แว่น AR เปลี่ยน ‘Talk’ เป็น ‘Text’ ช่วยผู้มีปัญหาการได้ยินบกพร่อง

แว่น AR เปลี่ยน ‘Talk’ เป็น ‘Text’ ช่วยผู้มีปัญหาการได้ยินบกพร่อง

แว่น AR เปลี่ยน ‘Talk’ เป็น ‘Text’ ช่วยผู้มีปัญหาการได้ยินบกพร่อง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในเวลานี้ กำลังมีการนำเทคโนโลยีเสริมจริง หรือ Augmented Reality หรือ AR มาใช้เพื่อเปลี่ยนบทสนทนาให้กลายเป็นตัวอักษร โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้ที่มีความบกพร่องด้านการได้ยินสามารถเข้าใจบทสนทนาที่เกิดขึ้นตรงหน้าได้ในทันที

จอช คิงสลีย์ คือ หนึ่งในผู้มีปัญหาการได้ยินบกพร่อม หลังสูญเสียการได้ยินตั้งแต่ตอนเด็กและเมื่อพูด ก็จะพูดไม่เต็มประโยค โดยปัจจุบัน จอชอาศัยอยู่กับครอบครัวของไมเคิลผู้ที่เป็นฝาแฝด และก็มีโอกาสได้ใช้งานแว่นตาจากบริษัท XRAI Glass ซึ่งเป็นแว่นที่ผสานเทคโนโลยี AR ทำหน้าที่เปลี่ยนคำพูดของคนรอบข้างให้กลายเป็นตัวอักษรคล้ายคำอธิบายภาพ และสิ่งนี้ก็ช่วยให้จอชใช้ชีวิตได้ง่ายมากขึ้น

การได้ลองสวมแว่นตานี้เป็นครั้งแรก สำหรับจอชถือเป็นประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมมาก และทุกคำที่เขาพูดปรากฏเป็นตัวอักษรบรรยายภาพราวกับปาฏิหาริย์

ไม่เพียงแต่แสดงผลคำพูดบนแว่นตาเท่านั้น แต่ซอฟท์แวร์ยังแปลคำพูดที่ได้ยินผ่านแว่น XRAI Glass แล้วส่งบทสนทนาที่เป็นตัวอักษรผ่านไปยังแอพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้อีกด้วย ซึ่งจอชได้ใช้งานลักษณะนี้เมื่ออยู่ในที่ประชุม

ไมเคิล เล่าว่า “มันสร้างโอกาสความเท่าเทียม อย่างในที่ประชุมที่มีคนประมาณ 50 ถึง 60 คน จอชจะไม่เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น และคนทั้งหมดก็ไม่สามารถมาอธิบายให้เขาเข้าใจได้ แต่เมื่อสวมแว่น AR ที่แปลบทสนทนาเป็นตัวอักษร ไม่ว่าจะอ่านผ่านหน้าจอบนแว่นหรือบนมือถือ จอชก็สามารถทำในสิ่งไม่เคยคิดว่าเขาจะทำได้”

พอล มีลลี ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท XRAI Glass กล่าวว่า ตนเองเติบโตมาพร้อมกับการเห็นคุณพ่อของเขาช่วยคนพิการหางานทำ

มีลลี เผยว่า “ผมเชื่อมาโดยตลอดว่า มันต้องมีหนทางที่จะสามารถนำคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีมาช่วยผู้พิการ ไม่ว่าจะมีความบกพร่องมากน้อยเพียงใด ความแตกต่างนั้นสามารถชดเชยได้ด้วยเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นตัวสร้างความเท่าเทียมที่ยิ่งใหญ่”

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท XRAI Glass นี้ยังชี้ว่า แว่นตา AR ไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินเท่านั้น แต่อุปกรณ์ดังกล่าวยังสามารถแปลได้หลากหลายภาษาในแบบเรียลไทม์ (real time) ได้ด้วย

นอกจากกรณีของผู้มีปัญหาการได้ยินแล้ว อุปกรณ์นี้ยังใช้งานได้ดีในสถานการณ์ที่การได้ยินหรือฟังเป็นเรื่องยาก เช่น ในร้านอาหารที่มีเสียงอื้ออึง ขณะที่ แว่นตานี้อาจนำไปใช้เพื่อประโยชน์ด้านความบันเทิงได้ด้วย อย่างเช่น ในโรงภาพยนตร์ หรือการชมโทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งการชมคลิปผ่าน YouTube เพราะแว่นนี้สามารถช่วยผลิตคำบรรยายให้กับผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดีเช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook