5 พฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อ “ไลฟ์สไตล์ไอทีพร้อมสุขภาพที่ดี”
เราทุกคนรักเทคโนโลยี แต่ก็เหมือนกับทุกสิ่งที่มีข้อดีมากมาย และข้อเสียก็มากตาม เหล่านี้คือข้อเสนอแนะในการใช้ชีวิตในโลกยุคดิจิตอลให้มีสุขภาพกายและใจที่ดีตามไปด้วย เพราะการใช้งานอุปกรณ์ไอทีบางชนิดจะส่งผลต่อร่างกาย สภาวะจิตใจ และอารมณ์ได้
1. ปิดหน้าจอให้สนิทก่อนเข้านอน
หลายคนอาจะมีพฤติกรรมการชมรายการออนไลน์ เช่น Youtube, Twitter หรือ Netfilx เป็นต้น แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้บ่งบอกไว้ชัดเจนว่า “ไม่เพียงแต่คุณจะนอนไม่เต็มอิ่มหลังจากที่คุณจ้องมองหน้าจอที่มีแสงสว่างมากๆก่อนนอนเท่านั้น แต่จะส่งผลต่อคุณการนอนของคุณที่จะลดต่ำลงด้วย เพราะแสงจากหน้าจอหรือแล็ปท็อปจะทำให้สมองและจิตใจคุณตื่นตัวตลอด จะทำให้คุณนอนหลับได้ยาก”
มีแอปมากมายที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยบรรเทาปัญหานี้ ไม่ว่าจะเป็น Lux ใน Android และโหมด Night Shift ใน iOS แต่สิ่งที่ผู้ใช้ทุกคนพึงกระทำคือปิดหน้าจอให้สนิทก่อนที่จะนอน หรืออาจเปลี่ยนเป็นฟังเพลงสบายๆผ่านทางสมาร์ทโฟน ก็สามารถช่วยให้คุณนอนหลับสนิทได้เหมือนกัน
2. มีสมาธิทำงานทีละหนึ่งอย่าง
บางคนอาจคิดว่าการทำงานทีละหลายๆอย่าง เช่น เช็คอีเมลไปพร้อมกับดูข่าวใน Twitter และแก้ไขงานใน Microsoft Word ไปพร้อมกัน จะแสดงถึงประสิทธิภาพในการทำงาน แท้จริงแล้ว การที่เรามุ่งความสนใจในสิ่งต่างมากเท่าไร ผลงานที่ถูกผลิตออกมาจะมีคุณภาพด้อยลงไป เหมือนดังเช่นที่นักจิตวิทยากล่าวไว้ว่า “การที่จะทำงานหลายอย่างให้ได้ประสิทธิภาพในคราเดียวนั้น งานหนึ่งชิ้นแทบจะใช้ทุกส่วนของสมองไปโดยอัตโนมัติแล้ว และงานแต่ละชิ้นที่เหลือจะต้องใช้พื้นที่สมองในส่วนที่ต่างกันออกไป”
ซึ่งหมายความว่าใน สมองหนึ่งส่วนจะไม่สามารถเพ่งการทำงานไปที่การเช็คอีเมล ดูสื่อออนไลน์ และทำงานเอกสารไปพร้อมกันได้ ลองมีสมาธิในการทำงานทีละหนึ่งอย่างต่อหนึ่งครั้ง จะทำให้รู้สึกดีกับงานและผลงานที่มีคุณภาพ
3. ให้หน้าจออยู่ในระดับสายตาเสมอ
การพิมพ์ข้อความในสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อปจะทำให้ผู้ใช้ต้องก้มคอต่ำลง ซึ่งผู้ใช้ควรที่จะถือสมาร์ทโฟนหรือแล็ปท็อปให้อยู่ในระดับสายตามากที่สุด เพื่อเป็นการลดแรงกดที่มีต่อกระดูกสันหลังของผู้ใช้ หรือจะให้ดี ควรหลีกเลี่ยงการเดินไปพิมพ์ข้อความไปเลย
การนั่งพิมพ์เอกสารบนโต๊ะทำงานที่ถูกวิธีก็สามารถทำได้ง่าย เพียงวางตำแหน่งของคีย์บอร์ดและหน้าจอให้พอเหมาะ หรือถ้าหากว่าใช้แล็ปท็อป ผู้ใช้สามารถต่อพ่วงคีย์บอร์ดออกมา และหาวัสดุแบบง่ายๆมาเสริมฐานของแล็ปท็อปให้อยู่ในระดับสายตา เพราะในทางการแพทย์นั้น ดวงตาของเราควรจะต้องมองตรงไปข้างหน้า หลังควรจะต้องตรง และและแขนจะต้องตั้งฉากกับลำตัว
4. หยุดสื่อสารในโลกออนไลน์บ้าง
บริษัทผู้ใหับริการ Social Network รายใหญ่ๆ (ไม่ขอเอ่ยนาม) รู้กลวิธีอันชาญฉลาดมากมายที่จะทำให้คุณติดอยู่กับโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คและอยากจะกลับมาอัพเดทข่าวสารตลอดเวลา(ยกตัวอย่างเช่น การเฝ้าดูยอดกด Like เป็นต้น….ไม่ขอเอ่ยนามผู้ให้บริการอีกครั้ง) แต่ผู้ใช้ควรจะหาเวลาพักผ่อนสายตาและสมองจากความข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ที่มีอยู่ตลอดเวลาลงบ้าง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ใช้เป็นอย่างยิ่ง
จากการศึกษามากมาย พบว่า การที่ผู้ใช้เพ่งสมาธิไปที่โลกสังคมออนไลน์เป็นเวลานาน จะเพิ่มระดับความเครียดและอารมณ์ซึมเศร้าเปลี่ยวเหงาเมื่อผู้ใช้คิดเปรียบเทียบชีวิตของตนกับผู้อื่นที่พบในโลกออนไลน์ ซึ่งเมื่อผ่านไปสักระยะ จะส่งผลต่อระดับอารมณ์ของผู้ใช้ด้วย ผู้ใช้ควรยกเลิกการติดตั้งแอปโซเชียลเน็ตเวิร์คบางตัวออกจากสมาร์ทโฟน และเปลี่ยนมาเป็นเข้าดูผ่านทางเว็บไซต์แทนบ้าง
5. ป้องกันข้อมูลดิจิตอลให้ดี
การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไข คำพูดนี้สามารถนำมาดัดแปลงใช้กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตโลกดิจิตอลได้ดีเป็นอย่างยิ่ง ข้อเสนอแนะที่จะกล่าวต่อไปนี้จะช่วยให้ผู้ใช้มั่นใจได้ว่าจะไม่ประสบกับปัญหาการสูญหายของข้อมูลออนไลน์ใน Account ต่างๆ ของผู้ใช้ยอมเสียเวลาแค่ไม่กี่นาที ดีกว่าเสียเป็นชั่วโมงเพื่อแก้ปัญหาในภายหลัง
ขั้นแรก ต้องแน่ใจว่าข้อมูลดิจิตอลทุกอย่างที่สำคัญของผู้ใช้ได้รับการแบ็คอัพไว้ในอุปกรณ์อย่างน้อยสองหรือสามอย่าง เช่น เก็บไว้ในอินเตอร์เน็ตและใน Extenal Drive เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล
ขั้นที่สอง ตั้งมีมีการตรวจสอบการใช้งาน Account ของผู้ใช้เป็น 2 ขั้นตอน บน Account ต่างๆ ของผู้ใช้ให้มากที่สุด และลบแอปและบริการต่างที่ไม่จำที่เชื่อมโยงกับ Account ของผู้ใช้ ออกไป (เป็นคำแนะนำจาก Twitter และ Facebook)