The Mauritanian คดีฉาวคุกอ่าวกวนตานาโม จากเรื่องจริงสู่หนังสือ จากหนังสือสู่หนังที่ต้องดู

The Mauritanian คดีฉาวคุกอ่าวกวนตานาโม จากเรื่องจริงสู่หนังสือ จากหนังสือสู่หนังที่ต้องดู

The Mauritanian คดีฉาวคุกอ่าวกวนตานาโม จากเรื่องจริงสู่หนังสือ จากหนังสือสู่หนังที่ต้องดู
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องราวใน The Mauritanian บอกเล่าชีวิตของมูฮาเหม็ดดู อูล สลาฮี (ทาฮาร์ ราฮิม) ซึ่งถูกรัฐบาลสหรัฐฯจับตัวไปและจำคุกเป็นเวลาหลายปีโดยไม่มีการพิจารณาคดีในศาลในคุกสุดฉาวอ่าวกวนตานาโม (GTMO) เรื่องราวของเขา กลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์สุดโหด

ในขณะที่มูฮาเหม็ดดูพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เขาได้เจอ แนนซี ฮอลแลนด์ ทนายฝ่ายจำเลย (โจดี้ ฟอสเตอร์) และผู้ช่วยเทอรี ดังแคน (เชลีน วูดลีย์) ซึ่งให้คำแนะนำเขาตลอดช่วงเวลาที่ยากลำบาก และการค้นพบหลักฐานใหม่โดยพันโท สจวร์ต เคาช์ (เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์) อัยการทหารสุดโหด ทำให้เรื่องราวการสมรู้ร่วมคิดที่ไม่มีใครคาดคิดถูกแฉให้โลกรู้

 

กว่าที่หนังสือ Guantanamo Diary จะกลายเป็นภาพยนตร์

ไอเดียในการดัดแปลงหนังเรื่องนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2015 ในช่วงเวลาที่มูฮาเหม็ดดู อูล สลาฮียังถูกจองจำอยู่ในคุกอ่าวกวนตานาโม (GTMO) และผู้อำนวยการสร้างทั้งสาม (ลอย, บีทริซ และไมเคิล บรอนเนอร์) เดินทางไป อัลบูเคเรส Albuquerque เพื่อพบกับทนายความของ มูฮาเหม็ดดูนั่นคือ แนนซี่ ฮอลแลนเดอร์ และ เธเรซ่า ดังแคนและหลังจากชั้นหนังสือบันทึกความทรงจำของ มูฮาเหม็ดดูเรื่อง "Guantánamo Diary" ถูกซื้อลิขสิทธิ์โดย ลอย, บีทริซ, มาร์ค และ คริสติน โฮลเดอร์ ในนามบริษัท Wonder Street

ภายหลังจากทีมงานได้อ่านหนังสือ Guantánamo Diary ก็พบว่างานเขียนของตัวมูฮาเหม็ดดู อูล สลาฮี เองเต็มไปด้วยความเป็นบทกวีและภูมิปัญญาในการเขียน จนเกิดความประทับใจในเรื่องราวที่อ่าน อีกทั้งยังทำให้ตัวผู้อ่านรู้สึกถึงความเป็นมนุษย์ของมูฮาเหม็ด จนนำมาซึ่งคำถามที่ว่าทำไมเราถึงต้องแบ่งแยกความเป็นมนุษย์ระหว่างเขาและเรา

หนึ่งในทีมโปรดิวเซอร์คนสำคัญของหนังคือนักแสดงชื่อดังอย่างเบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ที่ได้เข้าร่วมงานเปิดตัวหนังสือ Guantánamo Diary ในปี 2015 ทันทีที่เขาได้อ่านหนังสือเล่มนี้เขาก็ตกหลุมรักมันเข้าอย่างจังและนำไปสู่แรงบันดาลใจที่ว่า เขาจะต้องดัดแปลงมันให้กลายเป็นภาพยนตร์ให้ได้ ตัวเบเนดิกต์เล่าว่า ผมหยิบหนังสือขึ้นมาอ่านตั้งแต่ต้นจนจบและรู้สึกประทับใจกับโมฮาเหม็ดดูจากความเป็นมนุษย์และอารมณ์ขันของเขา ความอดทนที่ไม่ธรรมดาของเขากับความจริงที่ว่าเขาผ่านเรื่องราวเหล่านี้มาทั้งหมด เรื่องนี้เกิดขึ้นเพื่อสอนเราทุกคนเกี่ยวกับจิตวิญญาณมนุษย์ที่เอาตัวรอดได้ทุกเรื่อง ผมหลงเสน่ห์เขาอย่างที่สุด และเรื่องราวของเขาก็สะเทือนใจ และหนักอึ้งด้วย”

เช่นเดียวกันกับ แนนซี่ ฮอลแลนเดอร์ทนายความด้านการป้องกันอาชญากรรมระหว่างประเทศ ผู้ซึ่งต่อสู้อย่างไม่ลดละเพื่อให้ทางการปล่อยตัวโมฮาเหม็ดดูมาหลายปีเล่าว่า“โปรดิวเซอร์ทั้งสามคน มาที่สำนักงานของฉันและเราเซ็นสัญญาลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ในขณะที่ โมฮาเหม็ดดู ยังอยู่ในคุก” เมื่อเขาได้รับการปล่อยตัวในวันที่ 17 ตุลาคม 2016 ทีมงานก็ได้เดินทางไปยังมอริเตเนียทันที เพื่อเริ่มต้นการทำงานสำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้

หนังที่ไม่เหมือนกับหนังสือ

หนังสือ Guantánamo Diary มีลักษณะของหนังสือแนวอัตชีวประวัติของ โมฮาเหม็ดดู ดังนั้นทีมงานผู้สร้างจึงไม่สามารถเล่าเรื่องจากมุมมองคนอื่นได้ ช่วงเวลาสองในสามแรกของเรื่องนี้เป็นเรื่องราวจากมุมอื่น เราถึงจะเริ่มได้เห็นมุมมองเขาก็ตอนอุทธรณ์

อะไรก็ตามที่ถูกดัดแปลงมาจากเรื่องราวในชีวิตจริงล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องยากเสมอ เพราะการพาผู้ชมให้สัมผัสเข้าใกล้กับประวัติศาสตร์คือความรับผิดชอบต่อบุคคลที่มีชีวิตอยู่จริงในทุกวันนี้ ทุกอย่างที่ปรากฏอยู่บนจอภาพยนตร์จึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อนทั้งหมด ทีมงานจึงไม่ต้องการเล่าเรื่องราวจากตัวบุคคลฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่อยากให้มันมีความเป็นมนุษย์มากที่สุดเมื่อประสบการณ์รอบตัวของเหล่าตัวละคร จะเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงพวกเขา และสามารถกลายเป็นประเด็นที่เกิดการพูดคุยในสังคมได้ หนังเรื่องนี้จึงถูกดำเนินเรื่องผ่าน โมฮาเหม็ดดู ซึ่งเป็นบุคคลที่ปรับตัวเก่ง เป็นนักปรัชญา เขามีไหวพริบและมีความเห็นอกเห็นใจมาก

ความท้าทายอีกประการคือโครงสร้างของหนังเรื่องนี้มีความซับซ้อน เนื่องจากมันจะเล่าเรื่องราวเชิงประเด็นทางรัฐศาสตร์ อีกทั้งยังเต็มไปด้วยศัพท์ทางกฎหมาย และยังเกี่ยวโยงกับหลากหลายประเทศ สิ่งเหล่านี้ผู้ชมจะต้องเข้าใจได้ และยังสัมผัสได้ถึงความเป็นหนังระทึกขวัญที่ผู้ชมจะต้องลุ้นใจสั่นและอยากรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ทีมเขียนบทยังบอกอีกว่าหนังเรื่องนี้มีแรงกระตุ้นสำคัญที่ขับเคลื่อนเรื่องราวทั้งหมดนั่นก็คือความหวาดกลัว ซึ่งในยุคสมัย 9/11 นั้นความหวาดกลัวได้ครอบงำจิตใจของชาวอเมริกัน และสหรัฐอเมริกาได้ใช้นโยบายการต่างประเทศแทนที่จะใช้กฎหมายในการพิจารณาคดีแบบเดิม

โมฮาเหม็ดดู ซึ่งเป็นผู้ต้องขังคนแรกที่ตีพิมพ์บันทึกความทรงจำ ขณะยังถูกคุมขังถูก เขาถูกห้ามไม่ให้รับสำเนาหนังสือของเขาในขณะที่เขายังไม่ถูกปล่อยตัว แนนซี่ ฮอลแลนเดอร์ (ตัวจริง)  กล่าวว่าแม้ว่าอดีตนักโทษกวนตานาโมหลายคนจะเขียนหนังสือออกมา แต่โมฮาเหม็ดดูเป็นคนเดียวที่เขียนหนังสือด้วยตัวเอง “ฉันคิดว่านั่นคือสิ่งที่ทำให้มันไม่เหมือนใครเพราะมันเป็นเขา และเรื่องราวเหล่านี้เป็นสิ่งที่เขาได้ผ่านมาเอง และตอนนี้เราได้สร้างออกมาเป็นภาพยนตร์”

แนนซี่มีส่วนร่วมในบทภาพยนตร์ตั้งแต่เริ่มต้น และเธอจำได้ว่า “ฉันให้หลักฐานการพิจารณาทางศาลแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ ฉันอธิบายกฎหมาย และตัวคดีความให้พวกเขาฟัง และฉันบอกว่า 'ฉันรู้ว่าคุณไม่สามารถรวมเอาทุกอย่างใส่ลงไปในภาพยนตร์ได้ แต่ฉันต้องการให้คุณมีข้อมูล และรู้ว่ามันมีเรื่องราวอะไรเกิดขึ้นบ้าง แต่คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าคุณจะใส่สิ่งนี้ลงในภาพยนตร์ได้อย่างไร'”

The Mauritanian เข้าฉายในโรงภาพยนตร์แล้ววันนี้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook