"จุดนัดพบบนโลกเสมือนจริง" เส้นชีวิตทางสังคมในยุคแห่งโรคระบาด

"จุดนัดพบบนโลกเสมือนจริง" เส้นชีวิตทางสังคมในยุคแห่งโรคระบาด

"จุดนัดพบบนโลกเสมือนจริง" เส้นชีวิตทางสังคมในยุคแห่งโรคระบาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ก่อนนี้การประชุมทางไกลโดยใช้วิดีโอส่วนใหญ่ใช้สำหรับการประชุมในบริษัทองค์กรต่าง ๆ แต่ปัจจุบันวิธีนี้กลายเป็นเส้นชีวิตที่เราใช้เชื่อมโยงกับเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน และสมาชิกในครอบครัวที่แยกกันกักตัวอยู่ตามที่ต่าง ๆ

Madison Keesler และ Benjamin Freemantle ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกันในนครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ช่วยกันขนย้ายเฟอร์นิเจอร์และสัตว์เลี้ยงจากห้องนั่งเล่นเพื่อเตรียมตัวเต้นรำกับสมาชิกคนอื่น ๆ อีกหลายสิบคน ของคณะบัลเลต์ SanFranciscoBallet ซึ่งตอนนี้กักตัวเองอยู่ตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก

ตั้งแต่คำสั่งให้กักตัวเองอยู่ในบ้านมีผลบังคับใช้เมื่อสามสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะบัลเลต์ใช้วิธีคุยกันผ่านทางวิดีโอในชั้นเรียนของแต่ละวัน Keesler ซึ่งเป็นนักแสดงเดี่ยวของคณะบัลเลต์แห่งนี้กล่าวว่า ทุกคนในคณะบัลเลต์นี้เหมือนเป็นคนในครอบครัว การยกเลิกการแสดงอย่างกะทันหัน และการสูญเสียสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกวันรวมทั้งมิตรภาพที่ดีล้วนเป็นเรื่องที่ท้าทาย ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดการคุยกันผ่านวิดีโอก็ช่วยให้ได้พูดคุย ได้เห็นหน้ากันบ้างเล็กน้อย หลังจากที่ตื่นนอนขึ้นมา

Freemantle หัวหน้าคณะบัลเลต์ กล่าวว่า ชั้นเรียนเสมือนจริงที่ทางคณะได้เผยแพร่ออนไลน์ต่อสาธารณชนนั้น ช่วยบรรเทาทุกข์ให้แก่แฟน ๆ นับพันคนที่อดดูการแสดงที่ถูกยกเลิกไป ตอนนี้พวกเขาสามารถมองเห็นนักแสดงของตนได้อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะอยู่ในครัว ในห้องนอน หรือโถงทางเดิน คนส่วนใหญ่อยากจะรู้จักนักบัลเลต์ที่ตนชื่นชอบแต่ก็ไม่มีโอกาสในเวลาที่นักแสดงอยู่บนเวที ดังนั้น การทำเช่นนี้ช่วยให้ผู้คนได้รู้จักตัวตนที่แท้จริงของนักเต้นเหล่านั้นกันมากขึ้น

แฟนบัลเลต์คนหนึ่งเขียนไว้ว่า ความฝันของเธอเป็นจริงที่ได้เห็นตัวตนของนักบัลเลต์ที่เธอชื่นชอบ และยังได้เข้าร่วมชั้นเรียนกับคณะ SF Ballet จากที่บ้านอีกด้วย

นอกจากนี้แล้ว Virtual Meetups ยังช่วยให้เพื่อนเก่าสามารถเชื่อมต่อกันในรูปแบบใหม่

Lexine Alpert ได้ติดต่อพูดคุยกับกลุ่มนักเคลื่อนไหวสตรีที่เธอรู้จักมาตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 1980 ตอนที่เข้าร่วมกลุ่ม “Nuclear Beauty Parlor” ที่ซานฟรานซิสโก แต่ตอนนี้ทุกคนกระจายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปกติแล้วกลุ่มของเธอจะรวมตัวกันทุกสองปี แต่เมื่อเริ่มมีการเว้นระยะห่างทางกายภาพ พวกเธอกลับรู้สึกต้องการที่จะพบกันทุกสัปดาห์โดยใช้ Zoom

Alpert เล่าว่า ในการคุยกันผ่าน Zoom ครั้งล่าสุด มีเพื่อนหญิงสิบคนมาเข้าร่วม โดยส่วนใหญ่มีเครื่องดื่มที่ตนชื่นชอบอยู่ในมือ แต่ละคนจะพูดถึงประสบการณ์ของตนเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส และเล่าถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์นี้

ส่วน Louie Schwartzberg ผู้ใช้เวลาหลายเดือนในการสร้างภาพยนตร์สารคดีเรื่อง "Fantastic Fungi" โดยมีกำหนดฉายในโรงภาพยนตร์ของสหรัฐฯ และยุโรป ในวันที่ 26 มีนาคม แต่เมื่อมีคำสั่งให้ปิดโรงภาพยนตร์ เขาจึงต้องวางแผนการณ์ใหม่ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว

Schwartzberg เล่าวว่า ในเมื่อผู้คนไม่สามารถมาโรงภาพยนตร์ได้อีกต่อไป เขาจึงแก้ปัญหาด้วยการใช้วิธีการเปิดตัวภาพยนตร์เสมือนจริง โดยผู้คนสามารถเพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์ที่บ้าน และยังสามารถชมการถามตอบแบบสด ๆ กับคณะผู้เชี่ยวชาญของภาพยนตร์ และการเปิดตัวครั้งนี้มีผู้ร่วมชมภาพยนตร์ถึง 20,000 คน จาก 101 ประเทศ

Schwartzberg ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านการถ่ายภาพธรรมชาติ เล่าว่า การที่ได้เฝ้าสังเกตการณ์เห็ดต่าง ๆ ในภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของเขาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาสิบปี ทำให้เขาได้มีมุมมองเกี่ยวกับการรอดชีวิตจากภัยธรรมชาติ

หนึ่งในข้อคิดที่เขาได้หลังจากที่ชมภาพยนตร์จนจบก็คือ การอยู่รวมกันเป็นชุมชนย่อมเอาชีวิตรอดได้ดีกว่าอยู่คนเดียว และในภาวะการระบาดใหญ่เช่นนี้ เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้ชุมชนเหล่านั้นคงอยู่ต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook