5 เหตุผลทำไมทามาก็อตจิยุค 2017 อาจแป้ก

5 เหตุผลทำไมทามาก็อตจิยุค 2017 อาจแป้ก

5 เหตุผลทำไมทามาก็อตจิยุค 2017 อาจแป้ก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทามาก็อตจิ (Tamagotchi) รุ่นใหม่ล่าสุดที่ได้รับสมญานามว่าเป็นทามาก็อตจิที่มีความคล้ายคลึงกับรุ่นคลาสสิคอย่างมาก มีเพียงขนาดที่ลดลงได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมาในโอกาสครบรอบ 20 ปีของทามาก็อตจิภายใต้ชื่อ Tamagotchi 20th edition

โดยบริษัทผู้ผลิต Bandai ได้ผลิตทามาก็อตจิ 2017 นี้และวางขายในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ซึ่งประชาชนสามารถหาซื้อได้จาก Amazon Japan อีกช่องทางหนึ่ง โดยราคาอยู่ที่ 1,500 Yen หรือ 495 บาทนั่นเอง

ทามาก็อตจิรุ่นครบรอบ 20 ปีนี้ออกมาทั้งหมด 6 สีได้แก่ ขาว, ชมพู, ฟ้า, น้ำเงิน, ส้ม และน้ำเงินแบบใส โดยการเล่นทามาก็อตจิคงเหมือนรุ่นคลาสสิคโดยมีกิจกรรมดังนี้ 1. การให้อาหาร 2. พาเข้าห้องน้ำ 3.รักษา และ 4. ปิดไฟ

เนื่องจากทามาก็อตจิซึ่งเคยเป็นสินค้ายอดฮิตติดตลาดในช่วงปี 2000 ไม่ว่าบ้านไหนๆก็ต้องเลี้ยงเจ้าสัตว์เลี้ยงดิจิตัลนี้กันทั้งนั้น บริษัท iPrice ซึ่งเป็นร้านขายสินค้าออนไลน์เห็นกระแสที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงได้หยิบนำประเด็นการกลับมาของทามาก็อตจิมาวิเคราะห์พร้อมสรุป 5 เหตุผลว่าทามาก็อตจิยุค 2017 ไม่น่าเป็นที่นิยม

 ยุคสมัยมันเปลี่ยนไปแล้ว

ปี 2017 คือยุคดิจิตัลอย่างแท้จริง เด็กเล็กเด็กน้อยเติบโตขึ้นมาพร้อมกับจอโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ต ซึ่งพวกมันทำให้เด็กเหล่านี้ก้าวข้ามจินตนาการผ่านแอพพลิเคชั่นเกมส์มากมาย รวมถึงการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะทำอะไร ไปที่ไหนก็อยู่แค่เพียงปลายนิ้ว นี่คือพฤติกรรมของเด็กในยุคปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากเปรียบเทียบความทันสมัยของสมาร์ทโฟนกับทามาก็อตจิแล้วนั้น ทามาก็อตจิคงจะสู้อะไรไม่ได้เลยในส่วนของเทคโนโลยี นี่อาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เด็กยุคปัจจุบันเมินเฉยต่อกระแสการกลับมาของทามาก็อตจิ 2017

หากมองกลับไปในช่วงปี 2005 ซึ่งเป็นช่วงที่ทามาก็อตจิได้รับความนิยมสูงสุดนั้น คงทราบกันดีอยู่แล้วว่ายุคนั้นเป็นยุคเริ่มต้นของคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต บ้านไหนที่มีคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือต้องถือเป็นครอบครัวที่มีรายได้ดี ดังนั้นเด็กๆในยุคนั้นจึงใช้เวลาส่วนมากกับการใช้ชีวิตข้างนอกบ้าน กล่าวคือทำกิจกรรมโลดโผนตามภาษาเด็กๆ อย่างไรก็ตามยุคนั้นก็เป็นยุคของเกมคอนโซลเช่นเดียวกัน โดยเกมที่ได้รับความนิยมได้แก่เครื่องเล่นประเภท Play Station, Nintendo และที่สำคัญคือเจ้าทามาก็อตจิและดิจิม่อนนั่นเอง

เด็กในยุคนั้นเลี้ยงเจ้าทามาก็อตจิเป็นสัตว์เลี้ยง พวกเขาต้องคอยให้อาหารและทำความสะอาดสัตว์เลี้ยงของพวกเขาอย่างตั้งใจ นี่จึงเป็นเสน่ห์ที่ทำให้เด็กในยุคก่อนกับเจ้าทามาก็อตจิมาความสัมพันธ์กันอย่างปละหลาด

ในเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ผู้เขียนยังคงเชื่อว่าเด็กในยุค 2000 ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าสัตว์เลี้ยงทามาก็อตจิ เมื่อได้ทราบข่าวถึงการกลับมาของทามาก็อตจิยุค 2017 ก็ต้องตามลุกวาวเพราะมันทำให้ย้อนกลับไปในช่วงสมัยเป็นเด็กนั่นเอง นี่อาจจะเป็นหนึ่งกระแสที่ทำให้ทามาก็อตจิกลับมาดังเปรี้ยงปร้างในประเทศไทย แต่หากยังมีเหตุผลในข้อถัดไปที่กลับมาหยุดความดังของสัตว์เลี้ยงน่ารักตัวนี้

 กระแสทามาก็อตจิยุค 2013 เงียบกริบ

บริษัท Bandai ได้หยิบนำกระแสของทามาก็อตจิกลับมาอีกครั้งในรูปแบบของ Application ในปี 2013 โดยมีชื่อว่า Tamagotchi: L.I.F.E. (Love is Fun Everywhere) ซึ่งในประเทศไทยนั้น กระแสการตอบรับไม่ดีเท่าที่ควร เนื่องจากนวัตกรรมควรมีความทันสมัยและเข้าใจต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในปี 2013 ได้มากกว่านี้ เมื่อเทียบกับเกมส์แอพพลิเคชั่นยุคนั้นถือว่าแอพทามาก็อตจิเป็นแอพที่ไม่มีลูกเล่นที่น่าสนใจนัก

ถ้าหากพิจารณาฟีเจอร์ของเจ้าทามาก็อตจิยุค 2017 ตัวล่าสุดนี้แล้วนั้น สรุปได้เลยว่าบริษัทอาจจะไม่ได้ให้ความสนใจต่อนวัตกรรมของสินค้าตัวนี้มากนัก บริษัท Bandai ซึ่งเป็นผู้ผลิตกำลังหลงรักในสินค้าของตัวเองมาเกินไป จนไม่สามารถที่จะฉีกกรอบออกจากค่านิยมแบบเดิมๆได้

ในเชิงการตลาดเรามักจะพูดถึงแบรนด์หรือบริษัทที่หลงรักในอัตลักษณ์ของตัวเองมากเกินไป จนไม่สามารถหลุดออกจากค่านิยมแบบเดิมๆ จนทำให้ไม่มีการเปลี่ยนแปลง ถ้าหากกระแสทามาก็อตจิ 2017 ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยยังไม่ได้รับผลตอบรับที่ดีเท่าที่ควรแล้วนั้น บริษัทจะต้องกลับมามองข้อผิดพลาดในการโฟกัสที่ผิดจุดนี้

ถ้าหากมองถึงเกมในอดีตที่กลับมาโด่งดังอย่าง Pokemon Go นั่นคงเป็นหนึ่งเคสศึกษาที่น่าสนใจ ว่าการพัฒนานวัตกรรมให้มีความเข้าถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคของบริษัทนั้นทำได้ดีมาก โดยการผนวกความหลงใหลของผู้บริโภคเข้ากับ interactive ของแอพพลิเคชั่น มันจึงเป็นจุดขายที่ทำให้ Pokemon กลับมาดังเปรี้ยงไปทั่วโลก

 ไม่มีขายในไทยคงไม่ใช่ปัญหา

การที่เจ้าทามาก็อตจิ 2017 ยังไม่มีวางขายในประเทศไทยนั้นอาจจะเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้มันไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร อย่างไรก็ตามในยุคที่โลกไร้พรมแดน การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์เป็นไปได้สะดวกเพียงปลายนิ้วสัมผัส โดยเฉพาะ Amazon Japan ที่มีสินค้าจำหน่ายอยู่แล้ว การที่สินค้ายังไม่มีวางขายในประเทศไทยไม่น่าใช่ปัญหาใหญ่

นอกจากนี้พ่อค้าแม่ค้ารับสินค้าพรีออเดอร์จากประเทศญี่ปุ่นนั้นมีจำนวนมากในปัจจุบัน ถ้าหากมีความต้องการ พวกเขาย่อมใช้โอกาสเหล่านี้แสวงหาสินค้ามาสนองอุปสงค์อย่างแน่นอน ในทางกลับกันถ้าหากความต้องการไม่มากพอที่จะทำกำไรจากสินค้าทามาก็อตจิ 2017 นี้ พ่อค้าแม่ค้าพรีออเดอร์คงปฏิเสธไม่รับสินค้าเหล่านี้มาขาย

ดังนั้นถ้าหากมีอุปสงค์ย่อมมีอุปทาน คงต้องดูกันต่อไปว่าความต้องการของสินค้าทามาก็อตจิ 2017 นี้จะมากพอหรือไม่ที่ทำให้เกิดกระแสอย่างสินค้าอื่นๆ

 ไม่มี Influencer

ในยุคของโซเชียลมีเดีย ผู้นำทางความคิดหรือ influencer นั้นเข้ามามีบทบาทในเชิงการตลาดและส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างมาก หากหนึ่งเสียงบอกว่าสินค้านี้กำลังเป็นที่ฮอตฮิตในตลาด ย่อมส่งผลกระทบแบบโดมิโนให้ความนิยมแพร่กระจายออกไป

ถ้าหากย้อนดูความสำเร็จของสินค้าในยุคเก่าแต่กลับมาเป็นกระแสอย่างเจ้าเฟอร์บี้นั้น กระแสเหล่านี้กลับมาเนื่องจาก Influencer ประโคมกระแสในโซเชียลมีเดียผ่านการอัพรูป, วีดีโอ หรือแม้กระทั่งโทรทัศน์ช่องต่างๆก็นำเสนอข่าวเกี่ยวกับเจ้าเฟอร์บี้นี้

ในเมื่อสินค้าเป็นกระแส หลายคนก็ต้องการอยู่ในกระแส มันสามารถอธิบายด้วยหลักการ Peer Pressure กล่าวคือได้รับความกดดันจากสังคม จึงต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนหรือครอบครัว จึงทำให้เฟอร์บี้เป็นที่ต้องการของตลาด จนมีการอัพราคาสูงในช่วงที่สินค้าขาดแคลน

ถ้าหากยังไม่มี Influencer หรือสื่อไหนหยิบกระแสทามาก็อตจิ 2017 สักที สินค้าตัวนี้คงไม่ได้รับความสนใจจากตลาดและหายไปอย่างแน่นอน

ขายกลุ่มผิดชีวิตเปลี่ยน

สินค้าประเภทของเล่นอย่างทามาก็อตจินั้นย่อมมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กอายุ 6-13 ปี อย่างไรก็ดีเด็กกลุ่มนี้เป็นวัยที่ไม่มีกำลังซื้อ แต่หากบริษัทหรือร้านค้าพรีออเดอร์ยังตั้งเป้าจับกลุ่มพ่อแม่ที่จะซื้อให้ลูกแล้วล่ะก็ คงจะต้องคิดใหม่กันอีกสักครั้ง เนื่องจากทามาก็อตจิซึ่งเคยเป็นที่นิยมในช่วงยุค 90’s ย่อมมีผู้สนใจหรือหลงรักเจ้าทามาก็อตจินี้ไม่น้อย การทำการตลาดและมุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้บริโภคที่เกิดในช่วงยุค 90’s อาจจะเป็นโอกาสในการทำรายได้เนื่องจากกลุ่มนี้มีกำลังซื้อที่มากขึ้นและที่สำคัญพวกเขาย่อมมีความต้องการซื้อความทรงจำในวัยเด็กของพวกเขาอย่างแน่นอน

งานนี้คงไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่ร้านค้าต่างๆที่จะนำเจ้าทามาก็อตจิมาวางขายมาโปรโมตกันอย่างปกติ แต่ต้องมองตลาดให้ออกและมุ่งเป้าไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสม

 ทั้ง 5 ข้อนี้เป็นเพียงเหตุผลที่ทางบริษัท iPrice ซึ่งเป็นร้านขายสินค้าออนไลน์ในประเทศเอเชียตะวันออกวิเคราะห์กระแสของทามาก็อตจิในประเทศไทย อย่างไรก็ดีสถานการณ์มักเปลี่ยนได้ตลอดเวลา ถ้าหากมีการปรับเปลี่ยนของตัวแปรตัวใดตัวหนึ่ง ร้านค้าที่มองหาลู่ทางในการสร้างกำไรจากกระแสทามาก็อตจินี้ต้องปรับตัวให้ทันและหาสินค้ามา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook