เทคโนโลยี "วีทีโอแอล" กับเฮลิคอปเตอร์ในอนาคต

เทคโนโลยี "วีทีโอแอล" กับเฮลิคอปเตอร์ในอนาคต

เทคโนโลยี "วีทีโอแอล" กับเฮลิคอปเตอร์ในอนาคต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เทคโนโลยี "วีทีโอแอล" กับเฮลิคอปเตอร์ในอนาคต

"วีทีโอแอล" เป็นเทคโนโลยีการบินแบบหนึ่ง ย่อมาจากคำเต็มๆ ในภาษาอังกฤษว่า "เวอร์ติคอล เทคออฟ แอนด์ แลนดิ้ง" หมายถึงเครื่องบินที่สามารถขึ้นบินและลงจอดในแนวดิ่งได้ เครื่องบินที่ใช้เทคโนโลยีนี้ที่เรารู้จักกันดีคือ "เฮลิคอปเตอร์" นั่นเอง

ถ้าไม่นับเฮลิคอปเตอร์แล้ว อากาศยานวีทีโอแอลที่พัฒนาขึ้นมาใช้งานแล้วก็ยังมี วี-22 ออสเปรย์ เครื่องบินที่ใช้ "ปีกหมุนแบบเอียง" (ทิลท์-โรเตอร์) บรรทุกทหารได้ราว 20-24 นาย พิสัยการบิน 1,000 นอติคอลไมล์ที่ความเร็ว 250 ไมล์ต่อชั่วโมง (ราว 400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ออสเปรย์ เป็นเครื่องบินที่พัฒนาขึ้นหลังเเกิดเหตุล้มเหลวในการชิงตัวประกันในสถานทูตสหรัฐอเมริกา ณ กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน ในปี 1980 เมื่อเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ลำเลียงพลเพื่อปฏิบัติภารกิจตามยุทธการดังกล่าว 3 ในจำนวน 8 ลำ เกิดขัดข้องและล้มเหลวไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ตามแผน ส่งผลให้กองทัพสหรัฐอเมริกามุ่งมั่นในการพัฒนา "เครื่องบิน"

ที่มี "สปีด" และ "พิสัยทำการ" แบบเดียวกับเครื่องบินเจ็ต แต่สามารถบินขึ้นและลงในแนวดิ่งได้เหมือนเฮลิคอปเตอร์ขึ้นมา ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือ เจ้าออสเปรย์ฝูงหนึ่งขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม วี-22 ออสเปรย์ กลายเป็นเทคโนโลยีที่ไม่มีการพัฒนาให้รุดหน้าไปอีกเลยนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ระยะเวลามากกว่า 20 ปี

ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า การรบในสงครามสมัยใหม่ (โมเดิร์น วอร์แฟร์) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุทธภูมิและสภาวะแวดล้อมที่จำกัดจำเขี่ย ยิ่งเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นของการใช้เครื่องบิน "วีทีโอแอล" นี้มากยิ่งขึ้นกว่าเมื่อก่อนด้วยซ้ำไป ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ การจู่โจมเพื่อ "จับตาย"

โอซามา บิน ลาเดน ในแหล่งหลบซ่อนในปากีสถาน เป็นต้น ทำให้การพัฒนาวีทีโอแอลกลายเป็นความจำเป็นที่มีลำดับความสำคัญสูงสุดสำหรับกองทัพอเมริกันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง

กองทัพ"บก" ของสหรัฐอเมริกา เริ่มดำเนินการ 2 โครงการไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่เมื่อบรรลุผล จะกลายเป็นการปรับปรุงขีดความสามารถของอากาศยาน วีทีโอแอล ขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง ทั้งในเรื่องของ สปีด, พิสัยทำการ และ ประสิทธิภาพในการลอยตัวนิ่งกลางอากาศ

โครงการแรก เป็นโครงการของกองทัพโดยตรง เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมปีนี้ ด้วยการเปิดรับ "การออกแบบ" สำหรับ "เทคโนโลยี" ที่จะใช้เป็นส่วนหนึ่งของ เจเนอเรชั่นที่สองของวีทีโอแอล หรือ โรเตอร์คราฟท์ ในอนาคต มีเอกชน 3 รายด้วยกัน นำเสนอรูปแบบมาให้กองทัพพิจารณา รายแรกเป็นการจับมือกันระหว่าง ไซคอร์สกี้ กับ โบอิ้ง ทำข้อเสนอร่วมกันโดยใช้แบบที่มี "เอ็กซ์2 โรเตอร์" เครื่องบินปีกหมุนของไซคอร์สกี้ เป็นต้นแบบ รายที่สอง เป็นมือเก่าเล่ายี่ห้อเช่นเดียวกัน นั่นคือ เบลล์ เฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมพัฒนา วี-22 ก็ใช้ออสเปรย์นั่นเองเป็นต้นแบบ พัฒนา ทิลท์-โรเตอร์ ขึ้นไปอีกระดับ สุดท้าย เป็น "อีเอดีเอส" บริษัทผู้ผลิตอากาศยานแห่งยุโรป นำเสนองานออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานของ "เอ็กซ์3" เครื่องบินวีทีโอแอลที่อยู่ระหว่างการทดลองบินของบริษัท "ยูโรคอปเตอร์"

ก่อนหน้านั้นในเดือนกุมภาพันธ์ต้นปีนี้ ทาง "ดาร์ปา" หรือ สำนักงานเพื่อการวิจัยก้าวหน้าด้านกลาโหม ในสังกัดกองทัพบกเช่นเดียวกัน ก็เริ่มเชิญชวนให้วิศวกรการบินทั้งหลายคิดค้นโครงการผลิต อากาศยานวีทีโอแอล ที่ออกแบบใหม่โดยสิ้นเชิงตั้งแต่ต้นจนจบมูลค่า 130 ล้านดอลลาร์ ขึ้นมาให้พิจารณา อากาศยานแบบใหม่นี้ตามนัยของดาร์ปานี้ จะเป็นเครื่องบินปีกตายตัว (ฟิกซ์วิง) ก็ได้ หรือจะเป็นปีกหมุนก็ได้ จะเป็นลูกครึ่งระหว่างสองอย่างนี้ก็ได้อีกเช่นกัน มีข้อแม้ว่าต้องขึ้นลงในแนวดิ่งเท่านั้น

ทั้งสองโครงการมีกำหนดให้ต้อง "บินทดสอบ" กันในปี 2017 ที่จะถึงนี้แล้ว

ถึงตอนนั้น วีทีโอแอลคงพัฒนาไปอีกมากโขเลยทีเดียว

ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook