ข้อคิดจากนักมานุษยวิทยา ว่าด้วย "อาณานิคมอวกาศ"

ข้อคิดจากนักมานุษยวิทยา ว่าด้วย "อาณานิคมอวกาศ"

ข้อคิดจากนักมานุษยวิทยา ว่าด้วย "อาณานิคมอวกาศ"
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) จัดการประชุมทางวิชาการว่าด้วยการปฏิบัติการในห้วงอวกาศในอนาคต เชื้อเชิญนักวิชาการสาขาต่างๆ หลากหลายมาให้ความเห็นทางวิชาการสำหรับใช้เป็นพื้นฐานของภารกิจในห้วงอวกาศ ของนาซาต่อไป

หนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจเป็นการให้ความเห็นเชิงมานุษย วิทยา จาก คาเมรอน สมิธ นักมานุษยวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐพอร์ทแลนด์ รัฐโอเรกอน สหรัฐอเมริกาว่าด้วยการสร้าง "อาณานิคม" บนดาวเคราะห์ดวงอื่นในห้วงอวกาศ

ประเด็นหลักที่ศาสตราจารย์สมิธนำ เสนอไว้ก็คือ ถ้าหากมนุษยชาติต้องการสร้างอาณานิคมแห่งใหม่ บนดาวเคราะห์ดวงใหม่นอกเหนือจากโลกและระบบสุริยะของเรา แล้วต้องการให้อาณานิคมดังกล่าว "มีโอกาสดีที่สุด" ที่จะอยู่รอด ทั้งในระหว่างการเดินทางยาวนานข้ามห้วงอวกาศและหลังจากนั้นแล้ว จำนวนคนเริ่มต้นสำหรับการตั้งอาณานิคมก็ควรจะอยู่ระหว่าง 20,000-40,000 คน

เหตุผลสำคัญที่ต้องใช้ผู้คนมากมายขนาดนั้น เป็นเพราะมีเพียงกลุ่มคนมากถึงขนาดนั้นเท่านั้นจึงจะก่อให้เกิดความหลากหลาย ในเชิงพันธุกรรมและในเชิงประชากรศาสตร์ได้ ช่วยให้การตั้งหลักแหล่งใหม่นั้นอยู่รอดได้ในสภาพที่ดี ไม่ใช่อยู่ในสภาพร่อแร่ แค่รอดมาได้แบบจวนเจียนเท่านั้น

คาเมรอน สมิธ ได้รับเลือกให้เข้ามาเป็นผู้เสนอความคิดเห็นในการประชุมครั้งนี้สืบเนื่อง จากเคยเสนอรายงานวิจัยโดยอาศัยแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ไว้ในวารสารทางวิชาการ ชื่อ แอคต้า แอสตรานอติกา เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในงานวิจัยดังกล่าว สมิธกำหนดระยะเวลาในการเดินทางข้ามระบบสุริยะเอาไว้ที่ 150 ปี ซึ่งเป็นกรอบเวลาที่สอดคล้องกับนักวิจัยอีกหลายคนที่ศึกษาวิจัยทางด้านนี้

สมิธอาศัยทฤษฎีทางพันธุกรรมของประชากร และแบบจำลองในคอมพิวเตอร์มาคำนวณหาจำนวนประชากรที่เหมาะสมในการก่อตั้ง อาณานิคม แบบจำลองดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำนวนประชากรเริ่มต้นอยู่ระหว่าง 14,000 ถึง 44,000 คน แต่ถ้าจะให้ปลอดภัยและอยู่ในสภาพที่ดีได้ก็ต้องสูงถึง 40,000 คน โดยที่ 23,000 คน ในจำนวนทั้งหมดต้องเป็นชายและหญิงในวัยเจริญพันธุ์

ภายใต้จำนวนที่ สมิธเสนอเอาไว้ นักมานุษยวิทยารายนี้ยืนยันว่า อาณานิคมดังกล่าวสามารถอยู่รอดได้ในสภาพที่ดีต่อเนื่องถึง 5 ชั่วอายุคน แม้จะมีปริมาณการสืบพันธุ์ในกลุ่มคนใกล้ชิด (อินบรีดดิ้ง) เพิ่มขึ้นสืบเนื่องจากข้อจำกัดด้านจำนวนประชากร, เกิดแรงกดดันในเชิงความหลากหลายทางพันธุกรรมขึ้น, เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงประชากรศาสตร์ตามกาลเวลา และเกิดเหตุระดับหายนะรุนแรงทางประชากรขึ้นอย่างน้อย 1 ครั้ง

สมิธย้ำว่า ถ้าหากไม่ใช้วิธีการส่งผู้คนจำนวนมหาศาลดังกล่าว อาจเลือกใช้การจัดส่งเสปิร์มและไข่แช่แข็งเดินทางขึ้นไปพร้อมๆ กับกลุ่มคนจำนวนจำกัดในการก่อตั้งอาณานิคม อย่างไรก็ตาม เขายอมรับว่าไม่ได้พิจารณาแนวทางนี้อย่างจริงจัง เนื่องจากเห็นว่าสังคมของมนุษย์ จำเป็นต้องผ่านประสบการณ์ในการใช้ชีวิตเยี่ยงสัตว์สังคม

สำหรับสั่งสมเป็นประสบการณ์ เพื่อเรียนรู้ในอนาคตนั่นเอง


ที่มา : นสพ.มติชน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook