ทำความรู้จัก "แอพพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ 5G" โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์

ทำความรู้จัก "แอพพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ 5G" โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์

ทำความรู้จัก "แอพพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่  5G" โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 26 มิถุนายนของทุกปี ตรงกับวันคล้ายวันเกิดของ "พระสุนทรโวหาร" หรือ "สุนทรภู่" กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ่เป็นผู้สร้างสรรคบทความ วรรณกรรม กลอนต่าง ๆ ที่มีความไพเราะ และได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกในด้านวรรณกรรม

พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่

วัดเทพธิดารามวรวิหารแห่งนี้เคยเป็นที่พำนักของสุนทรภู่ กวีเอกแห่ง กรุงรัตนโกสินทร์ระหว่าง พ.ศ. 2383 - 2385 เมื่อคราวบวชเป็นพระภิกษุ ปัจจุบันยังมีกุฏิหลังหนึ่ง เรียกว่า บ้านกวี เปิดเป็น พิพิธภัณฑ์ ซึ่งหลายๆท่านอาจรู้จักชื่อของวัดเทพธิดารามอย่างคุ้นเคยแต่ก็ยังมีอีกหลายท่านที่ยังไม่ทราบว่าภายในวัดแฟ่งนี้นั้นมีความสำคัญเพียงใรและไม่ทราบว่าภายในวัดก็มีพิพิธภัณฑ์ที่ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ ด้วยซึ่งพิพิธภัณฑ์นี้ถูกลดความสำคัญและลืมเลือนไปเนื่องจากขาดการประกาศให้ประชาชนได้รับรู้ เมื่อการรับรู้ของประชาชนลดน้อยลงจึงทำให้ขาดการสนับสนุนทางด้านการโปรโมทพิพิธภัณฑ์ จนถึงปัจจุบัน

untitled-4

 แนวคิดการแปรรูปพิพิธภัณฑ์สู่แอพพลิเคชันในยุค 5G

จากที่กล่าวมาทางทีมงานวิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เล็งเห็นถึง Pain-Point นี้จึงได้เลือกที่จะพัฒนาแอพพลิเคชั่นในการให้ความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ โดยในแอพพลิเคชั่นจะมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับวัด เช่นประวัติความเป็นมาและความสำคัญของวัดและพิพิธภัณฑ์ , วิธีการเดินทางมาวัดเทพธิดาราม, จุดเด่นของวัด เป็นต้น อีกทั้งผู้ใช้สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์มีจำนวนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ทุกปีจนส่วนแบ่งการตลาดเกือบจะ 100% ทำให้ได้รับความนิยมในวงกว้างจนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นสื่อมาตรฐานในทุกกลุ่มเป้าหมาย มีรูปแบบการเข้าถึงสะดวกและเข้าใจง่ายแต่ก็ยังมีความท้าทายในการพัฒนาในส่วนของการนำข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันมาเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดเป็น Smart Museum และ Smart City ขึ้นมา ทีมพัฒนาจึงรวมกลุ่มกันเพื่อระดมสมองและจินตนาการในการแก้ไขปัญหาที่พบ จึงเลือกบูรณาการพัฒนาแอพพลิเคชั่น Sunthonphu Museum ด้วยอาษาเฟรมเวิร์คในครั้งนี้

untitled-5

แอพพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ ประวัติศาสตร์มีชีวิต บนสมาร์ทโฟน

ในที่สุดทางผู้พัฒนาก็ได้แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ที่มีการนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาปรับใช้ให้ทันสมัยและสามารถเข้าถึงได้ง่าย ทุกสถานที่ ทุกเวลาโดยแอพพลิเคชั่นนี้ได้ผ่านการสร้างสรรค์จากกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมกับนวัตกรรม(Cultural Technology, CulTech) จึงเกิดเป็นแอพพลิเคชั่น “ Sunthonphu Museum ” ขึ้นมาและแอพพลิเคชั่นนี้ถือได้ว่าเป็นโปรเจกต์ Startup ที่เรียนรู้ผ่าน ARSA Education Machine* ในส่วนหนึ่งของวิชา HIM496 การออกแบบเเอนิเมชั่นและสื่อดิจิทัล (DESIGN FOR ANIMATION AND DIGITAL MEDIA) ของผศ.ดร อาษา ตังจิตสมคิด ภายใต้หน่วยงานสถาบันอาษา

ทางกลุ่มของเรานั้นได้เริ่มทำแอพพลิเคชั่นนี้โดยได้รับการปรึกษาจากอาจารย์อาษา โดยอาจารย์ได้มีจุดประสงค์เพื่ออยากให้เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม การสร้างแอพพลิเคชั่นด้วยตนเองรวมถึงการส่งแอพพลิเคชั่นของเราไปประกวด ถ้าหากเราสนใจที่จะประกวดซึ่งการทำแอพพลิเคชั่นนี้นอกจากจะได้ความรู้จากที่อาจารย์สอนแล้วนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสมประสบการณ์ของเราทุกคนในกลุ่มเพราะความรู้ที่ได้สามารถนำไปใช้ได้ในขีวิตจริงที่นำไปสู่ Start up การสร้างธุรกิจแนวใหม่และทางกลุ่มของเรานั้นได้ทำการประชุมและลงมือทำแอพพลิเคชั่นนี้ร่วมกับพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดารามวรวิหาร

ตัวแอพพลิเคชั่นเองนั้นมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลในส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่โดยภายในตัวแอพหน้าหลักจะประกอบไปด้วยประวัติความเป็นมาข้อมูล แกลลอรี่ ที่ตั้ง และบทกลอนซึ่งหน้าหลักนี้เป็นหน้าที่เราสามารถกดเลือกว่าเราต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับอะไร นอกจากนี้ทางกลุ่มของเรานั้นเล็งเห็นว่าควรทำเป็นสองภาษาเพื่อที่จะได้ทั่วถึงกับทุกคนทุกชาติจึงได้ทำข้อมูลทุกอย่างในส่วนของภาษาอังกฤษไว้ด้วยเช่นกัน

หน้าจอหลักของแอพพลิเคชั่นนี้เป็นหน้าที่สามารถกดไปยังข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่ประวัติความเป็นมา ข้อมูล แกลอรี่ ที่ตั้ง และบทกลอน ซึ่งเมื่อเรากดไอค่อนไหนก็จะไปยังหน้านั้นๆขึ้นอยู่ที่เราเลือกว่า ต้องการศึกษาอะไร นอกจากนี้ในมุมล่างซ้ายมือเป็นไอค่อนปุ่มโฮมที่เมื่อเรากดจะกลับไปหน้าแรกสุดคือ หน้าการเลือกภาษา และในมุมล่างขวาเป็นไอค่อนที่บอกว่าผู้ให้ข้อมูลคือใคร

untitled-6

หน้าจอเลือกภาษาว่าต้องการภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์มีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ การมีภาษาที่รองรับชาวต่างชาติได้ ย่อมดึงดูดให้ชาวต่างชาติสนใจในประวัติศาสตร์ไทย

untitled-7_1

หน้าข้อมูลสําคัญมีทั้งหมด 3 ส่วน ส่วนแรกคือหน้าประวัติความเป็นมา โดยเป็นหน้าที่บอก ประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ว่าตั้งอยู่ที่ไหน และมีพิพิธภัณฑ์นี้ได้อย่างไร

untitled-8

ส่วนที่สองคือข้อมูล โดยข้อมูลนี้หมายถึงการอธิบายเบื้องต้นว่าพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่คืออะไร และ มีทั้งหมดกี่ห้องให้เข้าชม และในหน้าถัดๆไปก็จะเป็นการเจาะลึกเกี่ยวกับห้องแต่ละห้องว่าคืออะไร ภายในมีอะไรบ้าง

untitled-9

ส่วนที่สามคือที่ตั้ง ที่ให้ที่ตั้งเป็นหนึ่งในข้อมูลสําคัญเพราะว่าการระบุที่ตั้งชัดเจน และบอกวิธีการ เดินทางที่หลากหลายจะทําให้มีผู้เข้าชมมากยิ่งขึ้นจากหลากหลายการเดินทางทําให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น และยิ่งมีแผนที่ด้วยยิ่งทําให้สังเกตได้มากขึ้น

untitled-10

บทสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการกับพระอาจารย์ยศวริศ สุปญโญ พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 ทางกลุ่มของเรานั้นได้ทำการนำเสนอแอพพลิเคชั่นนี้ให้กับทางพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม อย่างเป็นทางการกับพระยศวริศ สุปญโญ หลังจากที่ทำการส่งมอบอย่างเป็นทางการ ทางกลุ่มเราจึงได้ขออนุญาตในการสัมภาษณ์เกี่ยวกับความคิดเห็นในแอพพลิเคชั่นของเราว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยบทสัมภาษณ์เป็นไปดังนี้

นักศึกษา: ความรู้สึกหลังจากได้ทดลองใช้แอพพลิเคชั่นแล้วเป็นอย่างไรบ้างเจ้าคะ

พระอาจารย์: “หลังจากที่อาจารย์ได้ลองใช้แล้วก็มีการให้ความรู้ดี สมควรที่จะเอาไปเผยแผ่ให้กับประชาชน กับคนที่มาเยี่ยมชม ทำให้คนได้รู้จักกับสุนทรภู่มากขึ้น ในส่วนของอาจารย์จะนำแอพพลิเคชั่นนี้ไปเผยแผ่อีกทางหนึ่ง ก็คือว่าเราจะได้ถ่ายทอดเกี่ยวกับชีวประวัติของสุนทรภู่ คนจะได้รู้ว่าวัดเทพธิดารามคือท่านเคยอยู่ที่นี่ ท่านเคยบวชที่นี่หรือว่าท่านได้ทำอะไรหลายๆอย่างให้กับวัดเทพธิดาราม ให้คนทั่วไปได้รู้จัก โดยนักศึกษาก็ได้ทำประโยชน์ร่วมกันแก่สังคมโดยการร่วมกับพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม ก็คือการทำผลงานทางแอพพลิเคชั่นนี้ขึ้นมา อาจารย์ก็ขออนุโมทนานะครับกับสิ่งที่นักศึกษาตั้งใจทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์แล้วก็ให้กับสังคมได้ทราบในสิ่งที่นักศึกษาได้มาทำกันที่นี่”

untitled-3

รายชื่อผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น Sunthonphu Museum

นางสาวปริมประภา ติณะมาศ ตำแหน่ง Developer
นางสาวพลอยกมล พิชัญเธียรชัย ตำแหน่ง Creative
นางสาวปฤณ มุ่งประสิทธิชัย ตำแหน่ง Creative
นางสาวนพเก้า ขันมณี ตำแหน่ง Information
นางสาวนัทธมน ปิ่นทอง ตำแหน่ง Information

ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Sunthonphu Museum สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Google PlayStore

ข่าวประชาสัมพันธ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook