5 แนวโน้ม 5G ทั่วโลก Ericsson คาดปี 2023 มีผู้ใช้ถึง 1 พันล้านคน
Ericsson เผย 5 แนวโน้มการใช้ Mobile Broadband ในไทยและทั่วโลก ผ่านรายงาน “Ericsson Mobility Report” ฉบับล่าสุดเดือนพฤศจิกายน 2017 คาดการณ์จำนวนผู้สมัครใช้บริการ 5G จะมีถึง 1 พันล้านรายในปี 2023
บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด (Ericsson (Thailand) Ltd.) จัดงานแถลงข่าว Ericsson Mobility Report ครั้งที่ 2 ประจำปี 2560 เพื่อแบ่งปันข้อมูลผลสำรวจและการคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายทั่วโลก, พฤติกรรมผู้บริโภค, รวมไปถึงศักยภาพของเทคโนโลยี 5G และเส้นทางสู่ยุค 5G เพื่อสนับสนุนนโยบายด้านดิจิทัลของประเทศไทย ให้ข้อมูลโดยคุณวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ หัวหน้างานฝ่าย Network Solutions บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด
โดยข้อมูลแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อแบบไร้สายทั่วโลกโดยเฉพาะ 5G สามารถสรุปได้ออกมาเป็น 5 ข้อ ดังนี้
1. LTE จะกลายเป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สายหลักสำหรับทั่วโลก ภายในสิ้นปีนี้
Ericsson ระบุภาพรวมของเครือข่ายเคลื่อนที่ทั่วโลกพบว่า LTE (หรือที่รู้จักกันในชื่อ 4G) จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักในการติดต่อสื่อสารภายในสิ้นปีนี้ โดยคาดว่า จะมีการสมัครใช้บริการกว่า 5.5 พันล้านราย ครอบคลุมกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรโลกภายในสิ้นปี 2023
หลังจากที่ไม่ปีกี่ปีผ่านมา ทั่วโลกมีการนำเทคโนโลยีสัญญาณเสียงโทรศัพท์ผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ Voice over LTE (VoLTE) ไปใช้แล้วบนกว่า 125 เครือข่ายในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก คาดว่าจะมีผู้สมัครใช้บริการ VoLTE ถึง 5.5 พันล้านรายภายในสิ้นปี 2566 ซึ่งจะครอบคลุมกว่า 80 เปอร์เซ็นของปริมาณผู้สมัครใช้งาน LTE และ 5G รวมกัน
2. ภายในปี 2023 จะมีผู้สมัครใช้บริการ 5G สูงถึง 1 พันล้านราย
ข้อมูลในรายงานคาดการณ์ว่าภายในปี 2023 จะมีผู้ใช้งาน Mobile Broadband 5G ถึง 1 พันล้านคน โดยการใช้งานเทคโนโลยี 5G จะเริ่มต้นจากพื้นที่เขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น และจะแพร่หลายครอบคลุมถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรโลกภายในสิ้นปี 2566
ซึ่งเครือข่ายแรกที่จะนำระบบส่งสัญญาณ 5G มาใช้ในเชิงพาณิชย์นั้น คาดการณ์ว่าจะเปิดให้บริการในปี 2019 และจะส่งผลให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้นในปี 2020 โดยประเทศกลุ่มที่คาดว่าจะมีการใช้งานเป็นกลุ่มแรกๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน
3. 5G จะเพิ่มมูลค่าการตลาดให้กับผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในไทย
Ericsson ยังระบุด้วยว่าเทคโนโลยี 5G จะช่วยเพิ่มมูลค่าการตลาดเท่าที่เป็นไปได้ทั้งหมด หรือ Addressable Market ของผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในไทย โดยคาดการณ์ว่าในปี 2026 ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือในไทยจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็น 22 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับรายได้ในปี 2017
โดยผลการวิจัยข้อมูลจาก App Annie ของ Ericsson พบว่าปริมาณผู้สมัครที่ใช้บริการแพ็คเกจข้อมูลเพื่อใช้งานเครือข่ายไร้สายในประเทศไทย 12 เดือนที่ผ่านมามีการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีผู้สมัครใช้บริการแพ็คเกจ 5 GB ต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 44 เปอร์เซ็นต์เป็น 66 เปอร์เซ็นต์
4. ผลจาก 5G ทำให้ Mobile Data ในไทยเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
ข้อมูลในรายงานยังระบุต่อว่า โลกในปี 2023 ยอดการรับ-ส่งข้อมูล (Traffic) ผ่านเครือข่ายไร้สายจะสูงกว่าขึ้นเดิม 8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2017
โดยในปี 2017 มียอดการใช้งานอยู่ 14 Exabyte ต่อเดือน (1 Exabyte = 1 พันล้าน GB) โดยวิดีโอจัดเป็นข้อมูลที่มีการรับส่งมากที่สุด คิดเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ของ Traffic ทั้งหมด
ส่วนในปี 2023 ที่คาดการณ์จะมีการใช้ 5G อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ยังมีการคาดการณ์ว่าจะมียอดการใช้งานอยู่ที่ 110 Exabyte ต่อเดือน โดยวิดีโอจัดเป็นข้อมูลที่มีการรับส่งมากที่สุด โดยเพิ่มขึ้นเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ของ Traffic ทั้งหมด
และเมื่อดูยอดการรับส่งข้อมูล (Traffic) ผ่านเครือข่ายไร้สายของสมาร์ทโฟน 1 เครื่องใน 1 เดือน เจาะไปลงในทีวีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก จะพบว่าในปี 2017 สมาร์ทโฟน 1 เครื่อง จะมีการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 2.7 GB ต่อเดือน
ส่วนในปี 2023 ที่คาดการณ์จะมีการใช้ 5G อย่างเต็มรูปแบบ ก็พบว่าในปีนั้น สมาร์ทโฟน 1 เครื่อง จะมีการรับส่งข้อมูลอยู่ที่ 15 GB ต่อเดือน สูงกว่าปี 2017 ถึง 6 เท่า
นอกจากนี้ข้อมูลจากรายงานพฤติกรรมของ Mobility Report ในปีก่อน ที่มีการทดลองพฤติกรรมผู้บริโภค โดยพบว่าผู้บริโภคไม่สามารถทนดูความละเอียดที่ต่ำ ๆ ได้อีกต่อไป
คอนเทนต์ประเภทวิดีโอยังคงเป็นปัจจัยหลักในการผลักดันปริมาณการใช้งาน mobile broadband ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีกลุ่ม Young Millennials ซึ่งอยู่ในช่วงอายุ 15-24 ปีเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก โดยเฉลี่ยแล้วมีการรับชมคอนเทนต์ประเภทนี้มากกว่ากลุ่มคนช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไปถึง 2.5 เท่า
การชมวิดิโอสตรีมมิ่งที่มีความละเอียดสูง และเทรนการบริโภคสื่อวิดีโอในรูปแบบที่ซับซ้อน มากขึ้น อาทิ วิดีโอแบบ 360 องศา มีผลโดยตรงต่อปริมาณการใช้งานรับส่งข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น วิดีโอแบบ 360 องศาบน Youtube ใช้ความกว้างแถบคลื่นความถี่ หรือ bandwidth มากกว่าวิดีโอแบบปกติถึง 4-5 เท่า
จับ
5. ภาครัฐและเอกชนต้องเตรียมความพร้อมสำหรับเทคโนโลยี 5G ทันที
คุณวุฒิชัย วุฒิอุดมเลิศ หัวหน้างานฝ่าย Network Solutions บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในการเปิดเผยรายงานครั้งนี้ว่า
เทคโนโลยี 5G ยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายเพิ่มขึ้นได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ หรือ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย รวมถึงภาครัฐและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการเตรียมความพร้อมที่จะนาศักยภาพของเทคโนโลยี 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคชาวไทยและผู้ประกอบการ อีริคสันและกลุ่มผลิตภัณฑ์สาหรับเครือข่าย 5G จะสามารถช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยย้ายจากเทคโนโลยี 4G มาเป็น 5G ได้อย่างต่อเนื่อง
โดยคุณวุฒิชัยระบุว่าบริษัท Ericsson ในฐานะผู้นำเทคโนโลยี 4G และ 5G พร้อมให้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในประเทศไทยเพื่อให้เกิดเครือข่ายไร้สายที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืน
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลดรายงานฉบับเต็มมาศึกษาต่อได้ที่เว็บไซต์ https://www.ericsson.com/en/mobility-report