ทำความรู้จัก "น้องไบรท์" แชมป์บินโดรนวัย 18 อีกหนึ่งกำลังเล็กๆ ในการค้นหา "ทีมหมูป่า 13 ชีวิต"

ทำความรู้จัก "น้องไบรท์" แชมป์บินโดรนวัย 18 อีกหนึ่งกำลังเล็กๆ ในการค้นหา "ทีมหมูป่า 13 ชีวิต"

ทำความรู้จัก "น้องไบรท์" แชมป์บินโดรนวัย 18 อีกหนึ่งกำลังเล็กๆ ในการค้นหา "ทีมหมูป่า 13 ชีวิต"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

แชมป์บินโดรนวัย 18 ทุ่มสุดตัว เข้าร่วมค้นหาทีมหมูป่า 13 ชีวิต “เผยภูมิใจสิ่งที่ชอบ สามารถช่วยผู้อื่นได้”

จากเหตุการณ์ ทีมหมูป่า รวม 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย ทำให้เห็นความร่วมมือร่วมใจกันจากทุกภาคส่วน ที่เข้าร่วมปฏิบัติการค้นหาเยาวชนทั้ง 12 และอีก 1 โค้ช ของทีมฟุตบอลหมูป่าอะคาเดมีแม่สาย กันอย่างต่อเนื่อง ทุกฝ่ายต่างทุ่มแรงกายแรงใจค้นหาทั้ง 13 ชีวิตอย่างสุดกำลังความสามารถเลยจริงๆ

ไม่เว้นแม้แต่ นายณัชธกฤษณ์ สาระไชย หรือน้องไบรท์ อายุ 18 ปี นักศึกษาชั้นปี 1 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ดีกรีแชมป์บินโดรนระดับประเทศ ที่อาสาเข้าร่วมภารกิจค้นหา 13 ชีวิตที่ติดอยู่ในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย โดยใช้โดรนเข้าช่วยทำการค้นหาในครั้งนี้

ทีมงานแบไต๋ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ นายณัชธกฤษณ์ สาระไชย หรือ น้องไบรท์ ว่า

  • ประสิทธิภาพของโดรนที่ใช้คือรุ่นไหน // เหมาะสมกับพื้นที่ หรือมีข้อจำกัดอย่างไรบ้าง??
  • และส่วนตัวคาดมาก่อนไหมว่า…จะได้นำความสามารถของตัวเองมาใช้ในการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างเช่นเหตุการณ์ในครั้งนี้

น้องไบรท์ก็บอกเล่ากับทางทีมงานแบไต๋ว่า 

  • โดรนที่ใช้หลัก ๆ มี 2 ลำครับ 1.dji mavic pro ลำนี้จะเป็นโดรนขนาดเล็กพกพาสะดวก ใช้ในเวลาเผื่อเจอช่องหรืออะไรที่แคบ ๆ ก็จะใช้ลำนี้ในการบิน จะได้สะดวกในการบังคับผ่านสิ่งกีดขวางเผื่อต้องบินลงไปในพื้นที่แคบหรือพื้นที่มีขนาดเล็กครับ

  • ส่วนลำที่ 2 คือ dji phantom 4 pro v.2 ลำใหม่ล่าสุดในตอนนี้เลยครับ เป็นลำหลักที่นำขึ้นบิน โดยโดรนลำนี้ได้รับการสนับสนุนจาก วช.คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เพื่อมอบให้กับกรมอุทยานโดยเฉพาะเลยครับ ก็คือโดรนลำนี้มอบให้อุทยานไว้ปฏิบัติภาระกิจเลย ส่วนข้อดีของโดรนลำนี้ก็จะมีลำขนาดกลางจะสู้ลมได้ดีกว่าตัว mavic pro และระบบซอฟต์แวร์ของตัวเครื่องกับกล้องที่เป็นรุ่นใหม่ล่าสุด มีความคมชัดที่สุด เราจึงนำลำนี้มาถ่ายทำแผนที่ให้กรมอุทยานครับ เพราะอุทยานใช้แผนที่จาก google map มันเป็นแบบเก่าเราจึงสร้างแบบ real time ขึ้นมาให้ใหม่เลย บวกกับความคมชัดของภาพจากโดรนรุ่นใหม่ตัวนี้ และยังสามารถนำมาทำเป็นแผนที่สามมิติเพื่อที่จะได้รู้ความชัน ความลึกของภูเขา เพื่อที่จะสามารถทำให้กรมอุทยานทำงานได้ง่ายขึ้นอีกด้วยครับ

น้องไบรท์ เล่าถึงหน้าที่หลัก ๆ ของตนเองว่า “ในภารกิจนี้ ผมขึ้นตรงกับกรมอุทยานครับ ทำหน้าที่ 1.บินสำรวจ 2.ทำแผนที่ 3.ส่งข้อมูลภาพทางอากาศแบบเรียลไทม์ และที่สำคัญเลยคือ…เราสอนจนเจ้าหน้าที่กรมอุทยานสามารถบินโดรนเองได้แล้วครับ (ยิ้ม)

“แต่ข้อจำกัดคือ โดรนทุกลำถูกล็อคความสูงไว้ที่ 500 เมตร หมดทุกลำครับ เป็นไปตามกฎการบิน และสถานที่ที่เราบินเป็นภูเขาสูง 1100-1300 เมตร เราจึงต้องขึ้นไปบนดอยอีกลูก(ดอยผาหมี)ที่สูงกว่าหรือเท่ากันเพื่อบินข้ามมาปฏิบัติภาระกิจครับ”

“ส่วนเรื่องที่มาของแชมป์บินโดรนระดับประเทศนั้น น้องไบรท์ เผยว่า “ตัวผมก็แข่งขันในรายการหนูน้อยจ้าวเวหาของทาง ThaiPBS ครับ ซึ่งจะมีการแข่งขันโดรน

โดยจะเน้นให้ปฏิบัติภาระกิจต่าง ๆ และพอมาเกิดเหตุการณ์จริงแบบนี้ ทำให้รู้เลยครับว่าการแข่งขันที่ผมผ่านประสบการณ์มามันได้เอามาใช้ในการบินครั้งนี้หมดเลย มันทำให้เรามีทักษะการบินที่ง่ายขึ้น ปฏิบัติภาระกิจการช่วยเหลือได้เร็วขึ้น และก็ภาคภูมิใจครับว่าสิ่งที่เราเล่นสิ่งที่เราชอบมันสามารถนำมาช่วยเหลือผู้อื่นได้ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมครับ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook