สาธารณสุข แถลงวัคซีนซิโนแวคประสิทธิผลต้านโควิดชนิดอัลฟา 70-90%

สาธารณสุข แถลงวัคซีนซิโนแวคประสิทธิผลต้านโควิดชนิดอัลฟา 70-90%

สาธารณสุข แถลงวัคซีนซิโนแวคประสิทธิผลต้านโควิดชนิดอัลฟา 70-90%
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงสาธารณสุข แถลงเมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์ (19 ก.ค.) ว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ยี่ห้อโคโรนาแวค ของบริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค จากจีน มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ชนิดอัลฟา จากการใช้งานจริงในหลายจังหวัดถึง 70-90% เมื่อฉีดครบ 2 โดสแล้วอย่างน้อย 14 วัน

นายทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค แถลงว่า ผลการศึกษาดังกล่าวมาจากการใช้จริงในไทยใน 3 จังหวัด คือ ภูเก็ต สมุทรสาคร และเชียงราย ซึ่งพบว่าการใช้งานจริงที่ จ.ภูเก็ต ในเดือน เม.ย. มีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อชนิดอัลฟาสูงที่สุดถึง 90.7%

"ในการศึกษาประสิทธิผลในพื้นที่จริงที่ภูเก็ตนะครับ ซึ่งเขา... เอ่อ ในช่วงของเดือน เม.ย. ที่ภูเก็ตก็ได้เริ่มมีการฉีดวัคซีนและในขณะนี้เดียวกันเขาก็ยังมีพบผู้ติดเชื้ออยู่ ก็ได้มีการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงนะครับ แล้วก็ดูว่าใครที่ได้รับวัคซีนแล้วใครติดเชื้อบ้างไม่ติดเชื้อบ้างนะครับ ก็ในจำนวนทั้งหมดเนี่ย 1,500 กว่ารายของอ่า...ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทั้งหมดนะครับ ก็พบมีคนติดเชื้อจำนวนทั้งสิ้น 124 รายนะครับ ละก็ 124 รายเนี่ยก็พบว่าในการศึกษาเมื่อเราเปรียบเทียบดูนะครับ เราก็พบว่าประสิทธิผลของวัคซีนจากการอ่า... ที่ภูเก็ตเนี่ย ก็จะอยู่ในระดับที่ร้อยละ 90.7 นะครับ" นายทวีทรัพย์ กล่าว

ข้อมูลชุดเดียวกันนี้ของกรมควบคุมโรค ระบุอีกว่า วัคซีนซิโนแวคเมื่อทำการศึกษาคล้ายกันนี้ใน จ.สมุทรสาคร เมื่อเดือน เม.ย. ก็มีประสิทธิผลถึง 90.5%

ส่วนข้อมูลที่ จ.เชียงราย พบว่าวัคซีนซิโนแวคจำนวน 2 โดส และทิ้งระยะ 14 วัน มีประสิทธิผลต่อการติดเชื้อ 88.8% แต่กลับมีประสิทธิผลในการป้องกันอาการปอดอักเสบน้อยกว่าที่ 84.9%

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับภาพรวมทั้งประเทศตัวเลขประสิทธิผลต่อการป้องกันการติดเชื้อของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ชนิดแอลฟาในเดือน พ.ค. ลดลงมาอยู่ที่ 71% และต่อเชื้อชนิดอัลฟาและเดลตาในเดือน มิ.ย. อยู่ที่ 75%

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook