เจาะเบื้องหลัง "โปรดักชัน" กองถ่ายเกาหลี "ถ่ายไป ออนแอร์ไป" ดีจริงหรือ?

เจาะเบื้องหลัง "โปรดักชัน" กองถ่ายเกาหลี "ถ่ายไป ออนแอร์ไป" ดีจริงหรือ?

เจาะเบื้องหลัง "โปรดักชัน" กองถ่ายเกาหลี "ถ่ายไป ออนแอร์ไป" ดีจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เบื้องหลังความสำเร็จของภาพยนตร์และซีรีส์เกาหลีที่ทุกคนต่างยอมรับและให้ความสนใจกันทั่วโลก ด้วยความทุ่มเทของทีมงาน ทั้งคนเขียนบท ผู้กำกับ คนตัดต่อและนักแสดง ที่พยายามสร้างผลงานให้ออกมาดี แต่จะมีใครรู้ไหมว่ากองถ่ายของเกาหลี เขาถ่ายไปออนแอร์ไป ไม่ได้ถ่ายเก็บไว้เหมือนของไทยหรือหลาย ๆ ประเทศนะ

ส่วนใหญ่การถ่ายทำซีรีส์หนึ่งเรื่องของเกาหลีจะเริ่มถ่ายทำประมาณ 2 เดือนก่อนออกอากาศ โดยทีมงานจะถ่ายเก็บไว้ 4 ตอนเพื่อดูทิศทางกระแสว่าควรไปในทางไหนต่อ ซึ่งเกาหลีจะยึดติดกับกระแสเรตติ้งมาก ถ้ากระแสไม่ดีทีมเขียนบทจะหารือกันและแก้บทใหม่ บางครั้งอาจทำให้ความคิดเห็นไม่ลงรอยกัน จนนักเขียนต้องถอนตัวออกจากทีม เช่น ‘The Uncanny Counter’ ที่นักเขียนขอถอนตัวกลางคัน หลังซีรีส์ออนแอร์ไปถึง 13 ตอนแล้ว เพราะความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวช่วงท้ายของเรื่องที่ไม่ลงรอยกัน จึงทำให้ทีมผู้ผลิตต้องหานักเขียนคนใหม่มารับผิดชอบตั้งแต่ตอนที่ 14 เป็นต้นไป

กรณีที่นักเขียนบทเขียนบทไม่ทันส่ง ทำให้ซีรีส์ต้องงดออกอากาศไป 1 ตอน เช่น ‘My Lovely Girl’ ที่ต้องงดออกอากาศไปเพราะนักเขียนเขียนบทไม่เสร็จ ทำให้การถ่ายทำต้องล่าช้า หรือกรณีที่ต้องการแก้บทให้ดีขึ้น จึงงดออกอากาศไป เช่น ‘Vincenzo’ ที่นักเขียนและผู้กำกับขอเลื่อนตารางฉายตอนจบออกไป 1 สัปดาห์ เพื่อแก้บทและถ่ายทำตอนจบใหม่ให้มีความประทับใจมากกว่าตอนแรก

ในกรณีที่ถ่ายทำยังไม่เสร็จและตอนที่ถ่ายเก็บไว้ออนแอร์ครบแล้ว อาจทำให้ต้องถ่ายทำและตัดต่อกันในวันเดียวเลย เช่น เรื่อง ‘King of Ambition’ ควอนซังอู (Kwon Sang-woo) หนึ่งในนักแสดงของเรื่องได้ออกมาบอกว่า เขาได้ถ่ายทำตอนสุดท้ายก่อนออนแอร์ 30 นาที ซึ่งทำให้หลายคนมองว่าการถ่ายทำหนังของเกาหลีเหมือนกับรายการถ่ายทอดสดมากกว่า

เหตุผลที่เกาหลีต้องถ่ายทำกันแบบถ่ายไปออนแอร์ไปเป็นเพราะว่า ก่อนเริ่มถ่ายทำ ทางบริษัทผู้ผลิตจะต้องจัดตารางเวลาออกอากาศ หากตารางเวลาไม่แน่นอน อาจทำให้บรรดาสปอนเซอร์และการคัดเรื่องนักแสดงไม่ตกลงรับข้อเสนอและร่วมงานกัน เพียงเพราะช่วงเวลาออนแอร์ที่ยังไม่แน่นอน

นอกจากนี้หากเริ่มถ่ายทำกัน โดยที่ยังไม่ได้รับการยืนยันเรื่องช่วงเวลาออนแอร์ ผู้ผลิตอาจจะต้องเสียเงินทุนไปอย่างไร้ประโยชน์ เพราะไม่สามารถออนแอร์ได้ ทำให้ทีมผู้ผลิตต้องหารือกับช่องเคเบิลเป็นระยะเวลานานกว่าที่จะได้ตารางเวลาออนแอร์ที่ชัดเจน บางครั้งการถ่ายทำใช้เวลาน้อยกว่าหารือกับช่องเคเบิลเสียอีก

การถ่ายทำแบบนี้มีทั้งข้อดีและข้อดีเหมือนกัน ข้อดีคือบรรยากาศที่เห็นในเรื่องจะดูสมจริงและใกล้เคียงกับฤดูกาลนั้น ๆ และยังเป็นตัวกำหนดเรตติ้งของเรื่อง เพื่อให้ทีมผู้ผลิตสามารถปรับเปลี่ยนบทตามกระแสที่คนดูอยากเห็นในเรื่อง แต่ข้อดีเรื่องนี้ก็สร้างความลำบากให้กับนักแสดงที่ทำการบ้านอย่างหนัก และจู่ ๆ ก็มีการปรับบทพูดทีละหน้าจนนาทีสุดท้าย เช่น เรื่อง ‘Yong-Pal’ ที่นักแสดง จูวอน (Joo-won) ที่ต้องเจอกับปัญหานี้ทำให้เขาอดหลับอดนอนถึง 6 วัน

ปัจจุบันการถ่ายทำแบบถ่ายไปออนแอร์ไปของวงการเกาหลียังมีอยู่ และเริ่มมีแนวโน้มที่วงการเกาหลีจะหันมาถ่ายแบบเก็บไว้ล่วงหน้า เช่น ซีรีส์ ‘Descendants of the Sun’, ‘Uncontrollably Fond’, ‘Moon Lovers: Scarlet Heart Ryeo’ เป็นซีรีส์ที่ถ่ายเสร็จก่อนออนแอร์ตอนแรก เพื่อจะตีตลาดในจีน จึงต้องถ่ายให้เสร็จและส่งให้ทางจีนตรวจสอบเนื้อหาก่อนที่จะออนแอร์ โดยใช้เวลา 2-3 เดือน เพื่อให้ทันออนแอร์พร้อมกันทั้งในเกาหลีและจีน

 

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ เจาะเบื้องหลัง "โปรดักชัน" กองถ่ายเกาหลี "ถ่ายไป ออนแอร์ไป" ดีจริงหรือ?

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook