“เมื่อคิดแต่ว่าไม่ถึง” และยิ่งคิดถึง นี่คือวิธีรับมือ

“เมื่อคิดแต่ว่าไม่ถึง” และยิ่งคิดถึง นี่คือวิธีรับมือ

“เมื่อคิดแต่ว่าไม่ถึง” และยิ่งคิดถึง นี่คือวิธีรับมือ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ธรรมชาติของมนุษย์นั้นถูกสร้างมาให้เป็นสัตว์สังคมและสร้างความสัมพันธ์ เมื่อเกิดความสัมพันธ์แล้วจะเกิดความเชื่อมโยงระหว่างกัน และส่งให้แต่ละฝ่ายมีความรู้สึกที่เรียกว่า “ความคิดถึง” เมื่อแต่ละฝ่ายไม่ได้เจอกันเป็นเวลานานหรือต้องห่างกันด้วยเหตุผลนานัปการ ทำให้ต้องถูกปล่อยให้อยู่อย่างโดดเดี่ยว และด้วยเหตุนี้จึงเกิดความรู้สึก “คิดถึง” ขึ้นมา

การแก้ปัญหาความคิดถึงอาจทำได้โดยง่ายเพียงแค่ยกเครื่องมือสื่อสารขึ้นมาพูดคุยกับอีกฝ่าย หรือการเดินทางไปเยี่ยม แต่ในความเป็นจริงอาจไม่ได้ง่ายเหมือนในทฤษฎี เพราะแต่ละคนต่างมีเหตุผลแตกต่างกันออกไป วันนี้ Tonkit360 จึงมีวิธีให้คุณรับมือกับความคิดถึง ว่าทำอย่างไรจึงจะช่วยให้คุณผ่านพ้นความเจ็บปวดของอาการทางใจแบบนี้ไปได้

เอาเวลาที่คิดถึงหันกลับมาดูแลตนเอง

ความรู้สึกคิดถึงนั้นแสนจะทรมาน ยิ่งผูกพันกันมากก็ยิ่งคิดถึงมาก และส่งผลต่ออารมณ์เป็นอย่างยิ่ง แต่คุณก็ไม่จำเป็นที่ต้องอยู่กับความคิดถึงด้วยการนั่งเหม่อลอย หรือนึกถึงแต่อดีตที่เคยทำร่วมกันตลอดเวลา แต่อย่าได้ปฏิเสธความรู้สึกคิดถึง ปล่อยให้มันอยู่อย่างนั้นในใจและคุณเองก็รู้ว่ากำลังคิดถึงใคร หากแต่ไม่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์

แต่ทำให้ตนเองมีความสุขด้วยการหันกลับมาดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับพักผ่อนด้วยจิตใจที่สงบ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และช่วยส่งผลให้อารมณ์ดี ออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายจากความคิดถึงได้มาก หันไปดูคนรอบข้างที่รักคุณและพร้อมจะช่วยเหลือคุณมากกว่านั่งคิดถึงคนที่ไม่เคยนึกถึงคุณ

ให้เวลากับตนเองในการเรียนรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้น

การเพิกเฉยต่อความรู้สึกเจ็บปวดอันเกิดจากความคิดถึงนั้นเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดต่อการรักษาความคิดถึงให้หายคิดถึง แต่วิธีการดังกล่าวไม่ใช่วิธีที่ดีนัก เพราะจะส่งผลตรงกันข้ามในความรู้สึก เพราะถ้ามีอะไรมาสะกิดใจคุณให้ความคิดถึงนั้นกลับมา การกดทับความรู้สึกเอาไว้ก่อนหน้านี้ก็จะระเบิดออกมามากกว่าเดิม ดังนั้น การยอมรับว่าตนเองคิดถึง และให้เวลากับตนเองเพื่อทำความเข้าใจความรู้สึกดังกล่าวจะเป็นหนทางที่ดีที่สุด

โดยยอมรับความจริงว่าคุณกำลังอยู่กับอารมณ์และความรู้สึกใดบ้างในระหว่างที่รู้สึกคิดถึง รัก เศร้า หรือโกรธ มองอารมณ์ของตนเองโดยไม่ต้องใส่ความรู้สึก จากนั้นทำความเข้าใจด้วยการพูดคุยกับตนเองและโอบกอดตนเอง อาจจะบอกว่า “การก้าวข้ามความรู้สึกนี้อาจจะยาก แต่สุดท้ายทุกอย่างจะดีขึ้น” เป็นประโยคปลอบใจตนเองที่น่าจะดีกว่า “เขาจากไปแล้ว ฉันทำใจได้สบายมาก” เพราะแท้จริงแล้วคุณไม่ได้รู้สึกอย่างนั้นจริง

มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นบ้าง

ความรู้สึกคิดถึงนั้นเป็นการอธิบายได้ดีว่าคนคนนั้นรู้สึกโดดเดี่ยวมากเพียงไหน และเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเช่นนั้นจนกว่าจะมีใครเข้ามาเติมความรู้สึกโดดเดี่ยวให้กับคุณได้ ซึ่งตรงนี้เพื่อนหรือคนในครอบครัว ล้วนแล้วแต่เป็นกลุ่มคนที่รักคุณและพวกเขาสามารถเติมความรู้สึกนี้ได้

คุณสามารถระบายความคิดถึงให้เขาฟังได้ พวกเขาอาจให้คำปรึกษาหรือพาคุณออกจากพฤติกรรมที่รู้สึกซึมเศร้าเพราะความคิดถึง ขณะเดียวกันการได้พูดคุยกับคนอื่นในสังคมอื่น หรือฟังปัญหาของคนอื่นจะช่วยให้ความรู้สึกคิดถึงของคุณนั้นลดลงมากกว่าเดิม เพราะคุณจะเห็นว่าอีกหลายคนบนโลกใบนี้แบกรับภาระเอาไว้มากกว่าความรู้สึกคิดถึงที่คุณมี

พาตัวเองไปทำกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่คุณชอบ

งานอดิเรกหรือกิจกรรมยามว่างจะช่วยเพิ่มความรู้สึกที่ดีต่อตัวคุณเอง และจะเป็นตัวช่วยรักษาความรู้สึกคิดถึงได้เป็นอย่างดี เหมือนที่มีคนบอกว่าหาอะไรทำเพลิน ๆ ก็จะลืมความคิดถึงไปได้ชั่วขณะ แต่บางคนอาจจะกลัวที่จะไปเรียนรู้สิ่งใหม่ รู้สึกยากถ้าต้องไปเริ่มต้นคนเดียว ดังนั้น ลอกเลือกทำกิจกรรมที่ไม่ต้องไปร่วมกับผู้คนแปลกหน้าไปก่อนก็ได้ อาทิ จัดบ้านใหม่ ทำงานฝีมือ เขียนหนังสือ ไปเล่นกีฬากลางแจ้ง หรือกิจกรรมกลางแจ้ง ทั้งหมดนี้คุณจะผ่อนคลายความคิดถึงมากกว่าเดิม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook