ทำความรู้จัก "Dark Web" ต้นตอข่าวสะเทือนขวัญดีเจสาวทำร้ายลูกแมว
กำลังเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมากที่สุดในตอนนี้สำหรับกรณี ข่าวของ ดีเจสาวขอรับไปเลี้ยง 27 ตัว คาดเอาไป "ฆ่า" ถ่ายคลิปแลกบิทคอยน์
จากประเด็นดังกล่าวทำให้หลายๆ คนเริ่มมีคำถามเกี่ยวกับ Dark Web ที่ข่าวได้ระบุว่าเป็นเว็บไซต์ที่ดีเจสาว ได้ถ่ายคลิปแลกบิทคอยน์
วันนี้เรามีบทความของ "ซู่ชิง" หรือ จิตต์สุภา ฉิน พิธีกรสาวสวยมากความสามารถแห่งวงการไอทีเมืองไทยมาให้ได้อ่านกัน ซึ่งได้โพสต์ข้อความให้ความรู้เรื่องนี้ไว้ใน Facebook ซู่ชิง Jitsupa Chin ไว้ว่า
"ข่าวเรื่องน้องแมวที่มีคนรับไปเลี้ยงและฆ่าเพื่อถ่ายโชว์ให้ชาวต่างชาติบน Dark Web ได้ดูกำลังเป็นที่พูดถึงกันมากตอนนี้ หลายๆ คนอยากรู้ข้อมูลมากขึ้น ซู่ชิงก็เลยขอหยิบบทความที่เกี่ยวกับ Dark Web ที่เคยตีพิมพ์ลงมติชนรายสัปดาห์มาให้อ่านกันเผื่อว่าจะทำให้เราเข้าใจมุมมืดของอินเทอร์เน็ตนี้กันมากขึ้น และอาจจะทำให้เรารู้ว่าถึงมันจะดูไกลตัว แต่จริงๆ มันอาจจะใกล้ตัวกว่านั้น และเราอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของดาร์ค เว็บ ไปแล้วโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยก็ได้"
ขอไม่ตัดทอนความยาวนะคะ แต่อยากให้ลองอ่านให้จบค่ะ
ตบท้ายด้วยข่าวล่าสุดที่สร้างความงุนงงให้บังเกิดยิ่งกว่า ทราบไหมคะว่า เซลฟี่ที่เรายกกล้องขึ้นถ่ายหน้าตัวเองกันเนี่ย เขาก็ซื้อขายกันบนดาร์ค เว็บ ด้วย!
"บริษัทซิกซ์กิลล์ บริษัทสัญชาติอิสราเอลที่ทำหน้าที่ในการสำรวจดาร์ค เว็บ พบว่ามีการลงข้อมูลขายบนดาร์คเว็บภาษารัสเซีย ซึ่งเป็นข้อมูลที่ประหลาดจากปกติ เพราะคำประกาศขายระบุว่านอกจากข้อมูลล็อตนี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลส่วนตัวของบุคคล อย่างเช่น บัตรประชาชน หนังสือเดินทาง ที่อยู่ แล้ว ก็ยังมีภาพ “เซลฟี่” รวมอยู่ในนั้นด้วย ถือว่าเป็นการพบเห็นการค้าขายเซลฟี่บน ดาร์คเว็บ เป็นครั้งแรกเลยทีเดียว
แล้วเอาเซลฟี่ไปทำอะไร? ถ้ามีแค่ภาพเซลฟี่เฉยๆ ก็อาจจะไม่ได้มีประโยชน์อะไรมากมาย แต่เมื่อเอาไปรวมกับข้อมูลอื่นๆ ก็อาจจะทำให้ก่ออาชญากรรมขึ้นมาได้ ลองนึกดูนะคะว่าตอนนี้ธนาคารบางแห่ง หรือแม้แต่ธุรกิจประเภทอื่นๆ อย่างเช่นการเปิดหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือการจะเปิดบัญชีกับบางเว็บไซต์ ฯลฯ ให้ลูกค้าส่งภาพถ่ายบัตรประชาชน พร้อมกับภาพถ่ายหน้าของตัวเอง (ซึ่งก็คือเซลฟี่นั่นแหละค่ะ) เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน ธนาคารเริ่มทำแบบนี้เพราะต้องการลดต้นทุนของการเปิดสาขาตามที่ต่างๆ ทำให้คนมาใช้บริการออนไลน์แทน ซึ่งจะระบุตัวตนผ่านทางออนไลน์ได้ก็ต้องใช้เซลฟี่ร่วมด้วย
ซิกซ์กิลล์บอกว่าแม้จะยังไม่สามารถระบุที่มาได้ว่าข้อมูลและเซลฟี่เหล่านี้ถูกแฮ็กมาจากไหน แต่ก็ให้ความเห็นว่าวิธีที่ง่ายที่สุดที่จะหยิบเซลฟี่มาได้ ก็คือการขโมยมาจากโทรศัพท์ที่ติดมัลแวร์ วิธีถัดไปก็อาจจะเป็นการแฮ็กเข้าไปในเว็บไซต์ที่เก็บข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เหล่านี้ ตามที่เรามักจะได้ข่าวกันอยู่เรื่อยๆ ว่าเว็บนั่น เว็บนี่ ถูกแฮ็ก และข้อมูลของผู้ใช้งานกี่แสนกี่ล้านคนถูกขโมยไปนั่นแหละค่ะ
ในกรณีเซลฟี่ถูกนำไปขายนี้ ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าไม่ต้องกังวลไปว่าต่อไปนี้จะโพสต์ภาพตัวเองบนโซเชียลมีเดียอย่างเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรมไม่ได้อีกแล้ว แต่ให้เพิ่มความระมัดระวังเวลาจะยืนยันตัวตนออนไลน์ด้วยการส่งเอกสารและภาพถ่าย ถามคำถามให้แน่ชัดว่าจะยืนยันไปเพื่ออะไร คุ้มค่าหรือไม่ และแนะนำว่าอย่าถ่ายภาพตัวเองถือหนังสือเดินทาง อย่ามีภาพของบัตรที่ระบุตัวตนของเราเก็บไว้ในโทรศัพท์เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลเหล่านี้ถูกขโมยไปหากวันหนึ่งโทรศัพท์เกิดติดมัลแวร์ขึ้นมา
กำลังคิดว่า “ทำไมโลกเราถึงอยู่ยากขึ้นเรื่อยๆ ขนาดนี้เนี่ย” ใช่ไหมคะ? ไม่ผิดหรอกค่ะ เพราะมันอยู่ยากขึ้นจริงๆ ภัยทางดิจิทัลใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การที่เราจะใช้เทคโนโลยีมาอำนวยความสะดวกให้ชีวิต ก็ต้องยอมรับว่ามันจะมาพร้อมกับข้อแลกเปลี่ยนของการต้องคอยศึกษาหาข้อมูลเพื่อป้องกันตัวเองแบบไม่หยุดหย่อนด้วย ซู่ชิงพาไปทัศนศึกษาดาร์ค เว็บ เพื่อให้ได้เห็นภาพเหล่านี้ชัดขึ้น ไม่ต้องตระหนก แต่เพิ่มความระมัดระวัง ตั้งข้อสงสัยให้มากขึ้นเมื่อทำอะไรก็ตามบนอินเทอร์เน็ต"
หายใจลึกๆ แล้วกลับออกมาสู่โลกอันสว่างสดใสกันได้แล้วค่ะ
>> สัตวแพทย์ชี้ชัด ชันสูตรแมวตายผิดธรรมชาติ หางและอวัยวะหายไป
>> "ดาร์คเว็บ" คืออะไร แล้วทำไมต้องทำร้ายทารุณสัตว์
>> กลุ่มคนรักแมวแฉ! ดีเจสาวขอรับไปเลี้ยง 27 ตัว คาดเอาไป "ฆ่า" ถ่ายคลิปแลกบิทคอยน์