รมว.ยธ. แจงปล่อยตัว "ปลอดประสพ" และ "ยงยุทธ" เพราะเข้าเกณฑ์อายุเกิน 70 ปี

รมว.ยธ. แจงปล่อยตัว "ปลอดประสพ" และ "ยงยุทธ" เพราะเข้าเกณฑ์อายุเกิน 70 ปี

รมว.ยธ. แจงปล่อยตัว "ปลอดประสพ" และ "ยงยุทธ" เพราะเข้าเกณฑ์อายุเกิน 70 ปี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

"สมศักดิ์"แจงยิบปล่อยตัว "ปลอดประสพ-ยงยุทธ"เข้าเกณฑ์อายุเกิน70ปี โทษเหลือน้อย ต้องสวมกำไลEM ยันไม่หวังผลทางการเมือง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงกรณี การปล่อยตัวผู้ต้องขังคดีการเมือง 2 ราย คือ นายปลอดประสพ สุรัสวดี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้รับการพักโทษว่า กรณีของ นายปลอดประสพนั้น กำหนดโทษตามคำพิพากษา 1 ปี 8 เดือน ได้รับพระราชทานอภัยโทษ 1 ครั้ง เหลือกำหนดโทษครั้งหลังสุด 13 เดือน 10 วัน ได้รับการพักการลงโทษ กรณีมีเหตุพิเศษอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปเนื่องจากขณะนี้นายปลอดประสพอายุ 75 ปีได้รับโทษจำคุกมาแล้วระยะหนึ่ง เหลือโทษจำคุกต่อไป 7 เดือน ประกอบกับมีโรคประจำตัวหลายโรคและเจ็บป่วยเรื้อรัง จึงได้รับอนุมัติการปล่อยตัวพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษดังกล่าวก่อนครบกำหนดโทษ โดยใช้วิธีการคุมประพฤติร่วมกับ การติดกำไล EM เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2563 – 26 พ.ย.2563 กำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกเขต จ.นนทบุรี ซึ่งสำนักงานคุมประพฤตินนทบุรี เป็นผู้สอดส่อง ดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมประพฤติ ถ้าออกนอกจังหวัดต้องขออนุญาตพนักงานคุมประพฤติ แต่กรณีของนายปลอดประสพ อาศัยอยู่นนทบุรีอาจต้องมาหาหมอที่กรุงเทพเป็นประจำ ทางกรมคุมประพฤติจึงกำหนดว่าห้ามออกนอก จ.นนทบุรีและกรุงเทพ

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีของนายยงยุทธนั้น กำหนดโทษตามคำพิพากษา 2 ปี ได้รับพระราชทานอภัยโทษ 1 ครั้ง เหลือกำหนดโทษครั้งหลังสุด 16 เดือน จะพ้นโทษจำคุกในวันที่ 11 มิ.ย.2564 จึงได้รับการพักการลงโทษกรณีเหตุพิเศษอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไปเนื่องจากมีอายุ 78 ปีและได้รับโทษจำคุกมาแล้วระยะหนึ่ง เหลือโทษจำคุกต่อไป 9 เดือน 3 วัน ประกอบกับมีโรคประจำตัว จึงได้รับอนุมัติการปล่อยตัวพักการลงโทษกรณีพิเศษดังกล่าวก่อนครบกำหนดโทษ โดยใช้วิธีการคุมประพฤติร่วมกับ การติดกำไล EM เป็นเวลา 5 เดือน ตั้งแต่วันที่ 12 ก.ย.2563 – 4 ม.ค.2564 กำหนดเงื่อนไขห้ามออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งสำนักงานคุมประพฤติกรุงเทพ 1 เป็นผู้สอดส่อง ดูแลให้ปฏิบัติตามเงื่อนไขการคุมประพฤติ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook