การลดธงครึ่งเสาอย่างถูกต้อง ควรทำอย่างไร เพื่อแสดงความเคารพหรือการไว้ทุกข์

การลดธงครึ่งเสาอย่างถูกต้อง ควรทำอย่างไร เพื่อแสดงความเคารพหรือการไว้ทุกข์

การลดธงครึ่งเสาอย่างถูกต้อง ควรทำอย่างไร เพื่อแสดงความเคารพหรือการไว้ทุกข์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธรรมเนียมการชักธงเพียงครึ่งเสา เริ่มต้นขึ้นเมื่อหลายศตวรรษก่อน เพื่อให้ธงแห่งความตายที่มองไม่เห็น (the invisible flag of death) ได้ชักอยู่บนยอดเสาธงนั้น อันหมายความถึงพลังอำนาจ การมีอยู่ และการปรากฏของความตาย

สำหรับวิธีการลดธงครึ่งเสานั้น จะต้องเชิญธงขึ้นไปสู่ยอดเสาเสียก่อน จากนั้นจึงลดธงลงมาอยู่ในระดับครึ่งเสา หรือตามระดับอื่นที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นอกจากนั้น เมื่อจะมีการเชิญธงจากยอดเสาในเวลาสิ้นสุดของวัน จะต้องเชิญธงกลับขึ้นไปที่ยอดเสาเสียก่อน จึงจะลดธงได้เช่นกัน

การไว้ทุกข์ด้วยธงชาติสำหรับบางประเทศยังอาจมีธรรมเนียมที่ต่างออกไป เช่น ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น จะมีการเพิ่มแถบผ้าสีดำไว้เหนือธงชาติ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการไว้ทุกข์

การลดธงครึ่งเสาเพื่อแสดงความไว้อาลัยต่อการสูญเสียบุคคลสำคัญของประเทศครั้งแรกในสยามเกิดขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อคราวสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีสวรรคต (ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระนางรำเพยภมราภิรมย์ สิ้นพระชนม์) เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2404 บรรดาฝรั่งลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน

สำหรับประเทศไทย การลดธงครึ่งเสา จะมีคำสั่งจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรณีไป หากเป็นบุคคลสำคัญในประเทศ ก็ให้ลดธงครึ่งเสา เป็นเวลาตามกำหนด ให้สมเกียรติกับฐานันดรศักดิ์ ส่วนหากเป็นบุคคลสำคัญต่างประเทศ ส่วนมากแล้ว ทางรัฐบาล จะประกาศให้ลดธงครึ่งเสา เป็นเวลา 3 วัน

การลดธงครึ่งเสา

การลดธงครึ่งเสา (อังกฤษ: half-staff, half-mast) หมายถึง การชักธงขึ้นที่เสาธงใดๆ เพียง 1 ใน 3 หรือ 2 ใน 3 ของความยาวเสาธงหรือเสาธงเรือ (ขึ้นอยู่กับกรณีตามที่แต่ละประเทศกำหนด) เพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงความเคารพหรือการไว้ทุกข์ ต่อผู้ตาย ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ

 การลดธงชาติครึ่งเสาอย่างถูกต้องการลดธงชาติครึ่งเสาอย่างถูกต้อง 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook