30 มีนาคม "วันไบโพลาร์โลก" World Bipolar Day

30 มีนาคม "วันไบโพลาร์โลก" World Bipolar Day

30 มีนาคม "วันไบโพลาร์โลก" World Bipolar Day
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

bipolar

วันนี้เป็นวันสำคัญอีกหนึ่งวัน วันของโรคไบโพลาร์ (World Bipolar Day) Sanook! Campus จะพาไปรู้จักและเข้าใจถึงโรค ไบโพลาร์ และ การควยคุมรักษาโรคนี้ รวมถึงการเข้าใจและให้กำลังใจ

โรคไบโพลาร์ เป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้วของคนที่เหวี่ยงไปเหวี่ยงมาจนยากจะควบคุมซึ่งโรคนี้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในปัจจุบัน ทั้งต่อตนเอง คนรอบข้าง และการเข้ากับสังคม โรคนี้เป็นโรคหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีผู้ป่วยโรคนี้ถึงอันดับ 6 ในโรคทั้งหมด และรวมทั้งโรคนี้ยังทำให้เกิดความสูญเสียที่ไม่คาดคิดขึ้นอีกด้วย

วันไบโพลาร์กำเนิดขึ้นเพื่อ ให้สังคมตระหนักและเข้าใจถึงโรคนี้ และความสำคัญของโรค นั่นเอง

 

อาการของผู้ป่วยจะเป็นอย่างไร บางช่วงผู้ป่วยอาจซึมเศร้า บางช่วงอารมณ์ดี ครึกครื้น หรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ

ช่วงซึมเศร้า (depressive episode) จะมีอาการต่อไปนี้ โดยเป็นเกือบทั้งวัน ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ คือ

1. มีอารมณ์ซึมเศร้า (ในเด็กและวัยรุ่นอาจเป็นอารมณ์หงุดหงิดก็ได้) ผู้ป่วยจะรู้สึกเบื่อหน่ายท้อแท้

2. ความสนใจหรือความเพลินใจในกิจกรรมต่างๆ แทบทั้งหมดลดลงอย่างมาก อะไรที่เคยชอบทำก็จะไม่อยากทำ แรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ก็จะลดลง

3. น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้นมาก (น้ำหนักเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 5 ต่อเดือน) หรือมีการเบื่ออาหาร หรือเจริญอาหารมาก

4. นอนไม่หลับ อาจมีอาการนอนหลับยาก หรือนอนแล้วตื่นเร็วกว่าปกติ อาจนอนหลับๆตื่นๆ ทำให้รู้สึกไม่สดชื่น หรือผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการนอนหลับมากไป ต้องการนอนทั้งวัน กลางวันหลับมากขึ้น

5. กระวนกระวาย อยู่ไม่สุข หรือเชื่องช้าลง

6. อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรงไม่อยากทำอะไร

7. รู้สึกตนเองไร้ค่า บางรายอาจรู้สึกสิ้นหวัง มองสิ่งรอบ ๆ ตัวในแง่มุมที่เป็นลบไปหมด รวมถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงด้วย

8. สมาธิ และความจำแย่ลง

9. คิดเรื่องการตาย คิดอยากตาย

ช่วงอารมณ์ดี ครึกครื้น หรือหงุดหงิดง่ายกว่าปกติ หรือ แมเนีย (manic episode) จะมีอาการต่อไปนี้

1. ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ร่าเริงมีความสุข เบิกบานใจ หรือหงุดหงิดง่าย ซึ่งญาติใกล้ชิดของผู้ป่วยมักจะสังเกตได้ว่าอารมณ์ของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจนผิดปกติ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นติดต่อกันทุกวันอย่างน้อย 1 สัปดาห์

2. มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น ผู้ป่วยอาจจะมีความเชื่อมั่นว่าตนเองมีความสามารถมาก เชื่อว่าตนเองสำคัญ และยิ่งใหญ่ หรืออาจมีเนื้อหาของความคิดผิดปกติมาก ถึงขั้นว่าตนเองสำคัญหรือยิ่งใหญ่ เช่น เชื่อว่าตนเองมีอำนาจมาก หรือมีพลังอำนาจพิเศษ เป็นต้น

3. การนอนผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีความต้องการในการนอนลดลง เช่น อาจรู้สึกว่านอนแค่ 3 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว เป็นต้น

4. ความคิดแล่นเร็ว (flight of idea) ผู้ป่วยจะคิดค่อนข้างเร็ว บางครั้งคิดหลาย ๆ เรื่องพร้อม ๆ กัน คิดเรื่องหนึ่งไม่ทันจบก็จะคิดเรื่องอื่นทันที บางครั้งอาจแสดงออกโดยการมีโครงการต่าง ๆ มากมาย

5. พูดเร็วขึ้น เนื่องจากความคิดของผู้ป่วยแล่นเร็ว จึงส่งผลต่อคำพูด ผู้ป่วยมักจะพูดเร็ว และขัดจังหวะได้ยาก ยิ่งถ้าอาการรุนแรงคำพูดจะดัง และเร็วขึ้นอย่างมากจนบางครั้งยากต่อการเข้าใจ

6. วอกแวกง่าย ผู้ป่วยจะไม่ค่อยมีสมาธิอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน และความสนใจมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้าภายนอกที่เข้ามากระตุ้น

7. การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น ในผู้ป่วยบางรายจะทำกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดเวลา ทั้งที่ทำงาน ที่โรงเรียน หรือที่บ้าน มีการเคลื่อนไหวเพิ่มมากขึ้นชัดเจน ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้

8. ยับยั้งชั่งใจไม่ได้ ผู้ป่วยอาจจะแสดงพฤติกรรมที่เกิดจากการยับยั้งชั่งใจไม่ได้ เช่น ดื่มสุรามากๆ โทรศัพท์ทางไกลมากๆ เล่นการพนัน หรือเสี่ยงโชคอย่างมาก ใช้เงินมากขึ้นได้

ซึ่งการรักษานั้น ต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างจริงจัง พร้อมกะยาควบคู่กันไป เพราะเนื่องจากโรคไบโพลาร์นี้จะเป็นโรคเรื้อรัง จะใช้ยาจะเป็นส่วนหนึ่งในการควบคุมมันได้ 

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นให้อาการเป็นซ้ำ เช่น การอดนอน การใช้ยาเสพติด หรือความเครียด เป็นต้น

ซึ่งโรคนี้เป็นอีกหนึ่งโรคที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะในปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคนี้อยู่หลายราย ดังนั้น วันไบโพลาร์ เป็นอีกวันหนึ่งที่ทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจและยอมรับผู้ป่วย ด้วยความรู้ ความเข้าใจ ได้เป็นอย่างดี โดยกิจกรรมในวันนี้ก็จะเป็นการรณรงค์ให้ความรู้แก่คนทั่วไป มีการสร้างกิจกรรมต่างๆ และการแนะนำของผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook