รู้เท่าทันการตลาด! เน็ตไม่ติด FUP จริงหรือไม่? โปรโมชั่นแบบใดจึงจะใช้เน็ตได้เต็มสปีดแบบไม่มี FUP ?

รู้เท่าทันการตลาด! เน็ตไม่ติด FUP จริงหรือไม่? โปรโมชั่นแบบใดจึงจะใช้เน็ตได้เต็มสปีดแบบไม่มี FUP ?

รู้เท่าทันการตลาด! เน็ตไม่ติด FUP จริงหรือไม่? โปรโมชั่นแบบใดจึงจะใช้เน็ตได้เต็มสปีดแบบไม่มี FUP ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้เท่าทันการตลาด! เน็ตไม่ติด FUP จริงหรือไม่? โปรโมชั่นแบบใดจึงจะใช้เน็ตได้เต็มสปีดแบบไม่มี FUP ? วันนี้เรามีคำตอบ!จริงหรือไม่


 

หลังจากเสร็จสิ้นการประมูลคลื่นความถี่สำหรับการให้บริการ 4G ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งค่ายมือถือแต่ละค่ายต่างก็พากัน ออกแพ็กเกจการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 4G/3G ที่มีจำนวน Data จำนวนมากมีให้ใช้งานตั้งแต่ 1.5GB - 80GB กันเลยทีเดียว บางแพ็กเกจก็จะมีการใช้คำว่า "ใช้อินเทอร์เน็ตเต็มสปีด" และมีคำเรียกขานอย่างง่ายๆ สั้นๆ ในหมู่ผู้ใช้ว่า "โปรเน็ตไม่มี FUP" ซึ่งผู้ใช้หลายคนอาจจะตีความหมายผิดว่า จะได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แบบไม่ต้องปรับลดความเร็วกันอีกต่อไป ทั้งที่จริงๆแล้วการใช้เน็ตเกินจาก package ที่กำหนดผู้ใช้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม บางครั้งก็อาจจะเกิดจากความ เข้าใจผิดของสื่อที่นำเสนอเองหรืออาจจากการตีความไปเองจากคำโปรยทางการตลาด ของแต่ละเจ้า
 
 วันนี้ทีมงาน Thaimobilecenter จึงขออธิบายหลักการของการติด FUP (Fair Usage Policy) และรูปแบบของแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตในแบบต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจว่าว่าโปรแบบไม่ติด FUP จริงๆแล้วควรจะหมายถึงโปรแบบไหน เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้ใช้ทุกๆ ท่านครับ

 

FUP คืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร?

ก่อนที่จะเข้าสู่การอธิบายรูปแบบของแพ็กเกจการใช้งานอินเทอร์เน็ต 4G/3G แต่ละแพ็กเกจ เรามาทำความรู้จักกับ FUP กันก่อนครับ
 


FUP หรือ Fair Usage Policy คือ นโยบายการใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างยุติธรรม และยึดถือเป็นมาตรฐานสากล โดย FUP ถูกกำหนดขึ้นเพื่อป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตมือถือ (Mobile Internet) ในการดาวน์โหลดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มากๆ เช่น การส่งคลิปวิดีโอ, การดาวน์โหลด BitTorrent หรือการดาวน์โหลดไฟล์ภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ฯลฯ เพราะถ้าหากผู้ใช้บางรายกระทำการข้างต้น จะเป็นการไปแย่งพื้นที่การใช้งานของผู้ใช้คนอื่นในช่องสัญญาณนั้นๆ ส่งผลให้ผู้อื่นได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ความเร็วอินเทอร์เน็ตลดลง เปรียบเทียบง่ายๆ กับการใช้อินเทอร์เน็ตบ้าน และมีการกระจายสัญญาณ Wi-Fi หากภายในบ้านมีผู้เชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตกันอยู่ 4 คน แต่มีคนหนึ่งกำลังดาวน์โหลด BitTorrent อยู่ ความเร็วอินเทอร์เน็ตเกือบทั้งหมดก็จะถูกดึงไปใช้งานที่ผู้ใช้คนนั้น ทำให้อีก 3 คนที่เหลือได้ใช้อินเทอร์เน็ตที่มีความเร็วลดลง

นอกจากนี้ FUP (Fair Usage Policy) ยังถูกใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้ผู้ใช้เครือข่ายนั้นๆ ได้รับการใช้งานที่เท่าเทียมกัน และจึงเป็นที่มาของการจัดแพ็กเกจต่างๆ ของค่ายมือถือที่ให้ผู้ใช้ได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุดก่อนจนครบ จำนวน Data ที่กำหนด และปรับความเร็วลดลงเพื่อเพิ่มพื้นที่ช่องสัญญาณให้กับผู้ใช้รายอื่นได้ใช้ งานกันตามปกติด้วยนั่นเอง

 

เน็ตไม่ติด FUP ที่ใช้เรียกกัน จริงๆ แล้วหมายความว่าอย่างไร?

หลังจากที่เราทำความรู้จักกับ FUP (Fair Usage Policy) กันไปแล้ว คราวนี้เรามาลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตของค่ายมือถือกัน บ้าง หากสังเกตในช่วงหลังการประมูลคลื่นความถี่เมื่อปลายปี 2015 ที่ผ่านมา จะเห็นว่าค่ายมือถือแต่ละค่ายเริ่มจัดแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตที่มาพร้อมจำนวน ข้อมูล (Data) การใช้งานที่สูงกว่าเดิมอย่างมาก และมักมีการใช้คำโฆษณาในลักษณะที่ว่า "ใช้งานอินเทอร์เน็ตเต็มสปีด" หรือ "ใช้งานความเร็วสูงสุด ไม่ลดสปีด" ซึ่งการใช้คำเหล่านี้ส่ง ผลให้ผู้ใช้บางรายเกิดความเข้าใจผิดพลาดว่า หากสมัครแล้วจะได้ใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุดได้ "ไม่จำกัด" โดยที่ยังมีค่าบริการเท่าเดิม แต่ความจริงแล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น

โดยปกติแล้ว FUP มักจะถูกนำมาใช้เป็นเงื่อนไขในแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตที่เป็นการใช้งานแบบ "ไม่จำกัด" คือ เมื่อใช้ความเร็วสูงสุดครบตามจำนวน Data แล้ว จะสามารถใช้งานต่อได้ในความเร็วที่ถูกปรับลดลง แต่เมื่อมีผู้นำเอาคำว่า FUP มาใช้กับแพ็กเกจแบบ "จำกัดการใช้งาน" จึงทำให้ผู้ใช้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบ "จำกัดการใช้งาน" จะคิดค่าบริการเพิ่มทันทีที่จำนวน Data ในแพ็กเกจหมดลง ซึ่งอัตราค่าบริการก็จะแตกต่างกันออกไป แต่ไม่ทิ้งช่วงราคาห่างกันมากนัก

ดังนั้น เมื่อผู้ใช้เกิดเข้าใจผิดคิดว่าแพ็กเกจแบบ "จำกัดการใช้งาน" เป็นแบบ "ไม่จำกัด" ก็ทำให้ผู้ใช้บางรายใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องจนเกินจำนวน Data ของแพ็กเกจ และเกิดปัญหาเรื่องค่าบริการตามมา ซึ่งในจุดนี้หากจะกล่าวว่าเป็นปัญหาของผู้ใช้ที่ไม่ศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน ก่อนก็คงจะไม่ถูกต้องนัก เพราะค่ายมือถือ หรือสื่อที่นำเสนอข้อมูลข่าวสารก็ใช้คำที่มีความหมายกำกวม และสื่อไปในทางบวก (Positive) จนทำให้ผู้ใช้หลงคิดว่าถ้าสมัครแพ็กเกจนี้จะสามารถใช้งานได้ตามที่ตนเองเข้า ใจ ซึ่งถือเป็นหลักการตลาดอย่างนึงที่ผู้ขายจะต้องทำให้ลูกค้าเกิดความคิดเชิง บวกกับสินค้าของตนเองจนตัดสินใจซื้อขายกันในที่สุด
 


 

สรุปง่ายๆ คือ แพ็กเกจที่สามารถใช้คำเงื่อนไขอย่าง FUP ได้นั้นควรจะเป็นแพ็กเกจที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่จำกัด (Unlimited) เท่านั้น  ซึ่งหากใช้งาน Data ครบแล้วยังสามารถใช้งานต่อได้บนความเร็วที่ปรับลดลง และไม่เสียค่าบริการเพิ่มเติม ส่วนแพ็กเกจที่จำกัดการใช้งานข้อมูล (Data) ด้วยความเร็วเต็มสปีด, ไม่มีการปรับลดความเร็ว และถ้าใช้ Data จนครบจะต้องเสียค่าบริการไม่ควรที่จะใช้คำว่า "ไม่ติด FUP" เพราะจะทำให้ผู้ใช้เกิดการสับสน และเข้าใจผิดได้ ซึ่งในจุดนี้ตัวผู้ใช้เองก็ต้องสังเกตรายละเอียด และเงื่อนไขของผู้ให้บริการให้ดีด้วยเช่นกัน เพราะบางครั้งข้อความดังกล่าวไม่ได้เกิดจากตัวผู้ให้บริการเป็นคนกล่าว แต่เกิดจากสื่อ หรือการนำเสนอที่ใช้ถ้อยคำบิดเบือนไปจนอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้

นอกจากนี้ ทีมงาน Thaimobilecenter ขอแนะนำว่าให้ผู้ใช้ทุกท่านตรวจสอบการใช้งานแพ็กเกจอินเทอร์เน็ตให้ละเอียด ทุกครั้งก่อนทำการสมัคร ลองสำรวจตนเองดูว่ามีการใช้งานอินเทอร์เน็ตในระดับไหน ใช้มากหรือใช้น้อยเพียงใด และเลือกแพ็กเกจที่คิดว่าตอบสนองต่อการใช้งานของตนเองได้มากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากจนเกินไปนั่นเอง สำหรับวันนี้ทีมงาน Thaimobilecenter ขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ

 

นำเสนอข่าวโดย : thaimobilecenter.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook