สื่อสังคมออนไลน์ร่วมปราบปรามข่าวปลอม

สื่อสังคมออนไลน์ร่วมปราบปรามข่าวปลอม

สื่อสังคมออนไลน์ร่วมปราบปรามข่าวปลอม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สื่อสังคมออนไลน์หลายแห่ง ออกมาตรการต่อสู้กับข่าวปลอมที่แพร่สะพัดในทุกแพลตฟอร์ม ที่มีจุดประสงค์ในการนำเสนอข้อมูลที่บิดเบือนเพื่อจุดประสงค์กับผู้รับสารบางกลุ่ม

สื่อสังคมออนไลน์ เฟสบุ๊ก เคลื่อนไหวในการจัดการกับข่าวปลอม ด้วยการใช้เทคโนโลยีและทีมงานหลายพันคนช่วยกันสอดส่องตรวจจับข่าวปลอมที่มีเป้าประสงค์นำเสนอข่าวไปยังบุคคลเฉพาะกลุ่มบนเฟสบุ๊ก ส่วนทวิตเตอร์ เข้าจัดการบ็อท หรือบัญชีปลอมที่ใช้นำเสนอข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง และ Youtube ของบริษัทกูเกิล ได้วางระบบอัลกอริทึ่มสำหรับตรวจจับเนื้อหาวิดีโอที่เข้าข่าย

นอกจากนี้ เฟสบุ๊ก ยังร่วมมือกับ FactCheck.org ในการตรวจสอบข้อมูลที่บิดเบือนในเฟสบุ๊กและเว็บไซต์สื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ โดยจะมีนักข่าวจากทางหน่วยงานเข้าไปตรวจสอบ ก่อนจะรายงานบนเว็บไซต์ FactCheck.org ว่าเนื้อหาเหล่านั้นถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งนำเสนอข้อมูลการตรวจสอบดังกล่าวกับทางเฟสบุ๊กอีกทางหนึ่ง เพื่อให้เฟสบุ๊กใช้มาตรการกดดันกลุ่มที่นำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงต่อไป

บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ต่างได้รับแรงกดดันให้มีความรับผิดชอบด้านจริยธรรมเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลที่ชี้นำไปในทางที่ผิด โดยเฉพาะเนื้อหาที่มีกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจง แต่ก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยออกมากล่าวหาบริษัทเหล่านี้ว่าทุ่มเทน้อยมาก ในการดูแลจัดการเรื่องข่าวปลอม และเรียกร้องให้บริษัทเหล่านี้มีความรับผิดชอบต่อเนื้อหาที่ได้รับการเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ของแต่ละบริษัท

อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตเหล่านี้ไม่มีความรับผิดชอบตามกฏหมายสำหรับเนื้อหาที่เผยแพร่บนแพลตฟอร์ม เนื่องจากไม่ได้เป็นผู้เผยแพร่ ตามกฏหมายรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เมื่อปี ค.ศ. 1996 ซึ่งกฏหมายได้รับการยืนยันในฐานะเป็นเครื่องช่วยปกป้องเสรีภาพในการแสดงความเห็นอย่างเสรีบนสื่อออนไลน์

(เรียบเรียงบทความจาก Michelle Quinn โดยนีธิกาญจน์ กำลังวรรณ)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook