Nokia เผยนวัตกรรมล่าสุดในงาน Nokia Innovation Day 2017 พร้อมสนับสนุนประเทศมุ่งสู่อนาคตดิจิตอล

Nokia เผยนวัตกรรมล่าสุดในงาน Nokia Innovation Day 2017 พร้อมสนับสนุนประเทศมุ่งสู่อนาคตดิจิตอล

Nokia เผยนวัตกรรมล่าสุดในงาน Nokia Innovation Day 2017 พร้อมสนับสนุนประเทศมุ่งสู่อนาคตดิจิตอล
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

โนเกีย (Nokia) เผยนวัตกรรมเครือข่ายใหม่ล่าสุดในงาน วันนวัตกรรมโนเกีย 2017 (Nokia Innovation Day 2017) ในกรุงเทพฯ โดยมีการสาธิตโซลูชั่นต่างๆภายในงาน อาทิ เทคโนโลยี 4.9G AirScale ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายล่าสุดของโนเกียที่ทำให้การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายมีความเร็วสูงสุดถึง 3 Gbps ซึ่งความเร็วที่ระดับนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพของเครือข่ายของผู้ประกอบการโทรคมนาคม ให้สามารถรองรับการเติบโตมหานคร (megacity) อีกทั้งเตรียมพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อที่จะเพิ่มขึ้นมหาศาลในยุค 5G นอกจากการสาธิต AirScale 4.9G แล้ว โนเกียยังได้นำเสนอกรณีตัวอย่างการใช้ อินเทอร์เน็ต ออฟ ธิงค์ (ไอโอที – IoT); ไม่ว่าจะเป็น ระบบบ้านอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ, เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ, ระบบติดตามสมาชิกและยานพาหนะของครอบครัว; และการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย

คุณเซบาสเตียน โลรองท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย โนเกีย

ประเด็นสำคัญ : เมกะเทรนด์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงโลก

 

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีส่งผลกระทบโดยตรงต่อทุกภาคส่วนทั้ง ชีวิตประจำวันของบุคคลวิธีการทำงานทางธุรกิจและการติดต่อสื่อสารกับลูกค้า รวมไปถึงกระบวนการทำงานในภาคส่วนอุตสาหกรรมและบริการสาธารณะ โดย 6 เมกะเทรนด์ที่กำลังผลักดันให้เกิดนวัตกรรมของเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการออกแบบ การวางระบบ การใช้งาน การจัดการ และการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด : ได้แก่

เครือข่าย คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล : การสื่อสารไร้พรมแดน (broadband everywhere): ระบบคลาวด์แบบกระจาย (distributed cloud) หน่วยจัดเก็บข้อมูลที่เกือบไม่จำกัด และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ขนาดพกพาสำหรับทุกคน กำลังเข้าใกล้เป็นความจริงมากขึ้น Internet of Things (IoT) : การ์ทเนอร์ประเมินว่าจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่ราว 2 หมื่นล้านรายการในปี พ.ศ. 2563* ซึ่งอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แก็ดเจ็ต เซ็นเซอร์ และสิ่งอื่นๆ จะเป็นประโยชน์ต่อทั้งบุคคลและธุรกิจ (ดังตัวอย่างที่จะอยู่ในส่วนการสาธิต) ปัญญาเสริม (Augmented intelligence) : เครื่องมือใหม่ๆ ที่สามารถช่วยในการตัดสินใจ และการทำงานเองโดยอัตโนมัติจะช่วยให้การทำงานของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์และเครื่องจักร : เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม หรือ เออาร์ (AR: Augmented Reality) และการเพิ่มอินเตอร์เฟซใหม่ๆจากเสียงและท่าทาง การติดตั้งชิป และสิ่งต่างๆ ที่มีความอัจฉริยะ (smart) ยิ่งขึ้น เช่น เสื้อผ้า จะเปลี่ยนวิธีที่เรามีปฏิสัมพันธ์กับเครื่องจักรเช่นเดียวกับหน้าจอสัมผัสในอดีต เศรษฐศาสตร์ทางสังคมและความไว้วางใจ : เศรษฐกิจแบบแบ่งปันจะยังคงขยายตัวต่อไป ลักษณะของเงินจะเปลี่ยนไปโดยมีสกุลเงินดิจิตอลขึ้นมารับบทบาทที่สำคัญมากขึ้น ส่งผลให้ความไว้วางใจและความปลอดภัยมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การทำ Digitalization และระบบนิเวศน์ : ธุรกิจจะปรับการดำเนินการด้านต่างๆเท่าที่เป็นไปได้ไปสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ตัวอย่างเช่นการขยายสู่โลกของผู้บริโภคและชีววิทยา ด้วยเทคโนโลยีใหม่ที่ท้าทายอย่างมาก เช่นการพิมพ์แบบสามมิติของอวัยวะเพื่อการปลูกถ่าย

คุณเซบาสเตียน โลรองท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย โนเกีย

เครือข่ายในปัจจุบันยังไม่สามารถรองรับหรือตอบสนองเมกะเทรนด์เหล่านี้ ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งในรูปแบบและขนาด เพื่อสร้างระบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ความคล่องตัว และความปลอดภัยมากขึ้น

การสาธิตของโนเกีย เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ

เป็นการทดลองและพิสูจน์แนวคิดหนึ่งของเมืองอัจฉริยะ เพื่อให้เมืองมีความชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับผู้พักอาศัย เสาไฟฟ้าอัจฉริยะ มีคุณลักษณะหลากหลายตั้งแต่ WiFi HotSpot ป้ายดิจิตอลที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ เช่น ข้อมูลการจราจร การแจ้งเตือน การโฆษณา เซ็นเซอร์ประเมินคุณภาพอากาศ และการวิเคราะห์ทิศทางและพฤติกรรมของฝูงชนแบบเรียลไทม์

บ้านอัจฉริยะสำหรับผู้สูงอายุ

ด้วยกว่า 16% ของประชากรโลกจะมีอายุมากกว่า 60 ปีภายในปี 2573** ความต้องการในการดูแลและช่วยเหลือในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุยังคงเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ การสาธิตแสดงให้เห็นว่าผู้ให้บริการโทรคมนาคมสามารถใช้ Nokia Smart Home Gateway ในการให้บริการบ้านอัจฉริยะ และช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับผู้สูงอายุ อาทิ ระบบอัตโนมัติในบ้าน การรักษาความปลอดภัยภายในบ้าน และการดูแลสุขภาพ นอกจากนี้โนเกียยังมีอุปกรณ์ที่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายความเร็วสูงและเชื่อมต่อภายในบ้านได้ ซึ่งถือเป็นโซลูชันแบบครบวงจรที่ใช้เพียงอุปกรณ์เดียวในบ้าน ช่วยในการลด CPE Farms การเดินสายไฟ และการใช้พลังงาน

การติดตามสมาชิกในครอบครัว (Family Tracker)

จากแพลตฟอร์ม Nokia IMPACT ที่ใช้ระบบคลาวด์ จะทำให้การติดตามสมาชิกในครอบครัวและยานพาหนะมีความแม่นยำ เชื่อถือได้ และปลอดภัยมากขึ้น คุณสมบัติรวมไปถึง การติดตามโดยใช้เรียลไทม์ GPS การใช้ไมโครโฟนและลำโพงเพื่อโทรออก ปุ่มเตือนภัยซึ่งจะส่งสัญญาณ SOS พร้อมตำแหน่งที่อยู่ทางภูมิศาสตร์ และ การแจ้งเตือนการออกนอกเขต (geo-fencing)

โนเกีย End-point Security

Ransomware ล่าสุดที่กระทบคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั้งในโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย และบริษัท โทรคมนาคมทั่วโลกแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบันมีความเปราะบางมาก

โนเกียนำเสนอ NetGuard Endpoint Security (NES) ที่ให้การปกป้องอุปกรณ์ โทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ และอุปกรณ์ IoT โดยใช้โซลูชันป้องกันมัลแวร์บนเครือข่าย และด้วย NES ผู้ให้บริการเครือข่ายจะสามารถตรวจจับมัลแวร์ ลดผลกระทบต่อการใช้งานของผู้ใช้บริการและสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการโดยการให้บริการการปกป้องที่เหนือกว่า

 

อัพเดทจากโนเกีย โนเกียสร้างยอดขายสุทธิ 23.6 พันล้านยูโรในปีพ. ศ. 2559 (หลังการเข้าซื้อกิจการ Alcatel Lucent) เมื่อเทียบกับ 12.5 พันล้านยูโรในปี 2558 ส่วนในไตรมาสที่ 1 ในปีพ. ศ. 2560 โนเกียสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นที่แข็งแกร่งไว้ได้ และยังเป็นไตรมาสที่ธุรกิจเครือข่ายมีผลประกอบการที่ดีที่สุด ในไตรมาสแรกของปี พ.ศ.2560 โนเกียได้ลงนามในสัญญาที่ใหญ่ที่สุดในละตินอเมริกากับกลุ่ม ALTAN Redes เพื่อสร้างเครือข่ายบรอดแบนด์เคลื่อนที่ (mobile broadband) ขนาดใหญ่ในเม็กซิโก ผลงานสำคัญอื่น ๆ ในไตรมาสแรกของปีพ. ศ. 2560 ได้แก่ การเปิดตัว 5G FIRST ที่ Mobile World Congress และการเปิดตัว โนเกีย MIKA ซึ่งเป็นระบบช่วยเหลือแบบดิจิทัลระบบแรกสำหรับอุตสาหากรรมโทรคมนาคม และ  IoT network gridในรูปแบบ Managed Service รวมทั้งการซื้อ บริษัท Comptel ผู้เชี่ยวชาญในการประสานข้อมูล การประมวลผลข้อมูล แอพพลิเคชั่นที่ใช้ในการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าและการสร้างรายได้จากบริการ จากรายงาน Mobility Report ของ Dell’Oro สำหรับไตรมาสที่ 1 ปีพ. ศ. 2560 โนเกียได้รับการจัดอันดับเป็นที่หนึ่งใน LTE

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook