สหรัฐฯ เริ่มระงับการการขาย ”ชิป” ให้หัวเว่ย ตั้งแต่ 15 ก.ย. เป็นต้นไป

สหรัฐฯ เริ่มระงับการการขาย ”ชิป” ให้หัวเว่ย ตั้งแต่ 15 ก.ย. เป็นต้นไป

สหรัฐฯ เริ่มระงับการการขาย ”ชิป” ให้หัวเว่ย ตั้งแต่ 15 ก.ย. เป็นต้นไป
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนนี้เป็นต้นไป รัฐบาลสหรัฐฯ จะเริ่มบังคับใช้คำสั่งห้ามขาย เซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor) หรือ “ชิป” ให้บริษัท หัวเว่ย ของจีน ที่ต้องพึ่งพาชิ้นส่วนดังกล่าวในการผลิตสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาเครือข่าย 5G ซึ่งเป็นธุรกิจทำเงินของบริษัท​เทคโนโลยีสัญชาติจีนแห่งนี้

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศมาตรการลงโทษหัวเว่ยเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีผลห้ามไม่ให้ผู้ผลิต “ชิป” ไม่ว่าจากประเทศใดที่พึ่งพาเทคโนโลยีของสหรัฐฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของตนให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่นี้ หากไม่ได้รับเอกสารอนุญาตเป็นกรณีพิเศษ

gettyimages-645846630

ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บรรดาผู้ผลิต “ชิป” ในเกาหลีใต้และไต้หวันต่างออกมายืนยันว่าจะปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวของสหรัฐฯ และหยุดนำส่งผลิตภัณฑ์ของตนให้กับหัวเว่ยตั้งแต่วันอังคารนี้แล้ว

ขณะที่จีนพยายามก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำธุรกิจไฮเทคของโลก โรงงานในประเทศนี้ยังไม่มีความสามารถในการผลิตไมโครชิปด้วยตนเองมากพอที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และรายงานข่าวระบุว่า กระบวนการผลิตที่ก้าวหน้าที่สุดของจีนยังผลิตได้เพียงไมโครชิปแบบ 14 นาโนมิเตอร์ ซึ่งตามหลังเทคโนโลยีของซัมซุงและบริษัท Taiwan Semiconductor Manufacturing Company อยู่หลายรุ่น

และแม้ผู้ผลิตชั้นนำส่วนใหญ่จะตั้งอยู่นอกสหรัฐฯ สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ อุตสาหกรรมนี้ยังต้องพึ่งซัพพลายเออร์อเมริกันเพื่อช่วยผลิตสินค้าของตนอยู่ดี

สำหรับจีน รัฐบาลเพิ่งประกาศนโยบายชุดใหม่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อเป็นการตอบโตสหรัฐฯ และเน้นการขยายอุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของประเทศ ด้วยมาตรการอุดหนุนภายใต้แผนระยะยาว 5 ปี

รายงานข่าวระบุว่า หัวเว่ย ได้สั่งวัตถุดิบซิลิโคนที่มากพอสำหรับดำเนินธุรกิจต่อได้อีก 2 ปีมาไว้ในคลังเพื่อให้ตนอยู่รอดได้อีกระยะหนึ่งแล้ว ขณะที่บริษัท MediaTek ของไต้หวันเปิดเผยว่า ได้ยื่นเรื่องขออนุญาตรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อจะนำส่งสินค้าที่หัวเว่ยสั่งไว้ แม้หลังกฎใหม่จะมีผลบังคับใช้

นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่า แม้จีนจะมีปัญหาในระยะสั้นที่จะจัดการกับเรื่องนี้ แต่ในอนาคต สหรัฐฯ ไม่น่าจะหยุดจีนให้มุ่งพัฒนาเซมิคอนดักเตอร์แบบพื้นฐานด้วยตัวเองได้ และเมื่อมองต่อไปข้างหน้า จีนน่าจะมีความสามารถในการหาเทคโนโลยีมาทดแทนที่สหรัฐฯ และกลับมายืนหยัดได้อีกครั้ง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook