คิดก่อนทำ! แอบอ้างรูปผู้อื่น-สร้างเฟซบุ๊กปลอม เจอโทษหนัก!

คิดก่อนทำ! แอบอ้างรูปผู้อื่น-สร้างเฟซบุ๊กปลอม เจอโทษหนัก!

คิดก่อนทำ! แอบอ้างรูปผู้อื่น-สร้างเฟซบุ๊กปลอม เจอโทษหนัก!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรณีที่นักแสดงสาวชื่อดัง “จั๊กจั่น” อคัมย์สิริ สุวรรณศุข ถูกกล่าวหาว่าเป็น “โลกใบที่สอง” ของ “เค” วัฒนา เจริญศักดิ์วัฒนา แฟนหนุ่มที่กำลังจะเข้าพิธีแต่งงานกันในเดือนพฤษภาคมนี้เริ่มกระจ่างขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อ “ใลกใบแรก” ที่อดีตคนสนิทยืนยันว่ามีตัวตนจริง ๆ นั้นไม่มีอยู่จริง แต่กลับนำรูปคนอื่นมาแอบอ้างว่าเป็นภรรยาของแฟนจั๊กจั่น

นอกจากนี้ ยังส่งรูปไปให้สื่อหลายสำนัก เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือว่าเรื่องทั้งหมดมีมูลความจริง ก่อนจะโป๊ะแตกเมื่อถูกจับได้ว่ารูปที่ส่งไปนั้นไม่ใช่โลกใบแรกตัวจริง เพราะบุคคลนั้นเป็นที่รู้จักกันในสังคม และยังพบว่ามีคนตกเป็นเหยื่อถูกแหล่งข่าวรายนี้นำรูปไปแอบอ้างมากกว่า 1 คนด้วย!

istock-1249669064(1)

หากถามว่าผู้เสียหายที่ถูกนำรูปไปแอบอ้างในทางไม่ชอบ สามารถดำเนินคดีได้หรือไม่ คำตอบคือได้ เพราะมีกฎหมายต่าง ๆ ที่คุ้มครองในเรื่องนี้

มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา

จากกรณีดังกล่าวที่มีการนำรูปของผู้เสียหายมาโพสต์ พร้อมด้วยข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาท โดยสามารถเอาผิดได้ในข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ที่ระบุว่า

“ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”

แต่ในกรณีที่หมิ่นประมาทคนดัง และทำให้สูญเสียรายได้ สามารถฟ้องทางแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ได้เช่นกัน เพราะเป็นข้อความเท็จที่เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น จึงต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้น

มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

นอกจากนี้ การสร้างเฟซบุ๊กปลอมและลงรูปผู้อื่น พร้อมด้วยข้อความที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น ยังถือเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ตามมาตรา 16 ที่ระบุว่า

“ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท”

แต่ไม่ผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

หลายคนอาจสงสัยว่า ผู้เสียหายสามารถเรียกร้องเอาผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ได้หรือไม่ เพราะในพ.ร.บ.ดังกล่าวระบุว่าผู้อื่นไม่สามารถเก็บ ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนได้

แต่ในความเป็นจริงแล้ว จุดมุ่งหมายของการออกพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก็เพื่อป้องกันผู้ประกอบการนำข้อมูลส่วนตัวของเราไปแสวงหาประโยชน์โดยไม่ชอบ จึงไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะใช้กับบุคคลทั่วไป เพราะไม่ใช่กรณีที่เป็นเรื่องส่วนตัว จึงไม่ผิดพ.ร.บ.นี้แต่อย่างใด โดยมาตรา 4 (1) ของพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ระบุว่า

“พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อกิจกรรมในครอบครัวของบุคคลนั้นเท่านั้น ดังนั้น แม้ว่ารูปภาพจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ก็ไม่เข้าข่ายที่สามารถเอาผิดได้”

อัลบั้มภาพ 28 ภาพ

อัลบั้มภาพ 28 ภาพ ของ คิดก่อนทำ! แอบอ้างรูปผู้อื่น-สร้างเฟซบุ๊กปลอม เจอโทษหนัก!

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook