ผลวิจัยล่าสุดเผย คนนอนเร็วตื่นเช้า อายุยืนกว่า คนนอนดึกตื่นสายถึง 10%

ผลวิจัยล่าสุดเผย คนนอนเร็วตื่นเช้า อายุยืนกว่า คนนอนดึกตื่นสายถึง 10%

ผลวิจัยล่าสุดเผย คนนอนเร็วตื่นเช้า อายุยืนกว่า คนนอนดึกตื่นสายถึง 10%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้แบบนี้จะยังนอนดึกกันอยู่อีกมั๊ย ? เมื่อผลวิจัยล่าสุดเผย คนนอนเร็วตื่นเช้า อายุยืนกว่า คนนอนดึกตื่นสายถึง 10%

การเป็นคนตื่นเช้า อาจไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับใครหลาย ๆ คนเท่าใดนัก จริงอยู่ที่คนตื่นเช้าจะสามารถเริ่มต้นการทำกิจกรรมต่างๆ ได้เร็วกว่า แต่คนนอนดึกตื่นสายก็ไม่ได้มองว่าตนเองไร้ประโยชน์เช่นกัน เพราะสามารถทำทุกอย่างทดแทนได้ในตอนกลางคืน แต่ผลการวิจัยล่าสุดนี้ คนที่ชอบนอนดึกตื่นสายควรคิดเสียใหม่ เมื่อมีการเปรียบเทียบระหว่างคนตื่นเช้ากับคนนอนดึกตื่นสาย แล้วพบว่า คนตื่นเช้ามีอายุยืนยาวกว่า

โดยผลการศึกษาของ Northwestern Medicine และมหาวิทยาลัย University of Surrey ในสหราชอาณาจักร ได้ทำการศึกษาเรื่องดังกล่าวจากกลุ่มอาสาสมัครเกือบ 5 แสนคน พร้อมกับเก็บข้อมูลนานถึง 6 ปีครึ่ง ซึ่งผลที่ได้ก็คือ กลุ่มคนนอนดึกตื่นสาย มีความเป็นไปได้ที่จะเสียชีวิตเร็วกว่ากลุ่มคนตื่นเช้ามากถึง 10% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า พฤติกรรมการนอนดึกนั้น เป็นตัวทำลายการนอนที่เหมาะสมนั่นเอง

สำหรับการศึกษาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่เป็นการเชื่อมโยงแนวโน้มของการเสียชีวิตที่วัดจากพฤติกรรมการตื่นเช้า กับการนอนดึกตื่นสาย ซึ่งนักวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนที่นอนดึกจะต้องบังคับตัวเองให้ตื่นมาทำงานหรือทำภารกิจอื่น ๆ ทั้งที่ยังพักผ่อนไม่เพียงพอ โดย Malcolm von Schantz จาก University of Surrey ได้ให้คำแนะนำว่า ทางบริษัทควรมีการปรึกษาและอนุญาตให้พนักงานที่นอนดึก เข้างานได้สายขึ้น และชดเชยด้วยการเลิกงานที่ช้าลงแทน ซึ่งทางทีมนักวิจัยจะต้องทำการบ้านเพิ่มเติมอีกว่า จะช่วยให้คนที่ชอบนอนดึกปรับเวลาในร่างกายของตนเอง ให้เข้ากับเวลาในช่วงกลางวันและกลางคืนได้อย่างเหมาะสมอย่างไร

ส่วนเหตุที่ว่า ทำไมบางคนถึงมีพฤติกรรมที่ชอบนอนดึกนั้น ยังไม่สามารถหาคำตอบได้อย่างชัดเจน แต่ทางกลุ่มนักวิจัยเชื่อว่า มีหลายตัวแปรที่ทำให้บางคนไม่อยากนอนเร็ว ซึ่งอาจจะเป็นเพราะ ความเครียด, ขี้เกียจออกกำลังกาย รวมถึงพฤติกรรมการควบคุมอาหารอีกด้วย

อย่างไรก็ดี ผลการวิจัยนี้ก็แสดงให้เห็นว่า คนที่ชอบนอนดึกสามารถบังคับตนเองให้นอนได้เร็วขึ้นนั้น จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมีอัตราที่ลดลง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook