20 ข้อควรปฎิบัติ กับมารยาทในการเล่น Facebook ที่คุณควรรู้

20 ข้อควรปฎิบัติ กับมารยาทในการเล่น Facebook ที่คุณควรรู้

20 ข้อควรปฎิบัติ กับมารยาทในการเล่น Facebook ที่คุณควรรู้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

20 ข้อควรปฎิบัติ กับมารยาทในการเล่น Facebook ที่คุณควรรู้

เป็นเพียง ข้อควรปฏิบัติ” สำหรับการใช้เฟซบุ๊กอย่าง สร้างสรรค์”ไม่ใช่ ข้อบังคับ” อะไร แต่ถ้าทำได้ก็จะดีไม่น้อย

1. ควรใช้ถ้อยคำสุภาพ หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำหยาบคายระดับรุนแรง คำด่าระดับรุนแรง

หากจำเป็นต้องใช้ ควรเปลี่ยนเสียงพยัญชนะหรือใส่จุดแทนพยัญชนะบางตัว เช่น เ…ี้ย เป็นต้น

2. เมื่อแอดใครไป เขารับแอดแล้ว ควรไปโพสต์ขอบคุณ ยินดีที่ได้รู้จัก และ แนะนำตัวสำหรับคนที่เพิ่งได้รู้จักกัน หรือ

แม้แต่คนที่รู้จักกันอยู่แล้วก็ควรเข้าไปทักทาย

3. ไม่ควรสอดรู้สอดเห็นเรื่องส่วนตัว เรื่องแฟนหรือเรื่องในครอบครัวของเพื่อนในเฟซบุ๊กเว้นแต่เจ้าตัวไม่ประสงค์จะปกปิด

4. ควรไปอวยพรวันเกิดเพื่อนในเฟซบุ๊ก (หรือเฉพาะคนที่เรารู้จักตัวจริง) อย่าได้บกพร่อง ถ้าลืมก็ควรไปอวยพรย้อนหลัง

5. ถ้าไม่อยากใช้รูปตัวเองเป็นรูปโพรไฟล์ ควรมีรูปจริงของตัวเองอยู่ในอัลบั้มรูปอื่น ๆ ให้สำหรับคนที่เราแอดไปดูได้ว่าเราคือใคร

6. ควรระบุบอกให้แน่ชัดว่าเจ้าของเฟซเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย

7. กด like หรือ ถูกใจ เมื่อชอบ การแสดงความคิดเห็นควรดูทิศทางลมให้ดี

การแสดงความเห็นต่างสามารถทำได้ แต่ไม่ควรกวนประสาทเจ้าของโพสต์

8. การ share หรือ แบ่งปัน link โพสต์หรือรูปภาพของผู้อื่นควรบอกกล่าวขอแชร์ก่อน หรือ

อย่างน้อยที่สุดควรกด like ให้ก่อน (เพราะบางครั้งเจ้าของโพสต์ต้องการให้รับรู้เฉพาะกลุ่มเพื่อนในเฟซ)

9. ผู้บังคับบัญชา ผู้ปกครอง ไม่ควรใช้เฟซบุ๊กเพียงเพื่อ “ส่อง” ผู้ใต้บังคับบัญชาและลูกหลาน

10. ไม่ควรแอดใครไปยังกลุ่ม (group) ใด ๆ โดยไม่ถามความสมัครใจของเจ้าตัวก่อน และเมื่อขอเข้ากลุ่มใดและผู้ดูแลกลุ่มอนุมัติแล้วควรเข้าไปขอบคุณ และ แนะนำตัว หรือฝากตัวทันที การพูดคุยสนทนาในกลุ่มควรให้เกียรติและเคารพในความเห็นของบุคคลอื่น

11. ไม่แอดใครสุ่มสี่สุ่มห้า หรือแอดดะ ควรแอดเฉพาะคนที่รู้จักกันมาก่อน หรือคนที่เป็นเพื่อนของเพื่อน

หากต้องการแอดคนที่มีความสนใจร่วมกันแต่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน หากเขาไม่รับแอดก็อาจส่งข้อความ (หลังไมค์) ไปแนะนำตัว

12. ไม่ควรแอดเฟซบุ๊กส่วนตัวของบุคคลสาธารณะ เช่น ดารา นักร้อง นักแสดง นักการเมือง นักกีฬา ควรหาแฟนเพจ (Fan page) แล้ว

กด like หน้าเพจนั้น ในทางกลับกันบุคคลสาธารณะข้างต้น รวมถึงบริษัทห้างร้าน หน่วยงาน รายการโทรทัศน์ ก็ไม่ควรใช้บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว

ในการสื่อสารกับลูกค้าและแฟนรายการ ควรตั้งเป็นแฟนเพจต่างหาก

13. ระวังบุคคลที่แอดมา โดยมีข้อน่าสงสัยว่าจะเป็นพวก tag โฆษณา หรือ พวกสร้างตัว“อวตาร” (Avatar) คือ

ใช้รูปโพรไฟล์เป็นบุคคลอื่นและพยายามแสดงออกด้วยบุคคลิกของบุคคลอื่นนั้น

14. ไม่ควร tag รูปที่ไม่ได้มีลักษณะเหมือนหรือใกล้เคียงกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของเพื่อน

เพราะเมื่อมีคนมาเม้นท์เยอะอาจสร้างความรำคาญให้เพื่อนที่ถูก tag ได้

15. เรื่องสำคัญที่อาจเป็นความลับ หรือเรื่องที่เพื่อนไม่อยากให้คนอื่นรู้ ไม่ควรโพสต์ถามหน้าวอล ควรส่งข้อความไปหาหลังไมค์

16. ไม่ควรส่งคำเชิญ หรือคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับเกมส์ไปยังเพื่อนที่ไม่ได้เล่นเกมส์นั้น เพราะ สร้างความรำคาญอย่างมาก

17. ไม่ควรชวนเพื่อนคุยในเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับโพสต์นั้น เพราะคนที่มาเม้นท์ก่อนหน้าอาจรู้สึกรำคาญได้

18. การกดไลก์เป็นการให้กำลังใจกับผู้โพสต์ทางหนึ่ง ถ้าไม่รู้จะเม้นท์อะไร

19. ควรใช้เฟซบุ๊กให้ตรงกับคุณสมบัติของแต่ละกลไก บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว แฟนเพจ กรุ๊ป มีความแตกต่างกันในแง่ของการใช้งาน

บัญชีเฟซบุ๊กส่วนตัว เป็นเรื่องส่วนตัวของเราโดยแท้ เป็นพื้นที่ของเราที่เรามีเสรีภาพทางความคิด และ

การแสดงออกอย่างเต็มที่เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดี เป็นสิ่งที่ไว้ใช้ติดต่อกับญาติพี่น้อง เพื่อนฝูงและคนรู้จัก

แฟนเพจ มีไว้สำหรับแฟนคลับที่มีความสนใจร่วมกันในบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งร่วมกัน

กรุ๊ป มีไว้พูดคุยในกลุ่มวงของเพื่อน ชมรม หรือผู้สนใจเรื่องเดียวกันที่ต้องการ “จำกัด” หรือ “คัดกรอง” สมาชิก

20. ทุกอย่างมี  “ขอบเขต”  มี “เส้นแบ่ง” การคบกันบนเฟซบุคไม่ควร “ล้ำเส้น” กัน

ที่มา : ติ๊ก ลูกทุ่งคนยาก

ขอบคุณเนื้อหา และภาพประกอบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook