เมื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ..ด้วยอสังหาฯ อย่าลืม..ระวังปัญหาฟองสบู่

เมื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ..ด้วยอสังหาฯ อย่าลืม..ระวังปัญหาฟองสบู่

เมื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ..ด้วยอสังหาฯ อย่าลืม..ระวังปัญหาฟองสบู่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้องบอกว่า กระแสตอบรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทีมเศรษฐกิจกำลังพุ่งสูงปรี๊ด โดยเฉพาะมาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์ ที่เพิ่งผ่านคณะรัฐมนตรีไปเมื่อสัปดาห์ก่อน ทั้งการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน ค่าจดจำนอง ผลักดันธนาคารรัฐอย่าง ธอส.เข้ามาปล่อยกู้มากขึ้น ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีการเจรจากับเอกชนเพื่อให้เข้ามาลงทุนในโครงการที่อยู่อาศัย บนที่ดินรัฐเพื่อให้ผู้มีรายได้น้อย ในวงเงินไม่เกิน 500,000 บาทอีกด้วย

มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ ทำให้แวดวงอสังหาริมทรัพย์คึกคักขึ้นมาทันตาเห็น ออกมาขานรับนโยบายกันเป็นทิวแถว ซึ่งคงจะบรรลุเป้าหมายที่ทีมเศรษฐกิจหวังไว้คือ การกระตุ้นเศรษฐกิจ การผลักดันตัวเลขทางเศรษฐกิจให้ขยับสูงขึ้นในระยะกลางอย่างแน่นอน

เพราะภาคอสังหาริมทรัพย์ถือเป็นภาคที่ใหญ่ มีน้ำหนักต่อระบบเศรษฐกิจค่อนข้างมาก มีความเกี่ยวโยงไปยังธุรกิจธุรกรรมอื่นๆค่อนข้างมาก ตั้งแต่ พื้นฐาน ที่ดิน การก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง แรงงาน สินค้าตกแต่ง เครื่องใช้ในบ้านฯลฯ และเมื่อภาคอสังหาริมทรัพย์ขยับ ย่อมส่งผลมายังภาคการเงิน ที่เป็นเสมือนเลือดที่หล่อเลี้ยงระบบให้ขยับตามไปด้วย ธุรกรรมการเงิน เงินกู้ต่างๆคงจะขยับตามกันไปทั้งกู้ลงทุนโครงการ และ กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัย

เราคงนึกถึงภาพเศรษฐกิจในยุคเฟื่องฟูก่อนปี พ.ศ. 2540 กันได้ดี ในยุคนั้น ภาคที่ร้อนแรงที่สุดมีส่วนผลักดันให้ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ในระดับสูง คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีโครงการผุดขึ้นมากมาย มีการกู้เงินในธุรกรรมดังกล่าวจำนวนมาก จนในที่สุด เมื่อเกินขีดจำกัด ฟองสบู่ที่โป่งจากแรงอัดก็แตกลงส่งผลให้เศรษฐกิจไทย ฟุบและเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจส่งผลกระทบ สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว

ประสบการณ์ในครั้งนั้น เชื่อว่าทีมเศรษฐกิจคงรู้ดี ดังนั้นเชื่อว่า ในการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งนี้แม้จะใช้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็นหัวหอกในการผลักดัน แต่เชื่อว่า คงจะมีเครื่องมือในการสกัดกั้นไม่ให้ภาคอสังหาฯเกิดความร้อนแรงได้อย่างทันท่วงที

ก่อนหน้านี้ แม้เราจะได้ทราบข่าวอยู่บ้างว่า ในภาคอสังหาฯบางพื้นที่เริ่มเกิดปัญหาบ้าง จากการที่ผู้ประกอบการเก็ง หรือเล็งการลงทุนเพื่อรับกับโครงการโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น

และ แม้ว่า ตัวเลขหนี้ของภาคครัวเรือนจะอยู่ในระดับสูง จนบางครั้ง การทำธุรกรรมของสถาบันการเงินมีความระมัดระวังมากขึ้น ทางธนาคารแห่งประเทศไทยลงมาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิดบ้าง แต่ทางทีมเศรษฐกิจคงประเมินแล้วว่า สามารถดูแลในส่วนของหนี้ครัวเรือนได้โดยไม่กระทบตามมา และไม่ส่งผลลุกลามเหมือนในอดีต เชื่อว่า ทีมเศรษฐกิจจะมีมาตรการ และมีความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดภาวะฟองสบู่เหมือนกับอดีตที่ผ่านมา...

เปลวไฟน้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook