ประธานของสายผลิตภัณฑ์ 5G หัวเว่ย เผยเทคโนโลยี 5G จะสร้างมูลค่าใหม่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม

ประธานของสายผลิตภัณฑ์ 5G หัวเว่ย เผยเทคโนโลยี 5G จะสร้างมูลค่าใหม่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม

ประธานของสายผลิตภัณฑ์ 5G หัวเว่ย เผยเทคโนโลยี 5G จะสร้างมูลค่าใหม่ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ภายในงานประชุมออนไลน์ “Better World Summit” ประจำปี พ.ศ. 2563 จัดโดยหัวเว่ย เมื่อเร็วๆ นี้ นายริทชี่ เผิง ประธานของสายผลิตภัณฑ์ 5G บริษัท หัวเว่ย กล่าวเปิดงานในหัวข้อ “5G สร้างมูลค่าใหม่แก่ภาคอุตสาหกรรม” ว่า “เทคโนโลยี 5G เป็นพื้นฐานของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Digitalization)

ซึ่งเกิดขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานแบบเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้เกิดการแบ่งโครงข่ายแบบครบวงจร (End-to-End หรือ E2E) ทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพโครงข่ายเพื่อรองรับการนำไปประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมในรูปแบบต่างๆ ควบคู่กับการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI), การประมวลผลคอมพิวเตอร์ และแอปพลิเคชันต่างๆ ทั้งนี้ เทคโนโลยี 5G ยังช่วยภาคอุตสาหกรรมต่างๆ พัฒนาศักยภาพด้านการประหยัดพลังงาน สร้างมูลค่าและอัตราการเติบโตใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น” 

mr.ritchiepeng

นอกเหนือจากจะทำให้เกิดการผสานกันระหว่างภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เทคโนโลยี 5G ยังขยายการเชื่อมต่อทางดิจิทัลที่มีคนเป็นศูนย์กลาง เชื่อมต่อกับสิ่งต่างๆ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ 4 รูปแบบ ได้แก่

การให้บริการโครงข่ายที่หลากหลาย: นอกจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โครงข่าย 5G ยังมอบการเชื่อมต่อที่ดีกว่าให้กับบ้านเรือนทั่วไปและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรมที่หลากหลาย เช่น การถ่ายทอดสด (streaming) แบบไร้สายด้วยความคมชัดระดับ HD, การสื่อสารทางไกลเพื่อการแพทย์ (telemedicine), การควบคุมทางไกล (remote control) และอุตสาหกรรมการผลิตแบบอัจฉริยะ (smart manufacturing)

ศักยภาพที่ครอบคลุม: นอกจากแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย รวมถึงการดาวน์โหลดข้อมูล โครงข่าย 5G ยังรับรองแบนด์วิดท์ที่สูงขึ้นสำหรับการอัปโหลด การส่งข้อมูลที่มีความหน่วงต่ำ (low-latency) และความเสถียรที่ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหร้บการนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม ซึ่งต่อยอดจากการกำหนดความแม่นยำสูงและศักยภาพใหม่ด้านอื่นๆ

เทอร์มินัลที่หลากหลาย: ปัจจุบัน สมาร์ทโฟนทำงานในฐานะเทอร์มินัลหลักสำคัญสำหรับโครงข่าย 3G และ 4G เมื่อเทคโนโลยี 5G เริ่มเข้ามาเป็นจุดศูนย์กลาง จะมีอุปกรณ์หลากหลายชนิดมากขึ้นที่สามารถเข้าถึงโครงข่ายดังกล่าวได้ เช่น อุปกรณ์รับส่งสัญญาณสำหรับผู้บริโภค (CPE), กล้อง, ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับ (UAVs) เป็นต้น

มูลค่าการเชื่อมต่อที่มากขึ้น: นอกจากการให้ความสำคัญกับการให้คนและสิ่งต่างๆ เป็นจุดศูนย์กลาง การเชื่อมต่อ 5G จะไม่เพียงแต่มอบประสบการณ์การใช้งานชั้นยอดให้แก่ผู้ใช้ แต่ยังทำให้หลากหลายอุตสาหกรรมสามารถปรับวิธีการผลิตที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานดีขึ้น ทั้งยังมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีขึ้น ควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

การให้บริการโครงข่ายที่หลากหลาย บนรากฐานสถาปัตยกรรม 5G ที่เป็นหนึ่งเดียว

กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรคมนาคม 3GPP ได้พัฒนาสถาปัตยกรรมการจัดแบ่งโครงข่ายในรูปแบบ E2E (End-to-End) ที่ครอบคลุมทั้งโครงข่ายวิทยุ, โครงข่ายหลักและเทอร์มินัลต่างๆ โดยโครงข่ายที่ถูกแบ่งออกนี้สามารถสร้างขึ้น จัดการ และปฏิบัติการบนเครือข่ายเองได้โดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดโครงข่ายเสมือนแบบหลายทางบนโครงสร้างพื้นฐานของโครงข่ายเดียวกัน ทั้งนี้ โครงข่ายแต่ละส่วนต่างเป็นโครงข่ายแบบ E2E ที่แยกตัวออกมาอย่างสิ้นเชิงและถูกปรับเปลี่ยนตามความต้องการใช้งานที่หลากหลายสำหรับการนำไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรม

เอกสารตีพิมพ์ฉบับที่ 15 ของ 3GPP ได้ถูกนำไปใช้งานในเชิงธุรกิจแล้ว โดยให้ความสำคัญกับบริการต่างๆ ที่ต้องการใช้งานแบนด์วิดท์เป็นอย่างมาก เช่น การถ่ายทอดสดด้วยความคมชัดระดับ HD, การสื่อสารทางไกลเพื่อการแพทย์ (telemedicine) และความปลอดภัยสาธารณะ โดยสเปคล่าสุดของ 5G - 3GPP Release 16 จะเสริมศักยภาพของเทคโนโลยี 5G อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น ในด้านแอปพลิเคชันการสื่อสารที่มีความเสถียรระดับสูงและมีความหน่วงต่ำ (URLLC) โดยจะ
ทำให้เกิดแรงผลักดันใหม่ในการพัฒนาแอปพลิชันตามความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานเชิงอุตสาหกรรม เพื่อลดค่าใช้จ่าย เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พร้อมสร้างโอกาสใหม่ๆ แก่ผู้ให้บริการโครงข่ายเพื่อสร้างการเติบโตในตลาด

istock-1149885517

การพัฒนาอุปกรณ์ที่รวดเร็วและอีโคซิสเต็มที่กำลังเติบโต

จากการสำรวจล่าสุดโดยสมาคมผู้จัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือระดับโลก (GSA) มีจำนวนโมดูล 5G 49 โมดูลที่เปิดตัวแล้ว และกว่า 54% ของโมดูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2563 เนื่องจากจำนวนโมดูลของ 5G ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความหลากหลายของอุปกรณ์ 5G ในตลาดก็จะเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (CPE) สำหรับการใช้งานในระดับอุตสาหกรรม, กล่องเซ็ตท็อปบ็อกซ์ 5G (STB) และกล่อง T-Box สำหรับใช้งานในรถเพื่อเป็นเทอร์มินัลปล่อยสัญญาณ 5G

ปัจจุบัน อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ (CPEs) 5G เพื่อใช้ในอุตสาหกรรม ได้ถูกใช้สนับสนุนการปฏิบัติการทางไกลของเครื่องจักรในท่าเรือต่างๆ ในขณะที่กล้อง 5G ถูกนำไปใช้เพื่อการถ่ายทอดสดภารกิจวัดความสูงของยอดเขาจูมู่หลางหม่า (Qomolangma) ครั้งล่าสุด หรือเป็นที่รู้จักกันในนามยอดเขาเอเวอเรสต์ คาดการณ์ว่า 2 – 3 ล้านโมดูล 5G จะถูกนำไปวางตลาดในประเทศจีน และด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าตลาดขนาดใหญ่จะทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงเป็นอย่างมาก จึงคาดกันว่าราคาต่อชิ้นจะต่ำถึง 20 ดอลลาร์สหรัฐภายในปี พ.ศ.2564 ซึ่งจะเป็นตัวช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาการใช้งานเชิงอุตสาหกรรมอีกด้วย

การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมที่ถูกขับเคลื่อนโดย 5G เพื่อสรรสร้างมูลค่าใหม่

เทคโนโลยี 5G ได้มอบโอกาสมหาศาลให้แก่โครงข่ายมือถือ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าใหม่ให้แก่อุตสาหกรรมแนวดิ่ง (vertical industries) การผสาน 5G กับรูปแบบการใช้งานต่างๆ ในแนวดิ่งส่งผลให้เกิดเรื่องราวของความสำเร็จมากมาย

สำหรับท่าเรืออัจฉริยะ แบนด์วิดท์ระดับสูงและการส่งข้อมูลที่มีค่าความหน่วงต่ำของเทคโนโลยี 5G ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติการทำงานของเครน ซึ่งเปลี่ยนรูปแบบจากการปฏิบัติงานภายในพื้นที่สู่การควบคุมทางไกล และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายต้นทุนทางธุรกิจอย่างเห็นได้ชัด ในขณะเดียวกัน การปฏิบัติงานภายในพื้นที่ซึ่งมีผู้ควบคุมเครนได้เพียง 1 ตัวต่อ 1 คนเท่านั้น แต่การควบคุมทางไกลทำให้ควบคุมเครนได้ถึง 4 ตัวพร้อมกัน

นอกจากค่าใช้จ่ายด้านค่าแรงที่ลดลงกว่า 70% แล้ว เทคโนโลยีนี้ยังเพิ่มศักยภาพการจัดการสินค้าโดยรองรับตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้นจาก 25 ตู้เป็น 30 ตู้ต่อชั่วโมง และยังช่วยพัฒนาสภาพแวดล้อมการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้นด้วยการเพิ่มความปลอดภัยจากการลดความเสี่ยงการทำงานให้น้อยที่สุด

เทคโนโลยี 5G ยังประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้พลังงานรวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นับเป็นการส่งเสริมการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยโมดูล 5G มีศักยภาพรองรับจำนวนการเชื่อมต่อมากกว่าเทคโนโลยี 4G ถึง 50 เท่า ในขณะที่ใช้พลังงานในปริมาณที่เท่ากัน จึงมีประสิทธิภาพของพลังงานต่อบิทเพิ่มขึ้นถึง 50 เท่า

เทคโนโลยี 5G ช่วยให้การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมสามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในการให้บริการด้านสาธารณสุข เทคโนโลยี 5G ทำให้เกิดบริการด้านการให้คำปรึกษาทางไกล จึงลดจำนวนคนไข้ที่ต้องไปพบแพทย์ด้วยตัวเองแต่ไม่ได้ลดจำนวนของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาหรือทำให้คุณภาพการวินิจฉัยต่ำลง และด้วยจำนวนการเดินทางที่ลดลง การปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งเกิดจากการเดินทางมาพบแพทย์แบบวิธีเดิมจึงลดลงถึง 99.6%

นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนโดย 5G

นายเผิงชี้ให้เห็นความสำคัญของนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของโครงข่าย 5G ที่ได้ขยายขอบเขตการใช้งานไปสู่อุตสาหกรรมแนวดิ่งหลากหลายรูปแบบ เช่น โครงข่าย TDD ซึ่งเดิมถูกนำมาใช้เพื่อเสริมโครงข่ายมือถือคุณภาพสูง (eMBB) ช่วยเสริมความเร็วในการดาวน์โหลดมากกว่าการอัปโหลด อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่สามารถรองรับความต้องการใช้งานแบนด์วิดท์ระดับสูงที่ต้องการความหน่วงต่ำอันเกิดจากการที่ 5G ขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในอุตสาหกรรมได้

เพื่อรับมือกับปัญหานี้ หัวเว่ยพร้อมด้วยกลุ่มพันธมิตรในอุตสาหกรรมได้เปิดตัวนวัตกรรมโซลูชัน Super Uplink โดยโซลูชันแบบ E2E นี้ได้ใช้งานคลื่น TDD และ FDD เข้ามาเสริมการทำงานของการอัปโหลด ในขณะที่ลดค่าความหน่วง จนถึงปัจจุบัน นวัตกรรมนี้ได้ปรับเปลี่ยนทั้งการเชื่อมต่อกับคลื่นวิทยุและโครงข่ายหลัก ซึ่งจากการตรวจสอบที่จัดทำบนโครงข่ายที่ใช้งานจริงแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมนี้ทำให้ค่าความหน่วงลดลงกว่า 30% ในขณะที่ความเร็วของการอัปโหลดเพิ่มขึ้นถึงสี่เท่า เมื่อผสมกับแถบคลื่นความถี่ของการอัปโหลดที่เต็มรูปแบบ ระบบ TDD จะทำให้สามารถส่งต่อประสบการณ์การอัปโหลดด้วยความเร็วระดับกิกะบิตต่อวินาที (Gbps) ได้

นอกเหนือจากการให้ความสำคัญกับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี นายเผิงยังเสนอให้ภาคอุตสาหกรรม “ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยกันค้นหาโมเดลธุรกิจ มาตรฐานต่างๆ การสนับสนุนเชิงนโยบาย นวัตกรรมด้านแอปพลิเคชัน และความหลากหลายของอุปกรณ์ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตของการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างมูลค่าใหม่ๆ ให้แก่ภาคอุตสาหกรรม”

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook