“ประกันสังคม” แจงผลคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/mn/0/ud/126/631511/ssotn.jpg“ประกันสังคม” แจงผลคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39

    “ประกันสังคม” แจงผลคืนสิทธิผู้ประกันตนมาตรา 39

    2019-02-03T10:46:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงการดำเนินการคืนสภาพผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนได้กลับเข้าสู่ระบบประกันสังคมเช่นเดิมอีกครั้ง ว่า ขณะนี้สำนักงานประกันสังคม ได้ดำเนินการติดตามผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพกลับเป็นผู้ประกันตน โดยส่งหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มผู้มีสิทธิจำนวน 777,228 คน

    ซึ่งผลการติดตามมีผู้ประกันตนติดต่อกลับสู่ระบบประกันสังคมแล้วขณะนี้จำนวน 363,000 คน โดยแบ่งเป็นขอกลับคืนสิทธิเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 จำนวน 148,363 คน และกลับเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาสมัครมาตรา 40 หรือขอรับสิทธิชราภาพ หรือทายาทมาขอรับสิทธิกรณีตาย ไปแล้วจำนวน 214,637 คน โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่จะคืนสภาพรีบดำเนินการติดต่อที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ จังหวัด สาขา ทุกแห่งที่สะดวก หรือทางไปรษณีย์ (แนบแบบ สปส. 1-20/1) หรือทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 19 เมษายน 2562

    อย่างไรก็ตาม ผู้ประกันตนจะต้องชำระเงินสมทบเดือนละ 432 บาท ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้กลับเป็นผู้ประกันตน โดยจ่ายเงินสมทบครบตามเงื่อนไขได้หลายช่องทางด้วยกัน คือ จ่ายด้วยเงินสด ณ สำนักงานประกันสังคมได้ทั่วประเทศ ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาต ทุกสาขา ผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกสาขา (seven - eleven) ผ่านระบบ Pay at Post ที่เคาน์เตอร์ไปรษณีย์ หรือจ่ายทางธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ทั่วประเทศ พร้อมแนบแบบส่งเงิน (สปส.1-11) ส่งให้สำนักงานประกันสังคมผ่านเคาน์เตอร์เซ็นเพย์ (บริษัทห้างเซ็นทรัล)

    ทั้งนี้ ยังสามารถจ่ายเงินสมทบโดยวิธีหักบัญชีธนาคาร 7 แห่ง ได้แก่

    1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
    2. ธนาคารกรุงไทย
    3. ธนาคารธนชาติ
    4. ธนาคารกสิกรไทย
    5. ธนาคารทหารไทย
    6. ธนาคารไทยพาณิชย์
    7. ธนาคารกรุงเทพ

    โดยผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จะได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณีเช่นเดิม คือ

    1. กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย
    2. กรณีคลอดบุตร
    3. ทุพพลภาพ
    4. ตาย
    5. สงเคราะห์บุตร
    6. กรณีชราภาพ

    ซึ่งผู้ประกันคนจะต้องปกป้องสิทธิของตนเองโดยให้ความสำคัญในการตรวจสอบการนำส่งเงินสมทบด้วยตนเองกับสำนักงานประกันสังคมอย่างสม่ำเสมอ และควรนำเงินสมทบอย่างต่อเนื่อง หากผู้ประกันตนขาดส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน จะสิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตนทันที ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง จังหวัด สาขา ที่สะดวก หรือโทร.1506 ตลอด 24 ชั่วโมง

    >> “ประกันสังคม” ลงดาบ! นายจ้างเบี้ยวเงินสมทบ 488 ราย ตามหนี้คืนได้ 67 ล้านบาท

    >> “ผู้ประกันตน” แต่ละมาตราได้สิทธิคุ้มครองของ “ประกันสังคม” อะไรบ้าง?

    >> ง่ายไปอีก! สมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 40 ฟรีที่ เซเว่นอีเลฟเว่นทุกสาขา

    >> รีบขอเงินสมทบ “ประกันสังคม” เกินคืน หากเลย 1 ปี หมดสิทธิทันที!