พ.ร.บ. ข่าวกรองแห่งชาติ 2562 บังคับใช้แล้ว อาจสามารถดักล้วงข้อมูลได้ คนละส่วนกับ พ.ร.บ. ไซเบอร์

พ.ร.บ. ข่าวกรองแห่งชาติ 2562 บังคับใช้แล้ว อาจสามารถดักล้วงข้อมูลได้ คนละส่วนกับ พ.ร.บ. ไซเบอร์

พ.ร.บ. ข่าวกรองแห่งชาติ 2562 บังคับใช้แล้ว อาจสามารถดักล้วงข้อมูลได้ คนละส่วนกับ พ.ร.บ. ไซเบอร์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สดๆ ร้อนๆ บังคับใช้แล้ว พ.ร.บ. ข่าวกรองแห่งชาติ 2562 แต่ก่อนอื่นขอบอกว่า ไม่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ไซเบอร์ ที่เป็นประเด็นไป (และทางเราได้ข้อมูลความจริงเจาะลึกของ พ.ร.บ. ไซเบอร์เช่นกัน เดี๋ยวจะมาเขียนให้อ่านนะครับ มาเข้าเรื่องด่วนกันก่อน)

มาดูว่ามีอะไรเด่นๆ ใน พ.ร.บ.นี้บ้าง

มาตราที่ 6  “อาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดส่งข้อมูลหรือเอกสารที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติภายในระยะเวลาที่ผู้อำนวยการกำหนด” มาตราที่ 12 “ให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติจัดให้มีศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “ศป.ข.” เป็นหน่วยงานภายใน เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานกิจการการข่าวกรองการต่อต้านข่าวกรอง” มาตราที่ 13 ให้ ศป.ข. มีหน้าที่และอำนาจในการ ติดตาม ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง รวมทั้งรายงานข่าวประจำวัน ข่าวเร่งด่วน ข่าวเฉพาะกรณี เฝ้าระวังภัยคุกคามความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในภาวะปกติและช่วงที่มีสถานการณ์ ช่วงเทศกาลที่สำคัญ พระราชพิธี และการประชุมหรืองานพิธีการที่สำคัญของรัฐ ให้ความรู้และประสานความร่วมมือด้านการข่าวกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งประชาชน แต่มาตรา 6 มีขยายความจุดนึงอันนี้น่าสนใจมาก

สำนักข่าวกรองแห่งชาติ “อาจดำเนินการด้วยวิธีการใด ๆ รวมทั้งอาจใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องโทรคมนาคม หรือเทคโนโลยีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวได้”

ตรงนี้ทำให้เกิดการวิจารณ์กันว่า อาจสามารถทำการดักข้อมูล หรือเจาะระบบเพื่อให้ได้ข้อมูลได้ แต่ว่าก็มีการระบุว่า “เงื่อนไขในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยความเห็นชอบ ของนายกรัฐมนตรี รวมถึงต้องระบุระยะเวลา วิธีที่ใช้ และเหตุผล และเยียวยาผลกระทบต่อบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้สามารถอ่าน พ.ร.บ. นี้ฉบับเต็มได้ที่นี่

อ้างอิง: ประชาไท

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook