“กราฟฟีน” กุญเเจสำคัญของเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 5G

“กราฟฟีน” กุญเเจสำคัญของเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 5G

“กราฟฟีน” กุญเเจสำคัญของเครือข่ายการสื่อสารไร้สาย 5G
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เเม้ว่ากราฟฟีนจะมีขนาดจิ๋วมากโดยหนาเพียงเเค่หนึ่งอะตอม เเต่ก็เป็นวัสดุที่มีความเเข็งเเกร่งมากกว่าเหล็ก กราฟฟีนเป็นสื่อนำไฟฟ้าเเละความร้อนที่ดี หลายคนเชื่อว่านี่จะเป็นวัสดุที่แปลงโฉมหน้าเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย

ศาสตราจารย์คอนสแตนติน โนโวเซลอฟ (Konstantin Novoselov) เเห่งมหาวิทยาลัยเมืองเเมนเชสเตอร์ ที่ชนะรางวัลโนเบลในฐานะหนึ่งในผู้ค้นพบกราฟฟีน กล่าวว่า การใช้งานที่ยอดเยี่ยมอย่างหนึ่งของกราฟฟีนคือการสื่อสาร เพราะเป็นวัสดุใสเเละสามารถส่งสัญญาณข้อมูลผ่านวงจรใยเเก้วที่มีความรวดเร็วแและมีประสิทธิภาพอย่างเหลือเชื่อ

ศาสตราจารย์โนโวเซลอฟ กล่าวว่า กราฟฟีนช่วยปรับให้การแปลงสัญญาณเข้าสู่ระบบใยเเก้ว และเขาเชื่อว่าไม่มีวัสดุใดๆ ที่มีคุณสมบัติเเบบเดียวกันนี้ ทำให้การใช้งานในการสื่อสารไร้สายยุคใหม่เป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้นมาก ในขณะที่เป็นการใช้งานที่เกิดขึ้นได้จริงๆ

กราฟฟีนมีน้ำหนักเบา จึงสามารถนำไปผสมเข้ากับทุกสิ่งทุกอย่างได้ตั้งเเต่รองเท้าไปถึงเสื้อผ้าเเละรถยนต์ ซึ่งช่วยเพิ่มความเเข็งเเกร่ง ความยืดหยุ่นเเละความเป็นอัจฉริยะ

เเละคุณสมบัติของกราฟฟีนในการส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็วนี่เอง ที่จะกลายเป็นส่วนที่ทำให้เครือข่ายสื่อสารไร้สายระบบ 5G ที่มีความเร็วสูงมาก ที่กำลังจะออกมาใช้ในอนาคตอันใกล้มีความเป็นไปได้

ศาสตราจารย์โนโวเซลอฟ กล่าวว่า เริ่มเเรกกราฟฟีนถูกนำไปใช้งานเป็นส่วนผสมของวัสุดผสม อย่างสินค้ากีฬา รถยนต์ทันสมัย เเละตอนนี้ก็กำลังจะเข้าไปมีบทบาทด้านอุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ กราฟฟีนยังช่วยสร้างความเป็นไปได้ในการผลิตเแผงโซลาร์ที่มีประสิทธิภาพสูง

ศาสตราจารย์โนโวเซลอฟ กล่าวว่า เราจะได้เห็นการใช้งานกราฟฟีนที่น่าสนใจมากขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในสาขาไบโอเทคโนโลยี เเละเทคโนโลยีการกรองผ่านเนื้อเยื่อเมมเบรน ซึ่งยังเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นเเละต้องใช้เวลาในการพัฒนา

ศาสตราจารย์โนโวเซลอฟ กล่าวว่า วงจรของกราฟฟีนมีความละเอียดอ่อนสูงมาก วัสดุขนาดบางเท่าหนึ่งอะตอมนี้สามารถอ่านเเละร่างแผนที่กิจกรรมของสมองได้ เเละส่งข้อมูลไปยังเเพทย์หรือมือถือในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินทางการเเพทย์

 

(เรียบเรียงโดยทักษิณา ข่ายแก้ว วีโอเอภาคภาษาไทยกรุงวอชิงตัน)

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook