วิวัฒนาการเครื่องเล่นซีดี...และความทรงจำเก่าที่หายไป

วิวัฒนาการเครื่องเล่นซีดี...และความทรงจำเก่าที่หายไป

วิวัฒนาการเครื่องเล่นซีดี...และความทรงจำเก่าที่หายไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กว่าที่เราจะได้ฟังเพลงจากชุดเครื่องเสียงสเตอริโอราคาแพง จากเครื่องเล่นซีดี จากเครื่องเล่นแผ่นเสียง หรือแม้แต่เครื่องเล่น MP 3 หรือฟังผ่านมิวสิคสตรีมมิ่งแอปพลิเคชั่นอย่างทุกวันนี้ ทราบไหมว่ามันใช้เวลาพัฒนานานและต้องใช้มันสมองขนาดไหนกว่าเราจะได้ฟังอย่างมีความสุขเช่นนี้

istock-104388570
แผ่นซีดี ย่อมาจาก คอมแพ็กดิสก์ (อังกฤษ: compact disc) คือแผ่นจานแสง หรือดิสก์แสงเก็บข้อมูลดิจิทัลต่าง ๆ ซึ่งเดิมพัฒนาสำหรับเก็บเสียงดิจิทัล ซีดีคือมาตราฐานรูปแบบการบันทึกเสียงทางการค้าในปัจจุบัน

ในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. 1970 (ตรงกับ พ.ศ. 2513 ถึง 2522) นักวิจัยของบริษัทฟิลิปส์ ได้ใช้เทคโนโลยีของแผ่นเลเซอร์ดิสก์ มาทดลองสร้างแผ่นออฟติคอลสำหรับเก็บเสียงแต่เพียงอย่างเดียว โดยเริ่มแรกใช้วิธีการเข้ารหัสเสียงแบบ wideband FM และแบบ PCM ในระบบดิจิทัลในเวลาต่อมา ช่วงปลายทศวรรษ ฟิลิปส์ โซนี่ และบริษัทอื่น ๆ แสดงต้นแบบของแผ่นดิสค์ระบบเสียงดิจิตอล

ช่วงที่รุ่งเรืองของแผ่นคอมแพ็กดิสก์หรือแผ่นซีดี นั้นคือหลังการออกวางตลาดในปลายปี พ.ศ. 2525 ในเอเซีย และต้นปีถัดมาในที่อื่น ๆ เหตุการณ์นี้มักถูกมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติเสียงดิจิตอล แผ่นดิสค์เสียงแบบใหม่นี้ได้รับการยอมรับและคำชื่นชมในคุณภาพเสียง

จากเดิมที่ประดิษฐ์ขึ้นสำหรับบันทึกเสียง การใช้คอมแพ็กดิสก์ได้ขยายไปยังด้านอื่น ๆ สองปีต่อมา ใน พ.ศ. 2527 มีการออก แผ่นซีดีรอม (หน่วยความจำอ่านได้อย่างเดียว) ด้วยแผ่นแบบนี้เราสามารถเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์จำนวนมากได้ แผ่นซีดีที่ผู้ใช้สามารถเขียนเองได้ หรือ แผ่นซีดีอาร์ (CD-R) ก็ได้ปรากฏสู่สายตาต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2533 และกลายเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์และเพลงในปัจจุบัน ซีดีแบบต่าง ๆ ประสบความสำเร็จมาก โดยภายในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียวมีการจำหน่ายแผ่นซีดีเพลง ซีดีรอม ซีดีอาร์ ทั่วโลกกว่าสามหมื่นล้านแผ่น

istock-157588012

ในช่วงต้นทศวรรษ 2000 เครื่องเล่นซีดีได้เข้ามาแทนที่เครื่องเล่นเทปเสียงเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรถยนต์คันใหม่ โดยปี 2010 เป็นรุ่นสุดท้ายของรถทุกรุ่นในสหรัฐอเมริกาที่มีเครื่องเล่นเทปติดมาจากโรงงาน ในปัจจุบัน ด้วยความนิยมที่เพิ่มขึ้นของเครื่องเล่นเสียงดิจิตอลแบบพกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ และที่จัดเก็บเพลงแบบโซลิดสเตต เครื่องเล่นซีดีกำลังถูกเลิกใช้ในรถยนต์ เพื่อสนับสนุนมินิแจ็คอินพุตเสริมและการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ USB

ในขณะเดียวกัน ด้วยการถือกำเนิดและความนิยมของการกระจายไฟล์ทางอินเทอร์เน็ตในรูปแบบเสียงที่มีการบีบอัด แบบสูญเสียข้อมูลเช่น MP3 ยอดขายซีดีเริ่มลดลง ตัวอย่างเช่นระหว่างปี 2543 ถึง พ.ศ. 2551 แม้ว่ายอดขายเพลงโดยรวมจะเติบโตและเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติหนึ่งปี ยอดขายซีดีจากค่ายเพลงหลักก็ลดลงด้วยเช่นกัน ด้วยกลไกของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปทำให้คนหันมาฟังเพลงดิจิตอลแทน

ถึงเวลาหมดยุคของช่องใส่ Compact Disc

ส่วนหนึ่งของการถอดมาจากการที่แอปเปิลปรับเปลี่ยนดีไซน์และทำการถอดส่วน DVD Drive ในเครื่องโน๊ตบุ้คอันเป็นที่รักของเรานั้น ด้วยเพราะยุคนั้นคลาวด์ได้เกิดขึ้น + itunes + iPod  รวมไปถึงช่วงหลังคนหันมาใช้ Thumbdrive กันมากขึ้น เน็ตไวขึ้น หลังจากนั้นทำให้หลายๆ แบรนด์พากันปรับเปลี่ยนดีไซน์ของเครื่องโน๊ตบุ้ครุ่นใหม่ๆ ของตัวเองบ้าง ทำให้เราได้เห็นโน๊ตบุ้คที่บางลงพกพาได้ง่ายขึ้นแบบในปัจจุบันอย่าง MacBook Air นี่คือตัวอย่างที่ดีและมองเห็นได้ชัดเจน และอุตสาหกรรมเพลงได้มีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล Music Streaming” เต็มรูปแบบไปทั่วโลก

istock-92512776

“แต่ถึงกระนั้นแผ่นซีดีก็ยังมีลมหายของมันอยู่ ในแง่ที่ความเป็น Digital Format กับ Physical Format ยังอยู่คู่กันเช่น การออกอัลบั้มที่ remastering ในแบบ 24bits หรือ ที่กำลังมาคื อัลบั้ม ที่อยู่ในแผ่นซีดีที่เป็นแบบ mqa สำหรับนักเล่น hi-fi ระดับ hi-end และสถิติที่น่าสนใจคือ ยอดขายแผ่นซีดีในต่างประเทศเริ่มกลับมา หลังจากที่ vinyl เคยทำได้มาก่อน และแผ่นซีดีเพลงไทยที่นอกจากมีการ Remaster เพลงไทยยุค 90’ -millennium ก็ยังมีอัลบั้มใหม่ๆ ออกมาเช่นกัน แม้จะมีการผลิตออกมาในจำนวนจำกัด

istock-1184929265

สรุปก็คือ...แม้ว่า Music streaming จะคือคำตอบของยุคสมัย แต่เทคโนโลยีของแผ่นซีดีก็ยังมีพื้นที่อยู่ เพราะคุณค่าไม่ใช่แค่การฟัง แต่ยังมีช่วงเวลาที่ได้มีการเสพย์ศิลปะการออกแบบ และรายละเอียดภายในของคุณภาพเสียงและภาพปกที่ไม่สามารถหาได้จากแบบออนไลน์ และในตอนนี้ “เสน่ห์” ของเพลงไม่ว่าจะเป็นแผ่นเสียง,​ เทปคาสเซ็ท และซีดี กำลังกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ดังนั้นเทคโนโลยีเก่าบางอย่างก็ยังคงใช้คำว่าเก๋า แต่ต้องมีความ อิน กับใช้งานของคุณด้วยเช่นเดียวกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook