รู้จัก Apps หมอชนะ อีกทางเลือกที่คนทั่วไปตรวจอาการโควิด-19 ด้วยตัวเองส่งผลให้หมอไร้การสัมผัส

รู้จัก Apps หมอชนะ อีกทางเลือกที่คนทั่วไปตรวจอาการโควิด-19 ด้วยตัวเองส่งผลให้หมอไร้การสัมผัส

รู้จัก Apps หมอชนะ อีกทางเลือกที่คนทั่วไปตรวจอาการโควิด-19 ด้วยตัวเองส่งผลให้หมอไร้การสัมผัส
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในสถานการณ์ของไงรัสโควิด-19 ทำให้หลายคนมีความเสี่ยงว่าจะติดโรคได้ง่าย รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่รักษาของพวกเรา ทำให้หลายองค์กรคิดค้นทางเลือกทำให้แพทย์ ลดความเสี่ยงหนึ่งในนั้นคือ Application หมอชนะ ที่น่าใช้งานมากอีกทางเลือกหนึ่ง Application หมอชนะเกิดจากความร่วมมือในหลายภาคส่วน เพื่อให้คนที่อยู่ที่บ้านนั้นสามารถได้รับความรู้และมากขึ้น  

ดร.อนุชิต อนุชิตานุกุล ได้เผยว่า ได้เห็นความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์ และได้ร่วมการทำงานในหลายหลายองค์กร สำคัญ ทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้าง Software เป็นแบบ Public นอกจากใช้งานแล้วต่อยอดใช้งานในอนาคต 

ประโยชน์ที่ได้รับ 

  • ผู้ป่วยไม่ถูกปฏิเสธการรักษาและมีข้อมูลพร้อม 
  • บุคคลทางการแพทย์จะได้รับประโยชน์ในเรื่องของการรับข้อมูล ผู้ป่วยได้ทันที  
  • ข้อมูลที่แม่นยำ หากเราติดเชื้อและระบบสามารถแจ้งเตือนว่า เท่ามีความเสี่ยงสูงได้ 
  • ข้อมูลที่เข้ามาสามารถจัดการในรูปแบบของการ Proactive และคาดการณ์ได้มากขึ้น 

แต่ทุกคนต้องให้ความร่วมมือกัน และโปรแกรมออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 way communication ได้แก่ 

Front End  

จะเป็นส่วนสำหรับข้อมูลของประชาชนที่เข้าไปบริจาคข้อมูลของตัวเอง

Back End 

โดยข้อมูลที่บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับ โดยนำข้อมูลไปวิเคราะห์ 

ความปลอดภัยของโปรแกรมมีจุดเด่น 

  • มีความปลอดภัยสูงเพราะลงทะเบียนแบบนิรนาม แสดงผลแบบไม่ระบุตัวตน 
  • จำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น จะทำให้มีฐานข้อมูลแน่นยำ และทำงานแบบ Realtime  

ระบบ Server ก็จะมีการแยกเก็บเป็นส่วนๆ ระหว่างการลทะเบียน โดยภาพจะเก็บบนมือถือ และบุคลากรทางการแพทย์จะนำไปประมวลผล 

ข้อมูลจะเก็บไว้ 30 วันล่าสุด และข้อมูลจะทำลายทิ้งและไม่ใช้ในเรื่องของอื่นนอกจากในเรื่องของ COVID-19 และจะมีการประมวลผลตรวจโดยบุคลากรทั้งหมด 9 คน  

Application หมอชนะ จะแบ่งกลุ่มผู้ใช้แบบ 4 สีได้แก่ ซึ่งเป็นแบบเดียวของกระทรวงสาธารณสุข

  • สีเขียว มีความเสี่ยงต่ำ
  • สีเหลือง ก็มีความเสี่ยงน้อย
  • สีส้ม ก็มีความเสี่ยง 
  • สีแดง คือกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงมาก

หมอชนะหมอชนะ

การกำหนดสีเป็นเรื่องที่อ่อนไหว จะต้องมีกฎเกณฑ์ที่จะต้องให้ผู้ใช้งานรู้ตัวคือ การปรับพฤติกรรม และทำให้เกิดความยืดหยุ่น มากขึ้น และระบบจะมีความการประเมินของสีส้ม, เหลือง, โดย Apps จะรองรับทั้ง Android และ iOS 

วิธีการใช้งาน Application หมอชนะ

เริ่มต้น ให้โหลดโปรแกรม ผ่านทาง Google Play Store (Android) และ Apps Store (iOS) วิธีใช้งานง่ายโดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน 

  1. ระบบจะขอเปิดทั้ง GPS และ Bluetooth

  2. ถ่ายภาพ

  3. อ่านข้อตกลงให้เรียบร้อย

  4. ให้เปิดแจ้งเตือนเพื่อหมอจะส่งการแจ้งเตือนให้คุณว่าควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร

  5. กรอกแบบสอบถามซึ่งจะมีไม่กี่ข้อ แต่สำคัญ เพราะ คุณต้องกรอกข้อมูลที่เป็นจริงเท่านั้น!!!

  • ระบบจะแสดงผลว่าเป็นข้อมูลเป็นสีอะไรที่ได้แจ้งไปขั้นตอน และแสดงผล QR Code คุณสามารถใช้ QR Code แสดงข้อมูลกับทางการแพทย์ได้เลย  

หมายเหตุ : แนะนำว่าข้อมูลกรอกต้องเป็นความจริง เผื่อเกิดท่านพบอาการ จะสามารถตรวจได้อีก และคุณสามารถวินิจฉัยตัวเองได้เรื่อย แต่แนะนำว่า ทำเมื่อคิดว่าจะเป็นหรือสักเดือนละครั้ง เพื่อเป็นการอัปเดต เฉพาะ สถานะ เขียว หรือ เหลือง เพราะแดง กับส้ม จะมีหน่วยงานติดต่อหรือหากเข้าสถานะดังกล่าว ควรไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาจะดีที่สุด

นอกจากสำรวจตัวเราเองได้แล้ว Application นี้ยังสามารถช่วยคุณตรวจและดูข้อมูลว่าคนที่คุณติดต่อสถานะการติดไวรัสเป็นอย่างไร ซึ่งแค่สแกนก็จะขึ้นคำแนะนำได้ 

ซึ่งข้อมูลทั้งหมด DDC iLab จะเป็น AI เพื่อทำให้ทีมสืบสวนโรคนั้นทำงานได้ดีมากขึ้นระบาดวิทยาได้ง่ายมากขึ้น ไม่ต้องออกไปพบปะกับใคร ทำให้แพทย์ปลอดภัยมากขึ้น ดังนั้นการใช้มือถือ และ Application ก็จะช่วยลดความเสี่ยงได้ และได้ข้อมูลที่ทำให้วิเคราะห์และรักษาได้ทัน 

DDC iLab เป็นโปรแกรมสำหรับกรมควบคุมโรค ที่สามารถดูข้อมูลรายชื่อผู้ติดเชื้อ ได้โดยทีมสอบสวนโรค จะได้เห็นทุกวัน และสามารถหาเส้นทางการสำรวจโรคที่ละเอียดมากขึ้น ข้อมูลนำมาจาก Application หมอชนะ และ อื่นๆ ในอนาคต ซึ่งเป็นฐานข้อมูลของกรมควบคุมโรค

ดังนั้น Application หมอชนะ ก็เป็นตัวช่วยที่สำคัญและแนะนำให้คนประชาชนทั่วไปควรจะใช้งานปิดท้ายด้วยการถามตอบดังนี้ 

คำถาม : ข้อมูลที่ตรวจจะมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน 

คำตอบ : ความน่าเชื่อถือต้องอยู่กับประชาชนที่ต้องกรอกข้อมูลตามความจริง 

คำถาม : การเก็บข้อมูลของ Apps อยู่นานแค่ไหนและเผยแพร่ต่อไหม 

คำตอบ : เก็บแค่ 30 วัน หลังจากนั้นทำลายทิ้งไม่มีการเผยแพร่ออก 

คำถาม : ถ้าจบเรื่องของโควิด 19 จะยุติการทำไหม 

คำตอบ : ยุติแค่ Application แต่ว่า ถือว่าเป็นเรื่องของการเปิดสัญญาประชาคมก็จะเกิดความร่วมมืออีกในอนาคต 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook