประเด็นของเขา น้องชายผมเชื่อว่าเราไม่มีทางทำหนังเรื่องนั้นได้เสร็จแน่ แต่ผมไม่ยอมแพ้ ความคิดที่จะไม่ทำหนังให้เสร็จเป็นสิ่งที่เจ็บปวดที่สุดเท่าที่ผมคิดได้ ต่อให้นักแสดงและผมพยายามจนตาย เราก็จะทำหนังเรื่องนั้นให้เสร็จ เราต้องหาจุดยืน และบางครั้งผมก็เขียนตัวละครใหม่เพื่อนักแสดงที่เหมาะสม และเป็นระยะยาวนานที่สุด ผมไม่สามารถดูหนังเรื่องนี้ได้ แต่ผมได้ดูอีกครั้งเมื่อสี่เดือนที่แล้วในงานฉายหนังรำลึกในสเปน และผมก็พอใจจริงๆ กับผลที่ออกมา จากการเขียนบทบาทขึ้นมาใหม่เพื่อให้แสดงออกมาได้ดีสำหรับหนังเรื่องนั้น มันเป็นการผจญภัยที่ยิ่งใหญ่ คุณไม่รู้หรอกว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นและคุณต้องพร้อมรับมือกับมัน แต่นี่เป็นกรณียกเว้นในการงานของผม 95 เปอร์เซ็นต์ของกรณีเหล่านี้ ผมเลือกนักแสดงได้ถูกและพวกเขาก็ยอดเยี่ยมมากครับ

อย่างน้อยคุณช่วยบอกชื่อหนังเรื่องนั้นได้ไหม?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ไม่หรอก ถ้าผมบอกชื่อหนัง คุณก็รู้ชื่อนักแสดงคนนั้นนะสิครับ

เมื่อคุณทำหนังครั้งแรก คุณทำงานในสเปนที่ยังอนุรักษ์นิยม สองสามปีหลังจากการเสียชีวิตของจอมพลฟรังโก กระแสตอบรับต่อหนังเรื่อง Labyrinth of Passion ในตอนนั้นรุนแรงพอสมควร คุณหวาดกลัวกับกระแสนั้นหรือเปล่า?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ผมไม่กลัวหรอก ความมุ่งมั่นของผมคือทำหนังที่ผมอยากทำ และความมุ่งมั่นนั้นก็พาผมไปยังที่ๆ ผมไม่แยแสต่อบรรดาปฏิกิริยาต่อหนังของผม ไม่ใช่แค่เรื่อง Labyrinth of Passion แต่รวมถึงหนังเรื่อง Dark Habits เราอาจจะมองว่าสเปนเปิดกว้างทางโลก แต่จริงๆ แล้วเราเป็นประเทศคาทอลิกเคร่งครัด ในหนังเรื่อง Dark Habits นั้น เรามีแม่ชีที่ช่วยเหลือโสเภณี คนติดเฮโรอีน ฆาตกร หนึ่งในบรรดาแม่ชีก็ฉีดเฮโรอีนเข้าเส้น เมื่อพิจารณาบริบทของสเปน มันเป็นหนังที่ยากลำบากมากๆ แต่ผมสามารถเห็นว่าสังคมสเปนได้เปลี่ยนแปลงมากน้อยอย่างไรในตอนนี้ เพราะเมื่อ Dark Habits ออกฉายทางทีวีไม่นานมานี้ หลายคนพูดว่าคุณทำหนังเรื่องนี้ในสเปนไม่ได้อีกต่อไป ไม่ใช่ในสเปนร่วมสมัย ซึ่งหมายความว่าสเปนในตอนนี้มันแย่กว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในยุค 1980 สังคมสเปนในคราวนั้น (ยุคที่หนังออกฉายโรง) มันเปิดกว้างยอมรับเรื่องแบบนั้นมากกว่าตอนนี้เสียอีก สิ่งที่เกิดขึ้นคราวนั้นคือเราเพิ่งเข้าสู่แนวคิดประชาธิปไตยและเสรีภาพ ปฏิกิริยาของสังคมคือ ผู้คนรู้สึกกลัวเพราะว่าพวกเราได้ปิดถนน ส่วนพวกเขาก็ต้องหลบซ่อนอยู่ในบ้านเพราะไม่อยากจะก่อเรื่อง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือผู้คนที่เคยหลบๆ ซ่อนๆ และขวาสุดโต่งได้ปรากฏตัวอีกครั้งในสเปน นี่เป็นเรื่องแย่สำหรับสเปนแต่มันก็กำลังเกิดขึ้นทั่วยุโรป ผลกระทบของประธานาธิบดีทรัมพ์กำลังทำลายยุโรป เขาเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตัวละครเหล่านี้ขึ้นมาซึ่งอันตรายมากๆ ครับ

ช่วงแรกๆ คุณมีผลงานที่ประสบความสำเร็จในสหรัฐอเมริกา เคยมีฮอลลีวูดชักชวนคุณให้ทำหนังที่นี่หรือเปล่า?

เปโดร อัลโมโดวาร์: ใช่ครับ สองสามครั้ง หลังจาก Women on the Verge of a Nervous Breakdown ออกฉาย ก็มีคนเสนอโปรเจกต์หลายชิ้นให้ผมทำหนังในอเมริกา รวมถึงงานรีเมค Women on the Verge of a Nervous Breakdown แต่ผมลังเลเกี่ยวกับความตั้งใจของพวกเขาเสมอ พวกเขาบอกผมเสมอว่าผมมีเสรีภาพและความอิสระเท่าเทียมกันกับที่ผมคุ้นเคย แต่ผมไม่เชื่อหรอก ผมคุยกับผู้กำกับหลายคน ทั้งผู้กำกับหนังฮอลลีวูดและผู้กำกับอิสระ อย่าง มาร์ติน สกอร์เซซี และ พอล ชเรเดอร์ และเรื่องราวที่พวกเขาบอกมาก็น่ากลัวจริงๆ พูดเรื่องวิธีที่ฮอลลีวูดสร้างหนัง ดังนั้นเมื่อพวกเขาพยายามหลอกล่อผม ผมก็โตพอที่จะรู้ว่าผมต้องการทำอะไร สิ่งที่ผมเห็นคือวิธีการสร้างหนังในฮอลลีวูดมันแตกต่างจากวิธีที่ผมทำ มันไม่ใช่คำถามเกี่ยวกับอำนาจ ในยุโรปนั้นมันชัดเจนเลยว่าผู้กำกับเป็นเจ้าของตัวหนัง แต่ที่นี่มันมีกระบอกเสียงหลายเสียงที่เป็นความคิดเห็นต่อกระบวนงานสร้างและผมก็ไม่คิดว่าผมสามารถทำงานแบบนั้นได้ ผมไม่รู้วิธีการเอาอกเอาใจพวกเขาและผมก็จะสับสนครับ

“Pain and Glory แด่หนัง ชีวิต และความเจ็บปวด” คือหนังที่ผู้กำกับ เปโดร อัลโมโดวาร์ หยิบยกเรื่องราวชีวิตในอดีตของตัวเองมาถ่ายทอดผ่านประสบการณ์ชีวิตของ ซัลวาดอร์ มัลโล (อันโตนิโอ แบนเดอรัส) ผู้กำกับภาพยนตร์เจ้าของผลงานชื่อดังในอดีตที่กำลังประสบปัญหาความว่างเปล่าในชีวิตส่วนตัวจนนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงาน ความสามารถในการสร้างภาพยนตร์ถดถอยลง รวมไปถึงปัญหาทางสุขภาพกายที่กำลังย่ำแย่ ก่อนจะพบหนทางสว่างที่สร้างแรงบันดาลใจให้กลับมามีไฟอีกครั้ง 

เตรียมพบกับผลงานที่ดีที่สุดในชีวิตของ อันโตนิโอ แบนเดอรัส การันตีคุณภาพด้วยการเข้าชิง 2 รางวัลออสการ์ และ ลูกโลกทองคำ กับหนังที่หลายสำนักยกให้เป็นอันดับหนึ่งแห่งปี “Pain and Glory แด่ฝัน ชีวิต และความเจ็บปวด” 20 กุมภาพันธ์นี้ ในโรงภาพยนตร์

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ บทสัมภาษณ์ “เปโดร อัลโมโดวาร์” กับวิบากกรรมการทำหนังใน “Pain and Glory”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook