คณะผู้บริหาร"นิติศาสตร์ จุฬาฯ" ยอมขอโทษ-เปิดทางเลือก อุ้มนิสิตกลับเข้าเรียน

คณะผู้บริหาร"นิติศาสตร์ จุฬาฯ" ยอมขอโทษ-เปิดทางเลือก อุ้มนิสิตกลับเข้าเรียน

คณะผู้บริหาร"นิติศาสตร์ จุฬาฯ" ยอมขอโทษ-เปิดทางเลือก อุ้มนิสิตกลับเข้าเรียน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

20มิ.ย.2556 ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ากรณี กลุ่มนิสิตคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 5 คน ถูกแจ้งย้อนหลังให้ พ้นสถานภาพการเป็นนิสิต ในวิชาที่เรียนในระดับชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 วิชาหนึ่ง ซึ่งเป็นวิชาบังคับที่นิสิตทุกคนต้องเรียน เพราะเหตุจากการที่ อาจารย์ผู้สอน ส่งผลคะแนนการศึกษาในวิชาดังกล่าวล่าช้ามากกว่า 2 ปี หรือกว่า 5 ภาคการศึกษา โดยในขณะนั้นนิสิตกลุ่มดังกล่าวกำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่หนึ่ง ประเด็นดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากทั้งในประชาคมจุฬาฯ รวมถึงกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในแวดวงการศึกษา และโลกโชเชียลเน็ตเวิร์ค

ล่าสุดมีรายงานจากผู้สื่อข่าวแจงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่าวันนี้(20มิถุนายน)คณะผู้บริหารของคณะนิติศาสตร์จุฬาฯได้มีการประชุมกันรวมถึงได้เรียกพบนิสิตคณะนิติศาสตร์จุฬาฯทั้ง 5 คน เพื่อชี้แจงและหาทางออก

โดยในที่ประชุม ผู้บริหารคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ยอมกล่าวขอโทษนิสิตทั้ง 5 คน ต่อกรณีความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่มิได้ชี้เเจงเหตุผลหรือข้อผิดพลาด ซึ่งหลังจากการพูดคุยดังกล่าว ทางคณะกรรมการบริหารของคณะ ได้ชี้แจงกับกลุ่มนิสิตดังกล่าวถึงมาตรการเยียวยา ครั้งที่สอง ซึ่งข้อสรุป มาตรการเยียวยาครั้งล่าสุด มี 2 ข้อเสนอด้วยกันคือ

1) เมื่อนิสิตได้เรียนจนจบชั้นปีที่3 แทนที่จะใช้ผลการเรียนเฉพาะปีที่1-2 มาคำณวน ก็จะให้นำผลการศึกษาทั้งหมดที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมาคำนวณ ถ้านิสิตได้พัฒนาตัวเองมาจนถึงจุดที่ผลการเรียนถึงเกณฑ์ที่สามารถเรียนต่อได้ มหาวิทยาลัยก็จะให้นิสิตสามารถเลือกที่จะเรียนต่อไปในภาคการศึกษานี้ได้ทันที

แต่ถ้าหากผลการเรียนเฉลี่ยรวมทั้งหมดที่ผ่านมาต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะเรียนต่อไปได้มหาวิทยาลัยมีทางเลือกที่2ให้กับนิสิตคือ

2) รับนิสิตที่พ้นสภาพย้อนหลังครั้งนี้เข้ามาเป็นนิสิตปีหนึ่งใหม่เป็นกรณีพิเศษโดยเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษานี้เป็นต้นไป ให้นิสิตมีเลขประจำตัวนิสิตใหม่ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้แก้ตัวและตั้งใจเรียนเพื่อให้มีผลการเรียนที่ดีโดยคณะจะรับผิดชอบค่าเล่าเรียนของนิสิตทุกคนจนกว่าจะสิ้นสุดการศึกษา

ซึ่งสิทธิดังกล่าวนั้นนิสิตทั้ง5คนสามารถที่จะเลือกอย่างไรก็ได้โดยผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีจำนวน2คนที่เลือกข้อเสนอข้อหนึ่งส่วนนิสิตอีกสามคนที่เหลือ ขอกลับไปปรึกษาทางผู้ปกครองก่อน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมในส่วนของบรรยากาศหลัง นิสิตทั้ง5 คน เข้าพบคณะผู้บริหาร ว่า ทุกคนมีสีหน้าสดใส ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ในส่วนของมหาวิทยาลัยจะมีการแถลงข่าวอีกครั้ง โดย ดร.ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดี ปฏิบัติการแทนอธิการบดีในภาระหน้าที่ด้านวิชาการ และ ศ.ดร.ศักดา ธนิตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ในเวลา 17.30 น. วันนี้ (20 มิถุนายน)ที่อาคารสำนักงานอธิการบดี


ล่าสุดทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำหนังสือชี้แจงต่อสื่อมวลชน ดังนี้


............................................................................


แถลงการณ์จากจุฬาฯ กรณีนิสิตนิติศาสตร์ ถูกพ้นสภาพย้อนหลัง

วันที่ 20 มิถุนายน 2556 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.ศักดา ธนิตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับกรณีที่มีนิสิตนิติศาสตร์ จำนวนหนึ่ง ต้องพ้นสถานภาพย้อนหลังไปในปี 2554 ว่า ในเรื่องนี้คณะนิติศาสตร์ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารคณะ และมีมติเบื้องต้นเกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายรายละเอียดตามที่เป็นข่าว โดยอิงจากแนวคำพิพากษาศาลปกครองที่เคยมี หลังจากนั้นคณะได้นำเรื่องมาปรึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งมหาวิทยาลัยกับคณะนิติศาสตร์ได้พิจารณาร่วมกันหาทางออกอื่นสำหรับนิสิตกลุ่มดังกล่าว โดยมีข้อสรุปเพิ่มเติม ดังนี้


1) เมื่อนิสิตได้เรียนจนจบชั้นปีที่3 แทนที่จะใช้ผลการเรียนเฉพาะปีที่1-2 มาคำณวน ก็จะให้นำผลการศึกษาทั้งหมดที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมาคำนวณ ถ้านิสิตได้พัฒนาตัวเองมาจนถึงจุดที่ผลการเรียนถึงเกณฑ์ที่สามารถเรียนต่อได้ มหาวิทยาลัยก็จะให้นิสิตสามารถเลือกที่จะเรียนต่อไปในภาคการศึกษานี้ได้ทันที


แต่ถ้าหากผลการเรียนเฉลี่ยรวมทั้งหมดที่ผ่านมาต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะเรียนต่อไปได้ มหาวิทยาลัยมีทางเลือกที่2ให้กับนิสิตคือ


2) รับนิสิตที่พ้นสภาพย้อนหลังครั้งนี้เข้ามาเป็นนิสิตปีหนึ่ง ใหม่เป็นกรณีพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษานี้เป็นต้นไป ให้นิสิตมีเลขประจำตัวนิสิตใหม่ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้นิสิตได้แก้ตัวและตั้งใจเรียนเพื่อให้มีผลการเรียนที่ดีโดยคณะจะรับผิดชอบค่าเล่าเรียนของนิสิตทุกคนจนกว่าจะสิ้นสุดการศึกษา


แต่ทั้งนี้เป็นกรณีพิเศษเฉพาะนิสิตกลุ่มนี้เท่านั้นเพื่อเยียวยาที่ต้องเสียเวลาและเสียโอกาสอันเนื่องมาจากการพ้นสถานภาพย้อนหลังเป็นเวลาถึงสองปี


นอกจากนั้น คณะนิติศาสตร์ได้ตั้งคณะกรรมการสอบสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพื่อรายงานต่อมหาวิทยาลัยพิจารณาว่าต้องมีการดำเนินการทางวินัยต่อไปอย่างไร รวมทั้งจะวางมาตราการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดกรณีเช่นนี้อีก


ทั้งหมดนี้เป็นทางเลือกที่มหาวิทยาลัยและคณะเห็นว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีสำหรับนิสิต รวมทั้งได้พบและแจ้งให้นิสิตที่เกี่ยวข้องทราบแล้ว โดยจะได้เชิญนิสิตและผู้ปกครองมาหารือร่วมกันถึงทางเลือกและข้อสรุปที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่าย

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ คณะผู้บริหาร"นิติศาสตร์ จุฬาฯ" ยอมขอโทษ-เปิดทางเลือก อุ้มนิสิตกลับเข้าเรียน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook