พูดคุยกับ ชวัล เจียรวนนท์ ผู้บริหารหนุ่มแห่งแอปติวเตอร์ 24 ชั่วโมง Snapask (Thailand)

พูดคุยกับ ชวัล เจียรวนนท์ ผู้บริหารหนุ่มแห่งแอปติวเตอร์ 24 ชั่วโมง Snapask (Thailand)

พูดคุยกับ ชวัล เจียรวนนท์ ผู้บริหารหนุ่มแห่งแอปติวเตอร์ 24 ชั่วโมง Snapask (Thailand)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันจำนวนมากและหลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละกลุ่มผู้ใช้ วันนี้เราจะพามารู้จักกับ Snapask ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในแอปน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวและมีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะทำหน้าที่เป็นเสมือนติวเตอร์ 24 ชั่วโมง ที่เด็กไทยควรจะมีติดไว้

ทีม Sanook! Hitech ได้มีโอกาสพูดคุยกับผู้บริหารหนุ่ม ไฟแรงอย่างคุณชวัล เจียรวนนท์ หรือ คุณริชชี่ CEO ของ Snapask (Thailand) ถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับตัวแอปและมุมมองต่อแวดวง Edutech จะมีอะไรน่าสนใจบ้างตามมาดูกันเลย

สืบเนื่องจากคุณใช้นามสกุล “เจียรวนนท์” ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการใหญ่ ทำไมถึงเลือกทำ Startup ?

"จริงๆ แล้วถ้าเข้าไปใน CP หรือ True ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัวก็สามารถทำได้ แต่เนื่องจากผมไม่ได้สนใจในเรื่องการบริการจุดนั้น และเหมือนทางคุณพ่อ ที่สนใจกิจการในรูปแบบอื่น และ Startup ก็เป็นสิ่งที่ผมสนใจตั้งแต่แรก และมีคนเก่งที่สามารถดำเนินการต่อได้อยู่แล้ว" 

"และอีกอย่างคือ Startup จะต้องทำงานไว และจะต้องมีแนวความคิดใหม่ ทีมของ Snapask อายุน้อยและมีแนวคิดเป็นของตัวเอง ก็เลยทำให้เกิดความท้าทายในการจัดการเพื่อหาความสำเร็จ และไม่ได้ใช้ทุนจากบริษัทในครอบครัว เช่น การจัดงานแถลงข่าวใน True Digital Park ก็เป็นการออกเงินเองทั้งหมด"

วัฒนธรรม การทำงานของ Snapask ประเทศไทย เป็นอย่างไร ?

"การทำงานใน Snapask ประเทศไทย จะเน้น Value ร่วมกันว่าจะเดินหน้าและทำงานอย่างไรให้สำเร็จ ไม่ได้มองว่าคนใดคนหนึ่งจะต้องได้แต่เพียงฝ่ายเดียว" 

คุณมองธุรกิจด้าน Edutech ในปัจจุบันอย่างไร ?

"ถ้ามองในปัจจุบันในกลุ่มธุรกิจแบบ Edutech ค่อนข้างหลากหลายและมีการซอยประเภทออกเยอะมาก ซึ่งผู้ใช้ปัจจุบันก็ยังสามารถเลือกได้ทั้งแบบออนไลน์ หรือการสอนแบบออฟไลน์ แต่สุดท้ายจะต้องรวมกันเป็น Big Platform ที่รวมหลายอย่างเข้าด้วยกัน เช่น ถ้าดูวิดีโอเป็นการสื่อสารแบบ One-way Communication ก็จะทำให้เรียนรู้เพียงแค่ด้านเดียว อาจจะยังไปใช้แก้ปัญหาได้ไม่มากพอ"  

"และ Snapask เองก็ไม่ได้ไปตีกับการเรียนพิเศษแบบเดิม แต่เป็นการเพิ่มเติมในเวลาทำการบ้าน เปรียบเหมือนกับบริการของอเมริกาที่มีชื่อว่า Chegg ซึ่งถือว่าเป็น Big Player ในด้านแอปในการเรียนรู้ของประเทศนั้น" 

ในฐานะ Startup มองว่าจะมีคู่แข่งที่เข้ามาในกลุ่มเดียวกับ Snapask หรือไม่ และจะรับมืออย่างไร ?

"อีกสูตรหนึ่งที่จะทำให้ Startup สำเร็จคือ ความเร็วในการขยายตัว ซึ่งตอนนี้ Snapask มีการจับระหว่างติวเตอร์และนักเรียน ซึ่งก่อนหน้านี้ในสิงคโปร์ มีการก็อปปี้แอปของเราไปเลย และมีการมาตั้งราคาที่ถูกกว่า และแข่งกันไปเลย แต่สุดท้ายเมื่อเราเข้าตลาดก่อน และเด็กชอบก่อน และมี Service ที่ดี ก็จะเกิดความได้เปรียบขึ้น" 

จุดแข็งของ Snapask ที่คู่แข่งไม่มีในประเทศไทย ?

"สำหรับในประเทศไทย เทคโนโลยี Snapask มีการใช้เทคโนโลยีอัลกอริทึมที่พัฒนามา 4 ปี ซึ่งทำให้เกิดความเร็วในการจับกลุ่มและติวเตอร์ และความถูกต้องกับเรื่องที่ผู้ถามควรจะรู้  Ecosystem ยังไม่มีปัญหา เพราะมีการจัดหาติวเตอร์และมีการวัดคุณภาพ เรียกได้ว่ายังไม่เกิดปัญหา"

Snapask ใช้อะไรในการคัดติวเตอร์ ?

"เรื่องนี้ไม่สามารถเปิดเผยและเจาะลึกลงไปในรายละเอียดได้ แต่ในเบื้องต้น Snapask จะมีการคัดจากข้อมูลข้างในที่มีการสมัคร เช่น ในการส่งเอกสาร และมีการต่อยอดเรื่องระบบวิเคราะห์ติวเตอร์และการจัดการ จะมีการตรวจสอบว่าเด็กอยากเรียนรู้และพูดคุยหรือไม่ เท่ากับ IQ และ EQ ของติวเตอร์จะต้องดี"

อนาคต Snapask จะมีติวเตอร์ที่อยู่ยาวๆ ไหม ?

"ตอนนี้ Snapask ยังไม่ได้ถึงกับ mass เพราะเป้าหมายของปีนี้คือ มีผู้ใช้ 1 ล้านคนในระบบ แต่อนาคตจะต้องมีอย่างแน่นอน"

ฟีเจอร์ Q&A อนาคตจะมีรูปแบบคำตอบเป็นวิดีโอหรือไม่ ?

"การทำวิดีโอนั้นไม่ยาก แต่จริงๆ ฟีเจอร์ Q&A ต้องการทำเป็นแบบการสอนแบบรวดเร็ว เมื่อทำเป็นวิดีโออาจจะเหมาะกับกลุ่มการเรียนจำนวนมากกว่า 1:1 และถ้าเป็นวิดีโอมันจะต้องเป็นไปในทางที่ปรับพื้นฐานของผู้เรียนให้เข้าใจมากขึ้น" 

เนื่องจากคุณเคยเป็นนักกีฬาทีมชาติมาก่อน ทำไมถึงมีแรงบันดาลใจไปในทิศทางนั้นด้วย ?

"จริงๆ ผมเล่นกีฬามาตั้งแต่เด็กในหลายแบบ และสมัยที่ไปเรียนที่อเมริกา ก็มีกีฬาให้เลือกตามฤดู Ice Hockey ก็เป็นหนึ่งในกีฬาที่เลือกในฤดูหนาว ซึ่งดูแล้วเร้าใจดี และตกหลุมรักกีฬานี้ แต่ไม่อยากทำเป็นอาชีพ และอยากทำธุรกิจที่ Impact ต่อสังคมและมีประโยชน์ แต่สำหรับกีฬา เป้าหมายถึงจุดที่เป็นนักกีฬาทีมชาติก็พอแล้ว แต่จริงๆ ก็เล่นอยู่ เพียงแต่เมื่อทำงานเต็มเวลาก็จะไม่มีเวลาให้เล่น"

การขยายกิจการของ Snapask ไปยังตลาดอื่น ?

"ยังคงต้องรวม Service ที่เป็นอาณาจักรการศึกษาหลังเลิกเรียนให้ได้ก่อน ซึ่งทั้งไต้หวันและฮ่องกง ตอนนี้สามารถรวมได้ และในเอเชียเป็นอีกโจทย์หนึ่ง"  

Startup กับธุรกิจแบบเก่าจะไปด้วยกันได้หรือไม่ ?

"จากที่ได้ลงไปดูกิจการของติวเตอร์ หรือการเรียนพิเศษแบบเดิม พอมีการนำเสนอแนวคิดของ Snapask ไป ทำให้ติวเตอร์เกิดอยากนำ Solution มาใช้ร่วมกับการเรียนเพื่อเสริมทำให้เด็กเข้าใจได้ เท่ากับมีช่องว่างที่นำมาเสริม ทำให้ใช้งานร่วมกัน"

Snapask จะช่วยพัฒนาการศึกษาในประเทศไทยอย่างไร ?

"จริงๆ ผมเองตกใจ ในการเรียนที่ต่างจังหวัด คุณภาพในการศึกษาไม่เท่ากับเรียนในกรุงเทพฯ เช่น คุณภาพของครู แต่ Snapask ไม่ได้มาแทนอาจารย์ แต่มาช่วยเติมจุดบอดของการเรียนในส่วนที่ครูอาจจะไม่ได้สอน และเป็นการทำให้สอนยาวขึ้นมาหน่อย ประมาณ 15-30 นาที หรือฟีเจอร์ Academy ที่ออกมาสำหรับการเรียนรู้แบบสั้นๆ ที่กำลังจะเปิดให้บริการ" 

ทำไม Startup ไทยควรจะขยายตัวไปตลาดโลก ?

"Startup คือเรื่องของการขยายตัว ถ้าอิ่มตัวในตลาดไทยแล้ว แต่ว่ามีธุรกิจที่ขยายตัวในตลาดโลกได้ก็ควรจะไปดีกว่าในเรื่องของตลาดโลก เช่น ถ้าพัฒนาแอปก็มีโอกาสที่จะเติบโตมาก"

คิดว่าการทำ Startup ท้าทายกับตัวเราไหม ในวัยเพียง 24 ปี  ?

"เทียบกับเรื่องของประสบการณ์ อาจจะยังไม่ได้มากเท่าไหร่ แต่บริษัทไม่ได้มีแค่ CEO แต่จะต้องหาคนที่มีวิสัยทัศน์ และคนที่มีประสบการณ์ในสิ่งที่เราจะทำ รวมไปถึงตัว Product เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า" 

จากการพูดคุยกันในครั้งนี้ก็ได้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารหนุ่มคนนี้อย่างรอบด้านและชัดเจน และเชื่อว่าหาก Snapask ยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ในฐานะเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนจนได้รับความนิยมในวงกว้าง ก็จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อวงการการศึกษาไทย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook