ทำความรู้จัก "แอปแอปโรงละครแห่งชาติ" โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์

ทำความรู้จัก "แอปแอปโรงละครแห่งชาติ" โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์

ทำความรู้จัก "แอปแอปโรงละครแห่งชาติ" โดยนักศึกษาธรรมศาสตร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรงละครแห่งชาติ (The National Theatre) เป็นโรงละครแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ พระบวรราชวัง (เดิม) ข้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงพระบรมมหาราชวัง   

เดิมกรมศิลปากร รับโอนกิจการ โขน ละคร และดนตรี จากสำนักพระราชวัง มาดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 แต่เดิมยังไม่มีโรงละครแห่งชาติ มีแต่โรงแสดงของกรมศิลปากร

ซึ่งเป็นหอประชุมเก่าของกรมศิลปากร เป็นอาคารสร้างด้วยไม้หลังคามุงด้วยสังกะสี ตั้งอยู่ด้านขวาของพระที่นั่งศิวโมกขพิมานอันเป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ปรับปรุงหอประชุมขึ้นใหม่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก หอประชุมกรมศิลปากร เป็น "โรงละคอนศิลปากร" 

2

โรงละครแห่งชาติทำพิธีเปิดเป็นทางการในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2508 โดยมี จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกอบพิธีเปิด โดยได้รับพระเมตตาจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลปไทยในวโรกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งชาติ ในคืนวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2508 ซึ่งได้มีการจัดแสดงรวม 3 ชุด คือ 1.รำดอกไม้เงินดอกไม้ทองถวายพระพร 2.การแสดงละครเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนชุบสังข์ศิลป์ชัย 3.โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด รามาวตาร ซึ่งนับเป็นปฐมฤกษ์ของการดำเนินกิจการโรงละครแห่งชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

จากสถานที่สำคัญของชาติสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นแอปในยุค 5G

โปรเจกต์ “RONGLAKHON” แอปพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ที่ทันสมัยและสามารถเข้าถึงได้ทุกคนจากการสร้างสรรค์ของทีมงานภายใต้ชื่อ Guarantee A เป็นการนำเอานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้กับการประชาสัมพันธ์และแจ้งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรงละครแห่งชาติเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้นและเท่าทันกับเวลาในยุคของ 5G และสอดรับกับนโยบายขอรัฐบาลที่จะสร้างประเทศให้เป็น SmartCity และก่อให้เกิดการท่องเที่ยวแบบ SmartTravel ซึ่งการสร้างแอปในครั้ีงนี้เป็นความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยนวัตกรรม สาขาวิชาการจัดการมรดกวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ
โปรเจกต์นี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิชา HIM496 การออกแบบแอนิเมชั่นและสื่อดิจิทัล (DESIGN FOR ANIMATION AND DIGITAL MEDIA) เรียนรู้ด้วยกระบวนการ ARSA Education Machine กับสถาบันอาษาโดยผศ.ดร.อาษา ตังจิตสมคิด 

ทางทีม Guarantee A ได้เริ่มโปรเจกต์นี้จากการผลักดันทางความคิดของอาจารย์อาษา ที่สนใจให้นักศึกษาได้เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานจริงโดยมีความคิดตั้งต้นถึงการทำแอปพลิเคชันเพื่อนำไปสู่การเป็น “Start-up” ธุรกิจแนวคิดใหม่โดยการสร้างสรรค์ไอเดียแปลกใหม่และสามารถใช้ได้จริง ซึ่งทีม Guarantee A ได้มีการประชุมความคิดและเลือกหน่วยงานที่ต้องการประสานงานจัดทำแอปพลิเคชันผ่านแอนดรอยด์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นช่องทางในการกระจายข้อมูล ข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ รวมถึงเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้ที่มีความสนใจทางด้านศิลปวัฒนธรรม จึงนำความรู้ความสามารถทักษะในการออกแบบและเขียนโปรแกรมมาใช้ในการทำแอปพลิเคชันและมีจุดประสงค์ในการอนุรักษ์และเผยแพร่วัฒนธรรมโดยผ่านโรงละครแห่งชาติจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการร่วมมือกับหน่วยงานดังกล่าวฯเพื่อฃทำแอปพลิเคชันให้เกิดขึ้นแบะใช้งานได้จริงในยุค 5G

แนะนำแอปโรงละครแห่งชาติ

ภายในแอปพลิเคชันมีเป้าหมายในการนำเสนอข้อมูลของโรงละครแห่งชาติเป็นหลัก ภายในตัวแอปพลิชันก็จะมี 4 ฟังก์ชันให้เลือกใช้งาน ฟังก์ชันแรกคือ ข้อมูลประวัติของโรงละครแห่งชาติที่มีการอัพเดทใหม่อยู่ตลอด เพื่อให้ผู้ที่ใช้ได้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและครบถ้วน ฟังก์ชันที่สองคือ เรื่องการแสดงที่โรงละครแห่งชาติเลยใช้ ฟังก์ชันสามคือลักษณะเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ประเภทต่างๆ และอย่างสุดท้ายคือปฏิทินแสดง เราจะบอกไว้เลยว่าในแต่ละเดือนวันไหนบ้างที่โรงละครมีการจัดแสดง หรือวันไหนบ้างที่มีกิจกรรมให้ผู้ชมสามารถเข้าร่วมได้

54

บทสัมภาษณ์คุณสลิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรีเชี่ยวชาญ โรงละครแห่งชาติ

6


เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2561 ที่ผ่านมา ทางกลุ่ม Guarantee A ได้มีการส่งมอบแอปพลิเคชันเพื่อการประชาสัมพันธ์ให้แก่โรงละครแห่งชาติอย่างเป็นทางการ โดยมีผู้แทนรับมอบคือ คุณสลิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรีเชี่ยวชาญ และนางสาวอาทิตยา อิสสรานุสรณ์ ตำแหน่งผู้ประสานงาน ตัวแทนฝ่ายนักศึกษาเป็นผู้ส่งมอบแอปพลิเคชัน ทั้งนี้หลังจากการส่งมอบแอปพลิเคชันจะสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ทางผู้แทนรับมอบ คุณสลิต อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้มีการพูดคุยสอบถามรายละเอียดตลอดจนการใช้งานแอปพลิเคชัน มีการสัมภาษณ์ความคิดเห็นในการจัดทำแอปพลิเคชันในครั้งนี้ และกล่าวคำขอบคุณแก่ตัวแทนนักศึกษาที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของโรงละครแห่งชาติ จนได้จัดทำและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อประชาสัมพันธ์โรงละครนี้ขึ้นมา และปิดท้ายการส่งมอบแอปพลิเคชันด้วยการถ่ายรูประหว่างคุณสลิต อิศรางกูร ณ อยุธยา และนักศึกษา

Q: สิ่งที่คาดหวังจากแอปพลิเคชันในครั้งนี้คืออะไร

A: “การที่จะมีแอปพลิคเคชันที่สามารถเล่นบนมือถือได้ ทำให้การประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงละครแห่งชาติง่ายขึ้นและ เป็นการตอบโจทย์ผู้ชมโดยทั่วไป ซึ่งแต่ละคนมีอุปกรณ์มือถือส่วนตัวอยู่แล้วครับ”

Q: แอปพลิเคชันนี้มีประโยชน์อย่างไรกับโรงละครแห่งชาติ

A: “เป็นช่องทางในการเผยแพร่กิจกรรม โดยเฉพาะปฏิทินการแสดงประจำปีของโรงละครแห่งชาติและก็ข่าวสารต่างๆนะครับ ที่เราจะสามารถประชาสัมพันธ์ได้ทันทีผ่านช่องทางนี้ ซึ่งทำให้ผู้ชมสามารถติดต่อโดยตรงได้”

Q: คิดอย่างไรบ้างที่มีนักศึกษาช่วยในการจัดทำแอปพลิเคชันของโรงละครแห่งชาติ

A: “อันนี้เป็นเรื่องดีมากเลยครับ เพราะว่าถ้าเกิดเราไม่ได้ใช้นักศึกษาเราจะมีปัญหาในการจะต้องจัด
จ้างบริษัท software house ที่มีค่าใช้จ่ายสูงนะครับ และมีนักศึกษาอาสาสมัครทำให้เราก็จะแก้ปัญหาด้านงบประมาณ และความรวดเร็วไปได้”

Q: หลังจากที่ได้รับชมแอปพลิเคชั่นนี้ มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง

A: “แอปพลิเคชันนี้ที่สำคัญ คือมันใช้ง่ายนะครับ ประเด็นที่สำคัญที่สุดของผู้ใช้ตอนนี้คือใช้ง่าย
เราไม่ต้องการความซับซ้อนมาก และก็การให้ข่าสารจะต้องตรงและเร็ว และตอบโจทย์เฉพาะสิ่งที่ผู้อ่านและผู้ใช้รู้ก็พอแล้ว”

Q: ถ้าเกิดจะมีการปรับปรุงแก้ไขแอปพลิเคชั่น  อยากให้พวกเราปรับปรุงตรงไหนบ้าง

A: “ผมคิดว่าข้อแรกคือ น่าจะเป็นความซับซ้อนทางเทคนิคมากกว่านะครับ เช่น เราอาจจะปรับได้
Real time แต่มันต้องผูกกับ Server เพราะฉะนั้นมันจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายต่อไปครับ”

 

สามารถดาวน์โหลดแอพได้ ที่นี่

ดูข้อมูลเพิ่มเติมและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ที่https://sarosworld.com/site3/nationaltheater/

ข่าวประชาสัมพันธ์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook