7 เหตุผลที่แบรนด์ต้องให้ความสำคัญ กับการโฆษณาบน Instagram
หากการลงโฆษณาบน Instagram ของคุณนั้นล้มเหลว Blaise Lucey ผู้วางแผนด้านกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์มีคำอธิบายถึงสิ่งที่แบรนด์ไม่ควรมอง ข้ามไป
ตั้งแต่ Instagram ได้มีการเปิดตัวโฆษณาสู่สาธารณะ ทำให้มีโฆษณาจำนวนมากโผล่มาตามหน้าฟีดของผู้ใช้ Instagram มีข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เป็นวิธี ปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเชื่อมต่อกับผู้บริโภค ดังนั้นหลายๆ แบรนด์จึงลงทุนกับโฆษณาทางโซเชียลมีเดีย เช่นเดียวกับโฆษณาแบนเนอร์ แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ ค่าเฉลี่ยของผู้คลิกเข้าไปดูโฆษณามีเพียงแค่ 0.07% เท่านั้น เมื่อแบรนด์เห็นตัวเลขนี้ คงมีคำถามว่าการลงทุนในโฆษณานี้คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่ได้รับหรือไม่?
และนี่คือ 7 สิ่งที่แบรนด์อาจจะมองข้ามมันไป
1. โฆษณาดูไม่ธรรมชาติ
Instagram ก็คล้ายกับ YouTube ที่เป็นแหล่งรวมคอนเทนต์จากผู้ใช้สร้างมันขึ้นมา เมื่อมีสีสันของภาพเคลื่อนไหวโดดเด่นออกมาจากหน้าจอ ย่อมเป็นที่ดึงดูดสายตาของผู้รับชม ดังนั้นการสร้างโฆษณาที่มีรูปแบบ audience-friendly ใช้แสงธรรมชาติ มีภาพเบื้องหลังการถ่ายทำประกอบ จะเป็นวิธีที่เชื่อมโยงกับผู้รับชมได้ดีที่สุด
2. โฆษณาไม่ได้บอกเรื่องราวของแบรนด์
มีโฆษณาจำนวนมากมีเพียงแค่ชื่อแบรนด์และสโลแกน ซึ่งทำให้เหมือนโฆษณานั้นเป็นเพียงแค่อัลบัมเก็บรูปถาพ และผู้ใช้ Instagram ไม่ได้ต้องการมองเพียงแค่รูปภาพอย่างเดียว พวกเขากำลังมองหาสิ่งที่บอกเล่าเรื่องราวของแบรนด์ ไม่ว่าเรื่องราวนั้นจะตลก ให้แรงบันดาลใจ หรือเป็นฉากแอคชั่น แต่ขอให้สื่อความหมายออกมา นั่นจึงเป็นศิลปะของ Instagram การเปลี่ยนภาพถ่ายให้กลายเป็นเรื่องราวที่มีความหมายแก่ผู้รับชม
ตัวอย่างที่น่าสนใจ ได้แก่ Instagram ของ National Geographic ที่ได้แคปเจอร์ภาพที่ส่งผลต่ออารมณ์คนดูทำให้ดึงดูดผู้ชมได้นานกว่า
3. ชักจูงให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วม
เช่นเดียวกับโซเชียลมีเดียอื่นๆ ผู้ใช้ Instagram เข้ามาใช้งานแอปฯเพื่อต้องการความเอนเตอร์เทน มีปฏิสัมพันธ์ในสังคมออนไลน์ รวมถึงเรียนรู้ บนหน้าจอมือถือ แบนเนอร์จัดว่าเทียบเท่ากับโฆษณาป๊อปอัพ ดังนั้นจึงต้องมุ่งเน้นในด้านเนื้อหาและทำให้ผู้ชมเขี่ยโฆษณาของเราทิ้งน้อย ที่สุด และเมื่อผู้ใช้รู้สึกมีส่วนร่วมแล้ว สายตาของพวกเขาจะสอดส่องหาปุ่ม “สั่งซื้อ” หรือ “เรียนรู้เพิ่มเติม” ในทันที
4. อย่าลืมมุ่งหาอินฟลูเอ็นเซอร์
หากคุณต้องการที่จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดี คุณจำเป็นต้องหาอินฟลูเอ็นเซอร์ที่จะช่วยนำให้ผู้ติดตามของเขาเองหันมาสนใจ คอนเทนต์ของคุณนอกเหนือจากการมองผ่าน ดังนั้นหาก Instagram ของแบรนด์เป็นเพียงแค่อัลบัมรวบรวมรูปภาพ ความล้มเหลวก็อาจจะเกิดขึ้น
5. หาไลฟ์สไตล์ของผลิตภัณฑ์ให้เจอ
ผู้คนติดตามแบรนด์หรูผ่านแรงบันดาลใจ ในขณะเดียวกันก็ต้องการเห็นสินค้าตัวเป็นๆ แต่ที่สำคัญกว่าสิ่งอื่นใดลูกค้าเหล่านี้ต้องการเห็นป้ายโฆษณานาฬิกาแบรนด์ หรูอยู่บนตึกระฟ้า เช่นเดียวกับเห็นเนื้อหาโฆษณาเครื่องดื่มให้พลังงานอยู่บนจักรยาน และแบรนด์แฟชั่นได้แบ่งปันทริคการแต่งตัว
ดังนั้นโฆษณาบน Instagram จำเป็นต้องคำนึงถึงไลฟ์สไตล์ของแบรนด์ก่อนเป็นอย่างแรก ตามมาด้วยสินค้าเป็นอันดับสอง
6. เนื้อหาข้อความมากเกินไป
เป็นที่ทราบกันดีว่าศัตรูของผู้ใช้มือถือ คือ ตัวอักษร จากงานวิจัยพบว่า สายตาของคนเราจะมองไปยังศูนย์กลางของจอ และจะจับภาพที่พบเห็นเป็นสิ่งแรก ดังนั้นถ้าแบรนด์ใช้เนื้อหาตัวอักษรมากเกินไปจะทำให้ผู้ชมเลิกสนใจได้อย่าง ง่ายดาย
7. ได้ลองวิดีโอโฆษณาหรือยัง
ล่าสุด Instagram ได้เพิ่มระยะเวลาของวิดีโอเป็น 60 วินาที หากมีการแสดงเรื่องราวของแบรนด์ที่ดี 60 วินาทีนั้นจะมีค่ามากสำหรับแบรนด์ของคุณ โดยแบรนด์สามารถเรียกความสนใจของผู้ชมได้โดยง่ายเพราะวิดีโอถูกตั้งค่าให้ เล่นอัตโนมัติ ซึ่งต่างกับการลงโฆษณาแบนเนอร์ตัวกระพริบแบบสมัยก่อน ซีรีย์โฆษณา คลิปสัมภาษณ์ หรือแอคชั่นช็อต ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ
ที่มา : Marketingland
สนับนุนเนื้อหา: thumbsup.in.th