เปิดสัญญาขายน้ำสุดพิสดารระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ ชนิด "มหาธีร์" ยังต้องยอม

เปิดสัญญาขายน้ำสุดพิสดารระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ ชนิด "มหาธีร์" ยังต้องยอม

เปิดสัญญาขายน้ำสุดพิสดารระหว่างมาเลเซีย-สิงคโปร์ ชนิด "มหาธีร์" ยังต้องยอม
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สิงคโปร์ คือประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็กที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่เพียง 721.5 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายู ประกอบด้วยเกาะต่างๆ กว่า 60 เกาะ สิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะโฮร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะรีเยาของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ 

สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน พ.ศ. 2362 โดยเซอร์สแตมฟอร์ด รัฟเฟิลส์ เป็นสถานีการค้าของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษโดยการอนุญาตจากรัฐสุลต่านยะโฮร์ สิงคโปร์ได้รับเอกราชจากอังกฤษโดยรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศมาเลเซียใน พ.ศ. 2503 แต่ถูกขับอีกสองปีต่อมาออกมาจากประเทศมาเลเซียมาเป็นประเทศเอกราชอย่างไม่เต็มใจนัก นับจากนั้นประเทศสิงคโปร์ก็พัฒนาอย่างรวดเร็วจนจัดว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปัจจุบัน

เมื่อเดือนมิถุนายนปีนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียมหาธีร์ โมฮัมหมัดประกาศจะทบทวนราคาขายน้ำจืดให้แก่สิงคโปร์ สืบเนื่องจากสนธิสัญญาขายน้ำระหว่างมาเลเซียที่ทำตั้งแต่ พ.ศ. 2504 เนื่องจากราคาปัจจุบันที่มีการซื้อขายนั้นถูกเกินไป ปัจจุบันมาเลเซียขายน้ำจืดให้สิงคโปร์ในราคา 3 เซนต์ ต่อน้ำ 1,000 แกลลอน ซึ่งราคาดังกล่าวเป็นการคำนวณโดยยึดเกณฑ์และสภาพแวดล้อมเมื่อ พ.ศ. 2475

แต่การขายน้ำในราคา 3 เซนต์ไม่ใช่เรื่องที่เหมาะสมในปัจจุบัน ดร.มหาธีร์ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชียว่า สัญญาการซื้อขายน้ำระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์นั้นเป็นสัญญาระยะยาว 99 ปี นับตั้งแต่ พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา และสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดลงใน พ.ศ.2604 โดยสิงคโปร์จะสามารถซื้อน้ำได้สูงสุดถึง 250 ล้านแกลลอนต่อวันจากแม่น้ำยะโฮห์ ในราคา 3 เซนต์ (ประมาณ 25 สตางค์) ต่อ 1,000 แกลลอน และมาเลเซียจะซื้อน้ำประปาที่ผ่านการบำบัดแล้วจากสิงคโปร์ในราคา 50 เซนต์ (ประมาณ 4 บาท) ต่อ 1,000 แกลลอน

ด้วยเทคโนโลยีการผลิตน้ำประปาและการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลได้ ทำให้สิงคโปร์สามารถผลิตน้ำบริสุทธิ์ที่ปราศจากเชื้อโรคและสารปนเปื้อนได้มากถึง 100 ล้านแกลลอนต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณมากถึง 25% สำหรับการใช้น้ำของพลเมืองสิงคโปร์ ยังไม่รวมถึงการที่มีแหล่งเก็บน้ำสำรองในธรรมชาติของสิงคโปร์เองอีก 55% และการบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนที่สามารถบำบัดได้ถึง 3 ครั้ง แล้วนำน้ำกลับมาใช้ใหม่อีก 30%

ซึ่งหากรวมตัวเลขคร่าวๆ เท่ากับว่าในปัจจุบันสิงคโปร์สามารถผลิตน้ำได้เอง 100% แล้วน้ำที่สิงคโปร์ผลิตได้มากเกินปริมาณการใช้ ก็มีการส่งขายกลับไปให้กับยะโฮร์ โดยข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย เปิดเผยเอกสารสัญญาการซื้อขายน้ำประปาระหว่างรัฐยะโฮร์กับสิงคโปร์ว่า ยะโฮร์เริ่มนำเข้าน้ำจากสิงคโปร์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2546 เนื่องจากแม่น้ำและแหล่งน้ำในรัฐยะโฮร์ส่วนใหญ่มีมลภาวะสูง เหตุเพราะโรงงานอุตสาหกรรมทิ้งน้ำเสียลงไปในแม่น้ำวันละมากๆ จนแม่น้ำส่วนใหญ่มีมลภาวะเกินกว่าจะนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ จึงต้องมีการนำเข้าน้ำประปาจากสิงคโปร์ถึง 37 ล้านแกลลอนต่อวัน และเพิ่มขึ้นอีก 16 ล้านแกลลอนต่อวันในช่วงฤดูแล้ง ในราคา 50 เซ็นต์ต่อ 1,000 แกลลอน

เท่ากับว่ายะโฮร์ซื้อน้ำกลับเข้ามาในราคาที่แพงกว่าขายให้สิงคโปร์หลายเท่าตัว และเป็นสาเหตุว่าทำไมประชาชนถึงตั้งคำถามไปยังรัฐบาลมาเลเซียว่า ทำไมรัฐยะโฮร์ถึงมีค่าน้ำแพงที่สุดของประเทศ

สำหรับความต้องการน้ำของยะโฮร์ ที่มีการศึกษาทรัพยากรน้ำของยะโฮร์ พ.ศ. 2560 รายงานว่า ความต้องการน้ำของรัฐยะโฮร์จะอยู่ที่ประมาณ 512 ล้านแกลลอนต่อวัน หากเราจะเติม 16 ล้านแกลลอนในปริมาณน้ำ 512 ล้านแกลลอนที่ยะโฮร์บริโภคใน 1 วัน จะพบว่าน้ำประปาที่ผ่านการบำบัดของสิงคโปร์อาจดูเหมือนไม่ได้เยอะแยะมากมายอะไรนัก แต่ค่าใช้จ่ายของสิงคโปร์ที่ 2.40 ริงกิตต่อการบำบัดน้ำทุกๆ พันแกลลอน ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อขายน้ำให้ยะโฮร์ที่ราคา 50 เซ็นต์ต่อ 1,000 แกลลอน สิงคโปร์จะให้เงินช่วยเหลือ 1.90 ริงกิตต่อ 1,000 แกลลอนจากน้ำทั้งหมด 16 ล้านแกลลอน

ซึ่งปัจจุบันสิงคโปร์ให้เงินสนับสนุนน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจำนวน 30,400 ริงกิตให้แก่ยะโฮร์เป็นประจำทุกวัน แต่ในทางกลับกันสิงคโปร์ก็ซื้อน้ำรายวันจำนวน 250 ล้านแกลลอนจากรัฐยะโฮร์ที่ราคา 3 เซ็นต์ต่อ 1,000 แกลลอน

ครับ! จนถึงนาทีนี้ นายกรัฐมนตรีมหาธีร์แห่งมาเลเซียเลิกพูดเรื่องน้ำกับสิงคโปร์แล้วละครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook