คิดก่อนแชร์! ใช้เฟซบุ๊กอย่างสนุก และ"ตั้งค่า"ให้ปลอดภัย

คิดก่อนแชร์! ใช้เฟซบุ๊กอย่างสนุก และ"ตั้งค่า"ให้ปลอดภัย

คิดก่อนแชร์! ใช้เฟซบุ๊กอย่างสนุก และ"ตั้งค่า"ให้ปลอดภัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คิดก่อนแชร์! ใช้เฟซบุ๊กอย่างสนุก และ"ตั้งค่า"ให้ปลอดภัย  โดย: ศรีสกุล ลีลาพีระพันธ์

       เป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมากันใหญ่โต เมื่อจู่ๆ ก็มีการแจ้งเตือนว่า ข้อความที่ปรากฏอยู่บนหน้าจอเฟซบุ๊กของทุกคน ที่ขึ้นข้อความขอความช่วยเหลือให้บริจาคเงินช่วยผู้ประสบอุทกภัยครั้งใหญ่ใน พม่า เป็นข้อความที่ "ไม่จริง" และว่า เป็นการถูกแฮกเฟซบุ๊ก อย่าไปกด

       หลาย คนก็งงกันไป เพราะข้อความมันไปปรากฏบนหน้าจอเฟซบุ๊กอย่างนั้นได้อย่างไร ซึ่งจริงๆ แล้ว ข้อความที่ปรากฏขอให้ช่วยกันบริจาคเงินช่วยเหลือ

       ผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพม่านั้น เป็นข้อความจริงๆ จากเฟซบุ๊ก "ไม่ใช่ของปลอม" แต่อย่างใด

       ทางโฆษกของเฟซบุ๊กเองได้ออกแถลงการณ์ว่า "ผู้คนเชื่อมต่อเฟซบุ๊ก เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเวลายากลำบาก และเราต้องการให้การเชื่อมต่อนั้นง่ายขึ้น เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์มหาอุทกภัยที่ประเทศพม่า เฟซบุ๊กได้เปิดตัวแคมเปญบริจาคให้แก่โครงการเซฟ เดอะ ชิลเดรน ในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์และจัดหาสิ่งของยังชีพที่จำเป็น เราจะรวบรวมเงินบริจาคสูงสุดเป็นจำนวน 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งทั้งหมดจะถูกส่งมอบให้กับเซฟ เดอะ ชิลเดรน ต่อไป"

       เป็นอันชัดเจน ว่า ข้อความที่ปรากฏขอให้ช่วยกันบริจาคเงินช่วยพม่านั้น "เป็นของจริง" ก็ไม่อยากให้ใครที่เห็นข้อความแล้วตกใจ นึกว่าเฟซบุ๊กของตัวเองถูกแฮก ซึ่งจริงๆ แล้ว แคมเปญลักษณะนี้ของเฟซบุ๊กเกิดขึ้นมาได้ระยะหนึ่งแล้ว เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ โดยเฟซบุ๊กจะขึ้นข้อความบนหน้าฟีดของข่าว เพื่อให้ผู้ใช้เฟซบุ๊กได้ช่วยกันบริจาคเงินช่วยเหลือในเหตุการณ์ต่างๆ

       อย่างล่าสุด เมื่อตอนที่เนปาลประสบภัยแผ่นดินไหว ทางเฟซบุ๊กเองก็เคยทำอย่างนี้มาแล้วเหมือนกัน โดยครั้งนั้นเป็นการบริจาคเงินให้แก่อินเตอร์เนชั่นแนล เมดิคอล คอร์ปส์

       ถือเป็นการใช้โลกสังคมออนไลน์ให้เกิดประโยชน์ในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วย กันได้เป็นอย่างดีทีเดียว เพราะโลกสังคมออนไลน์ถือเป็นโลกที่การกระจายข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เฉพาะในกลุ่มเราเท่านั้น แต่มันยังแผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วทั่วโลกด้วย ถือเป็นเครื่องมือที่มีทั้งในด้านดีและด้านเสีย เพราะถ้านำมาใช้ในด้านดี ก็จะเกิดประโยชน์อย่างมาก แต่ถ้าใช้ในด้านลบ ก็จะเกิดผลเสียหายอย่างใหญ่หลวงทีเดียว

       พอดีกับที่ทางเฟซบุ๊ก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสังคมออนไลน์ที่ครอบคลุมผู้ใช้งานจำนวนกว่าพันล้านคนทั่ว โลกออกข้อแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการใช้เฟซบุ๊กให้สนุกและปลอดภัยในเวลาเดียว ก็เลยขอหยิบมาให้ได้อ่านกัน

เริ่มจากความสนุกกันก่อน จากความสนุกในการแบ่งปันภาพต่างๆ นั้น รู้หรือเปล่าว่าเฟซบุ๊กเขาให้คุณสามารถปรับแต่งภาพสวยๆ ได้ก่อนแชร์ออกไปแล้ว ทั้งบนหน้าจอคอมพิวเตอร์และบนโทรศัพท์มือถือ

       รวมไปถึงการตกแต่งด้วยสติ๊กเกอร์ต่างๆ ที่สามารถดาวน์โหลดมาได้ฟรีให้ใช้งานกันมากมาย เพื่อนำมาตกแต่งบนภาพก่อนแชร์ได้ด้วย หรือถ้าอยากเติมตัวอักษร ก็เลือกไปที่ไอคอน Text เพื่อสร้างข้อความ และนำภาพเก่ามาเล่าใหม่ ใส่คำบรรยายลงไป

       มาถึงเฟซบุ๊ก โฟโต้ ที่จะไม่ทำให้ใครพลาดโอกาสสนุก โดยใช้อัลบั้มร่วมกับเพื่อนและครอบครัว เพื่อแลกเปลี่ยนรูปสนุกๆ ตลอดทั้งปี ด้วยการไปที่อัลบั้มที่เคยสร้างไว้ แล้วกดเลือก Make Shared Album ที่มุมบนซ้าย หลังจากนั้น ก็เลือกผู้ที่มีส่วนร่วมและกลุ่มคนที่เข้าถึงอัลบั้มนั้น ทุกคนที่คุณแท็กจะสามารถเห็นอัลบั้มหรือไม่นั้น ก็จะขึ้นอยู่กับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของแต่ละคน

       หรือจะเป็น เฟซบุ๊ก เมสเซนเจอร์ อีกวิธีที่เชื่อมต่อคุณกับเพื่อน แม้ในยามที่ต้องเดินทาง คุณก็สามารถถ่ายภาพและวิดีโอได้ทันทีจากโทรศัพท์มือถือ เพื่ออวดเพื่อนๆ ได้ นอกจากนี้ ก็ยังสามารถใช้คุยกับเพื่อผ่านวิดีโอคอลและออดิโอคอลแบบกลุ่มได้อีกด้วย

       ทีนี้ มาถึงเรื่องของความปลอดภัย เกี่ยวกับการควบคุมความเป็นส่วนตัวกันบ้าง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าช่วงเวลาแห่งความสุขและข้อมูลต่างๆ จะได้รับการแชร์ไปถึงเฉพาะคนที่คุณต้องการเท่านั้น เฟซบุ๊กก็มีวิธีการง่ายๆในการใช้งานได้อย่างสบายใจ มาดูกัน

       ข้อแรก การตั้งค่าความปลอดภัยของเฟซบุ๊กจะช่วยให้คุณควบคุมว่าใครสามารถเข้ามาอ่าน ไทม์ไลน์ ข้อมูลส่วนตัว โพสต์และภาพต่างๆ ของคุณ คุณสามารถเลือกที่กำหนดสิทธิต่างๆ แก่เพื่อนหลากหลายกลุ่ม ควบคุมความสามารถในการแบ่งปันข้อมูลของแอพพลิเคชั่นต่างๆ การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวนั้นสามารถทำได้ที่เมนู Privacy Shortcuts ที่มุมขวาบนของเพจ

       ข้อต่อมา อยากรู้หรือไม่ว่าโปรไฟล์และไทม์ไลน์นั้นหน้าตาเป็นอย่างไร เมื่อตั้งค่าเป็นสาธารณะ หรือมุมมองของบุคคลที่เจาะจง โดยกดเลือก View As ที่ด้านบนของเพจ เพื่อช่วยให้คุณแน่ใจว่าคุณตั้งค่าไทม์ไลน์ไว้ถูกต้องแล้ว

       และสุดท้าย เมื่อเจอภาพของตัวเองที่น่าไม่พอใจแล้วอยากให้ลบภาพนั้นออกไป ก็แค่เลือก "I don?t like this photo" จากเมนู Option และเลือกเหตุผลที่ต้องการเอาออก และแจ้งข้อความส่วนตัวแก่ผู้ที่โพสต์ภาพนั้น

       ท้ายสุดสำหรับการเล่น เฟซบุ๊กอย่างปลอดภัยคือ เรื่องของการ "คิดก่อนแชร์" เพราะอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคนไปแล้ว ฉะนั้น มารยาทและจิตสำนึกในการใช้จึงไม่ต่างจากการใช้ชีวิตปกติ ก่อนที่จะแชร์อะไรก็ตามบนเฟซบุ๊กควรหยุดคิดและพิจารณาให้ดีว่าสิ่งที่คุณ ต้องการแสดงออกนั้นจะละเมิดสิทธิหรือเป็นการคุกคามคนอื่นหรือไม่

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook