วิธีการปล่อยสัตว์น้ำ จากกรมประมง ปล่อยให้ถูก ไม่ทำลายระบบนิเวศ

วิธีการปล่อยสัตว์น้ำ จากกรมประมง ปล่อยให้ถูก ไม่ทำลายระบบนิเวศ

วิธีการปล่อยสัตว์น้ำ จากกรมประมง ปล่อยให้ถูก ไม่ทำลายระบบนิเวศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การทำบุญ ปล่อยชีวิตสัตว์นั้น เรียกว่าเป็นเหมือนการต่อชีวิตสัตว์และได้บุญเป็นอย่างมาก แต่หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่าการทำบุญของตัวเองอาจจะเป็นการทำร้ายระบบนิเวศรวมไปถึงสัตว์น้ำได้

วันนี้ Sanook Campus เราก็เลยจะนำเสนอ วิธีการปล่อยสัตว์น้ำ จากกรมประมงมาฝากเพื่อนๆ กัน เวลาที่จะปล่อยสัตว์น้ำจะได้ปล่อยให้ถูกและรับบุญแบบเต็มๆ

การเลือกชนิดสัตว์น้ำเพื่อปล่อยทําบุญอย่างถูกต้อง

คํานึงถึงความสมบูรณ์แข็งแรงของปลาและสิ่งแวดล้อมของสถานที่ที่จะนําไปปล่อยด้วยเนื่องจากสัตว์น้ำแต่ละชนิดมีนิสัยความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสรอดของปลาและสัตว์น้ำที่ผู้ใจบุญทั้งหลายนําไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติจึงควรเลือกชนิดสัตว์น้ำให้เหมาะกับแหล่งน้ำที่จะปล่อยนั้นๆ

การปล่อยสัตว์น้ำต้องพิจารณาถึงคุณภาพของสัตว์น้ำที่ปล่อยด้วยควรเป็นสัตว์น้ำที่มีสุขภาพดีสมบูรณ์ไม่เป็นโรคไม่มีแผลตามลําตัวหากปล่อยสัตว์น้ำที่เป็นโรคลงไปในแหล่งน้ำจะเป็นการแพร่ขยายเชื้อโรคสู่ธรรมชาติ

ควรปล่อยสัตว์น้ำพื้นเมืองไม่ควรปล่อยปลาต่างถิ่น

สัตว์น้ำต่างถิ่นหมายถึงสัตว์น้ำที่ไม่ได้อยู่ดั้งเดิมในประเทศไทยหรือมีถิ่นกําเนิดตามธรรมชาตินอกประเทศไทยและได้ถูกนําเข้ามาด้วยวิธีการต่างๆจากต่างประเทศ

ผลกระทบจากสัตว์น้ำต่างถิ่นผลโดยตรงได้แก่กินปลาพื้นเมืองเป็นอาหารนําโรคแย่งอาหารแย่งที่อยู่อาศัยทําลายระบบนิเวศไปจนถึงผสมกับพันธุ์พื้นเมืองมีผลต่อพันธุกรรม

สัตว์น้ำชนิดใดบ้างที่ควรปล่อยและไม่ควรปล่อยลงสู่แหล่งน้ำสัตว์น้ำที่ควรปล่อย

สัตว์น้ำพื้นเมืองปล่อยลงในแหล่งน้ำเพื่อป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการรุกรานโดยสัตว์น้ำต่างถิ่นทําให้ปลาพื้นเมืองสูญพันธุ์เช่น

  • ปลาช่อน / ปลาดุก ควรปล่อยให้ลําคลองหนองบึงที่มีน้ำไหลไม่แรงมากมีกอหญ้าอยู่ริมตลิ่งบ้างและน้ำควรเป็นน้ำสะอาดไม่ควรปล่อยปลาดุกลูกผสมปลาดุกต่างถิ่นและปลาดุกที่มีลักษณะผิดแผกทางพันธุกรรมเช่นปลาดุกเผือกลงในแหล่งน้ำ
  • ปลาไหล ควรปล่อยลงในแม่น้ำห้วยหนองคลองบึงท้องนาหรือร่องสวนบริเวณที่มีดินเฉอะแฉะและกระแสน้ำไหลไม่แรงมากเนื่องจากปลาไหลชอบขุดรูเพื่ออยู่อาศัยดํารงชีวิต
  • ปลาสวาย / ปลาบึก / ปลาตะเพียน / ปลากาดํา ควรปล่อยลงในแม่น้ำคลองที่มีระดับน้ำลึกและกระแสน้ำไหลแรงเพราะปลาเหล่านี้เมื่อโตเต็มที่เป็นปลาที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ดังนั้นจึงต้องใช้พื้นที่กว้างในการใช้ชีวิต
  • หอยขม ควรปล่อยลงในคูหนองคลองบึงและในนาข้าวที่เป็นพื้นดินหรือโคลนที่ระดับน้ำตั้งแต่ 10 ซม. ถึง 2 ม. ในน้ำที่ไม่ไหลแรงนักหรือเป็นน้ำนิ่งในที่ร่มบริเวณที่มีเสาสะพานตอไม้พันธุ์ไม้น้ำเพื่อให้หอยยึดเกาะ
  • กบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะดังนั้นไม่ควรปล่อยลงแม่น้ำควรหาที่นาหรือคลองที่เป็นธรรมชาติมีกอหญ้าหรือไม้น้ำจะดีกว่าเพราะกบก็จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยและยังเป็นที่อยู่ของแมลงซึ่งเป็นอาหารของกบอีกด้วย

สัตว์น้ำที่ไม่ควรปล่อย

  • สัตว์น้ำกลุ่มกินเนื้อเป็นอาหารซึ่งถ้านําไปปล่อยในแหล่งน้ำอย่างขาดการควบคุมจะส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำในธรรมชาติอื่นๆมีจํานวนลดลงเช่นปลาชะโด
  • สัตว์น้ำต่างถิ่นทุกประเภทเนื่องจากรุกรานสัตว์น้ำพื้นเมืองเช่นแย่งอาหารกินสัตว์น้ำหรือกินไข่หรือตัวอ่อนอื่นเป็นอาหารเป็นพาหะของโรคหรือทําลายระบบนิเวศแหล่งน้ำเช่น
  • ปลาหมอมายัน ปลาหมอคางดํา ปลาหมอบัตเตอร์ เป็นสัตว์น้ำที่กินตัวอ่อนและแย่งอาหารสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นอาหารซึ่งมีการแพร่ระบาดในหลายแหล่งน้ำของประเทศไทยกรมประมงออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เรื่องกําหนดชนิดที่ห้ามนําเข้านําออกนําผ่านหรือเพาะเลี้ยงพ.ศ. 2561 โดยระบุปลาทั้งสามชนิดนี้ในประกาศกฎกระทรวงนี้
  • ปลาซัคเกอร์เป็นสัตว์น้ำที่กินไข่และตัวอ่อนสัตว์น้ำพื้นเมืองเป็นอาหารเป็นสัตว์น้ำที่รุกรานที่มีลําดับความสําคัญสูง
  • เต่าแก้มแดง กินอาหารได้หลายประเภทมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและแพร่พันธุ์ได้เร็วจึงมีส่วนให้เต่าน้ำจืดไทยอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์เป็นสัตว์น้ำที่รุกรานที่มีลําดับความสําคัญสูง
  • กุ้งเครฟิชมี พฤติกรรมการขุดรูก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพแวดล้อมรวมถึงเป็นพาหะของปรสิตหลายชนิดซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพต่อสัตว์น้ำประจําถิ่นของประเทศไทยได้ถ้าประชาชนท่านใดมีสัตว์น้ำต่างถิ่นอยู่ในครอบครองและไม่ประสงค์จะเลี้ยงต่อให้นําส่งมอบให้หน่วยงานของกรมประมงในพื้นที่ใกล้บ้านหรือกรมประมงส่วนกลางอย่าปล่อยลงสู่แหล่งน้ำเด็ดขาดเพราะผิดกฎหมายตามมาตรา 65 และมาตรา 144 แห่งพรก.ประมง 2558

การปล่อยเต่า

ไม่ใช่เต่าทุกชนิดที่จะว่ายน้ำได้

  • เต่าบกว่ายน้ำไม่เป็น ถ้าปล่อยลงน้ำก็จม เพราะกระดองหนักมาก จุดสังเกต เท้ากลมไม่มีพังผืด เล็บหนาขามีเกล็ดแข็ง
  • เต่าน้ำจืด ว่ายน้ำได้ แต่ต้องการพื้นดินไว้พักเหนื่อย จุดสังเกต เท้าแบน มีพังผืดระหว่างนิ้ว เล็บขนาดเล็ก
  • เต่าทะเล อยู่ในทะเลตลอด ยกเว้นตอนขึ้นมาวางไข่ จุดสังเกต ขามีลักษณะคล้ายใบพาย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook