ฟื้นเอ็นทรานซ์!? ศธ.เตรียมเลิก “แอดมิชชั่น”

ฟื้นเอ็นทรานซ์!? ศธ.เตรียมเลิก “แอดมิชชั่น”

ฟื้นเอ็นทรานซ์!? ศธ.เตรียมเลิก “แอดมิชชั่น”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันที่ 26 ส.ค. 59 นพ.สรนิต ศิลธรรม รองเลขาฯ กทอ. เผยในรายการเจาะลึกทั่วไทย อินไซต์ไทยแลนด์ ของสถานีข่าวสปริงนิวส์ ถึงประเด็น : ศธ. เตรียมเลิกแอดมิชชั่น "ย้อนใช้เอ็นทรานซ์" ว่า

"ไม่ใช่เอ็นทรานซ์เหมือนเดิม เป็นการปรับปรุงระบบทุกอย่างให้ตรงกับยุคสมัยมากขึ้น"

โดยวานนี้ ได้มีการประชุมเบื้องต้นถึงเรื่องนี้ และมีหลักการด้วยกัน 4 ข้อ คือ 1.อยากให้นักเรียน ม.6 เรียนอยู่ในห้องเรียนจนกระทั่งจบนานที่สุด เพราะฉะนั้นจะไม่มีการสอบก่อนเดือน มี.ค. เพราะเด็กจะสอบจบประมาณปลายเดือน ก.พ. มหกรรมการสอบจะเริ่มเดือน มี.ค. และ เม.ย. 2.ให้ทุกมหาวิทยาลัยใช้ข้อสอบกลางร่วมกัน ซึ่งยังคล้ายๆ ของเดิม ยังมีการสอบ O-NET สอบ GAT/PAT สอบวิชาเฉพาะ สอบวิชาสามัญ 9 วิชา ซึ่งแต่เดิมการสอบ GAT-PAT มีการสอบ 2 ครั้ง ตอนนี้จะเหลือครั้งเดียว และเด็กจะเก็บคะแนนไว้ 3. ถ้ามหาลัยเปิดสอบ จะมีการคัดเลือกแบบโควตา แต่ขอให้มีเหตุผล เช่น โควตาภาคเหนือ โควตานักศึกษาพิเศษ ให้มาอยู่ในช่วงหลังเดือน มี.ค. หลักการที่ 4 คือ เด็กก็มีสิทธิ์ มหาลัยก็มีสิทธิ์ เพราะฉะนั้น เด็กก็จะรู้คะแนนก่อน และก็จะเอาคะแนนไปยื่นตามคณะที่เขาต้องการ ซึ่งไม่เหมือนกับเอ็นทรานซ์สมัยก่อน ส่วนมหาลัยก็มีสิทธิ์เลือกเด็ก อาจจะตามคะแนน และมหาลัยก็จะมีสิทธิ์กำหนด ว่าจะใช้น้ำหนักคะแนนจาก O-NET กี่เปอร์เซ็นต์ วิชาการ 9 วิชากี่เปอร์เซ็นต์ GAT/PAT กี่เปอร์เซ็นต์

"ถ้าเกิดมหาลัยจะรับเด็กกรณีพิเศษ เช่น เรียนเก่งมาก ได้เหรียญทองโอลิมปิก อันนี้สามารถรับเลยโดยที่ไม่สอบได้"

อย่างไรก็ตาม นพ.สรนิต ระบุว่าการสอบเอ็นทรานซ์แบบใหม่นี้ จะมีการตั้งธงเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2561 ตอนนี้ถ้าเข้าไปในเว็บบอร์ดต่างๆ จะเห็นว่าเสียงตอบรับดีมากๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook